หนังสือแนะนำโดย DANIEL GILBERT : ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของฮาร์วาร์ด

หนังสือแนะนำโดย DANIEL GILBERT

     ดาเนียล กิลเบิร์ต ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของฮาร์วาร์ด และนักเขียนหนังสือเรื่อง “Stumbling on Happiness” ท้าทายความคิดที่ว่า เราจะเป็นทุกข์ถ้าไม่ได้สิ่งที่เราต้องการ เขาเชื่อว่า “ระบบภูมิต้านทานทางจิต” ของเรายังจะช่วยให้เรามีความสุขได้ แม้อะไรๆ จะไม่เป็นไปอย่างที่ใจหวัง

 

หนังสือแนะนำโดย DANIEL GILBERT
 

The Importance of Being Little: What Young Children Really Need from Grownups โดย Erika Christakis

หนังสือที่ว่าด้วยการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยตามพัฒนาการ  ที่ย้ำซ้ำถึงแนวคิดสำคัญว่า วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็กได้ดีที่สุดคือ ขอผู้ใหญ่ ‘อย่าเข้าไปยุ่ง’ หมายความว่า เด็กเล็กต้องการเล่นอย่างอิสระ มากกว่าการฝึกฝน

ฝึกฝนในที่นี้ หมายถึงฝึกฝนเพื่อไม่ให้ลูกล้าหลังในการเรียน โดยเร่งให้เด็กเรียนวิชา และทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่วิชาอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น โดยใช้แบบทดสอบที่ให้เด็กเขียนตอบในกระดาษ  แต่สภาพที่เกิดขึ้น คือ เด็กเล็กถูกคาดหวัง ระบบการศึกษาเข้าไปทำลายโอกาสในการสร้างศักยภาพ เร่งให้เด็กเรียนวิชาการและทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่วิชาอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น อย่าให้ความคาดหวังผิดๆ ของผู้ใหญ่มาบั่นทอนพลังแห่งวัยเยาว์


 

หนังสือแนะนำโดย DANIEL GILBERT
 

Willpower: Rediscovering the Greatest Human Strength เขียนโดย Roy F. Baumeister,  John Tierney

ในทุก ๆ วัน เราต้องตัดสินใจสารพัดเรื่อง เริ่มตั้งแต่ฉันควรจะกดปุ่มตั้งปลุกแล้วนอนต่อดีหรือไม่ ? จะออกไปทำงานกี่โมงดี ? วันนี้จะออกกำลังกายไหม ? แล้วถ้าจะออก ออกกี่โมงดี ?

คือเราจะมีเรื่องแบบนี้ให้ตัดสินใจนับไม่ถ้วนในแต่ละวัน บางเรื่องก็เป็นเรื่องสำคัญแต่อีกหลายเรื่องก็เป็นเรื่องที่เสียเวลาคิดโชคไม่ดีที่นักวิจัยค้นพบว่า ในฐานะมนุษย์ ความสามารถของเราในการตัดสินใจได้ดีอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้อย่างจำกัดหมายความว่าอย่างไร หมายความว่าเวลาที่เราใช้สมองคิดตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในตอนเช้า อย่างเช่น เช้านี้จะกินอะไรดี เราก็จะค่อย ๆ ตัดสินใจเรื่องอื่นๆ ถัดมา ลดประสิทธิภาพลง เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความล้าของการตัดสินใจ ซึ่งเป็นภาวะทางจิตวิทยา การตัดสินใจในเรื่องปัจจุบันจะส่งผลให้ความสามารถในการตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ที่จะเข้ามาในอนาคตลดลง………

John Tierney ผู้เขียนร่วมของหนังสือ Willpower ซึ่งเป็นหนังสือขายดีติดอันดับของ New York Times บอกว่าไม่ว่าคุณจะทำตัวเป็นคนที่มีเหตุผล มีสติแค่ไหนก็ตาม คุณก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ดีครั้งแล้วครั้งเล่าโดยปราศจากผลกระทบทางด้านชีววิทยา ซึ่งความล้าทางจิตวิทยานี้ต่างจากความล้าทางกาย ตรงที่ความล้าทางกายนั้นเราสามารถสังเกตเห็นได้ เช่นปวดเมื่อย หายใจหอบ เหนื่อย แต่ความล้าทางใจนั้นเราไม่รู้ตัว สังเกตไม่ได้ รู้เพียงแต่ว่ารู้สึกอ่อนอก อ่อนใจ อะไรแบบนี้……

ดังนั้นเราควรจะเก็บพลังงานในการตัดสินใจในแต่ละวันไว้สำหรับเรื่องสำคัญ ส่วนเรื่องไหนที่ไม่ค่อยมีความสำคัญก็ให้ทำไปแบบอัตโนมัติตามความเคยชินหรือไม่ก็โยกงานดังกล่าวไปให้คนอื่นแทนซึ่งถ้าหากปรับตรงนี้ได้ ตัวเราก็จะมีความเครียดสะสมน้อยลง ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในที่สุดโดยภาพรวม เราก็จะเป็นคนที่มีความสุขในแต่ละวันเพิ่มขึ้น


 

หนังสือแนะนำโดย DANIEL GILBERT
 

The War for Kindness: Building Empathy in a Fractured World เขียนโดย Jamil Zaki

                หนังสือที่พูดถึงเรื่องความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น โดยผู้เขียน Jamil Zaki กล่าวว่าการเห็นอกเห็นใจไม่ใช่สื่งที่ตายตัว แต่สามารถสร้างลักษณะนิสัยและฝึกฝนให้กับทุกคนได้ พร้อมกับเล่าเรื่องราวกรณีตัวอย่างในหลายๆ เหตุการณ์ไว้ในหนังสือเล่มนี้

 

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ