AUSTIN KLEON เป็นนักเขียนและศิลปินผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อัจฉริยะ” จากนิตยสาร New York ขณะที่นิตยสาร The Atlantic เรียกเขาว่าเป็น “หนึ่งในบุคคลที่น่า สนใจที่สุดบนโลกอินเตอร์เน็ต" ผลงานเขียนหนังสือที่ได้รับการแปลเป็นไทย เช่น ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน (Steal Like An Artist) , มีของดีต้องให้คนอื่นขโมย : Show Your Work!
ไปลองเปิดความคิด ตัวตน ผ่านหนังสือเล่มโปรดที่เขาแนะนำ มีเล่มไหนบ้างไปดูกันค่ะ
Priestdaddy: A Memoir เขียนโดย Patricia Lockwood
หลังจากที่ Patricia Lockwood ได้ย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่ของเธอ ซึ่งพ่อของเธอเป็นนักบวชนิกายคาทอลิกผู้รักในการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า และแม่ของเธอที่ชอบจดจ่ออยู่กับเรื่องภัยพิบัติและซาตาน ทำให้เธอได้แรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราวการถูกปลูกฝังในวัยเด็กผ่านหนังสือเล่มนี้
Ego Is the Enemy เขียนโดย Ryan Holiday
Ego Is the Enemy หนังสือคุณภาพคับอัดแน่นไปด้วยเคล็ดลับในการพัฒนาตนเอง ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ตนเองและเสริมทักษะความสามารถ เรื่องราวของผู้เขียน Holiday วัย 29 ปีได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยกลางคันแต่สามารถไต่เต้ากลายเป็นตัวแทนผู้ดูแลศิลปินเพลงร็อคแห่งวงการฮอลิวูด และรับตำแหน่งกรรมการบริหารฝ่ายการตลาดของ American Apparel ด้วยวัยเพียง 20 กว่าปี Holiday ศรัทธาในแนวคิดปรัชญาแบบ Stoicism ของชาว Spartan ซึ่งกลายมาเป็นหัวใจสำคัญของหนังสือ ทั้งนี้ Holiday ได้แนะนำแนวทางสู่ความสำเร็จและการพัฒนาประสิทธิภาพของตนเองเช่นเดียวกับ Dweck โดยมีหลักการว่ากำหนดชีวิตของคุณด้วยการลงมือทำไม่ใช่จากสิ่งที่ติดตัวมา อย่าปล่อยให้อัตตาสูงเกินไปจนมองความสามารถตนเองสูงเกินจริงหรือไม่รับฟังคำติเพื่อก่อ
Amusing Ourselves to Death: Public Discourse in the Age of Show Business เขียนโดย Neil Postman
ในยุคสังคมข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน งานเขียนวิพากษ์สื่อของนีล โพสต์แมน เล่มนี้ ยังประกอบด้วยความแหลมคม และเหมาะที่จะทำความเข้าใจ กับภาวะที่สังคมไทยเต็มไปด้วยรายการละคร เกมโชว์ และความบันเทิงนานาประเภท ได้มากพอควร
หนังสือแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรกโพสต์แมนได้อธิบายภาพรวมของสื่อ ทั้งในฐานะภาพสะท้อนข่าวสารความรู้ของสังคมในยุคสมัยนั้น และในฐานะศาสตร์ที่นำเราไปสู่ความรู้ความเข้าใจ โดยกล่าวถึง สภาพสังคมอเมริกันยุคที่การสื่อสารยังปรากฎอยู่ในรูปของหนังสือ การรับรู้ของผู้คนส่วนใหญ่ล้วนผ่านการอ่าน มาจนถึงยุคสมัยที่วิทยุ โทรทัศน์ กลายเป็นสื่อกระแสหลัก และการรับรู้ของผู้คนผ่านการรับภาพ
ในส่วนที่สองนั้น โพสต์แมนวิพากษ์ความบันเทิงทั้งหลายอย่างตรงไปตรงมา เขาเห็นว่า หากผู้คนมุ่งปรารถนาจะเสพรับความบันเทิงเป็นหลัก เราก็จะอยู่ในสังคมที่ประกอบด้วยความกลวงโหว่ทางเนื้อหา ชีวิตจะประกอบด้วยความไร้สาระ ดังวลีที่ว่า “ขอเชิญพบกับ...” เพื่อที่จะพบว่าไม่มีอะไรเลย
Flow: The Psychology of Optimal Experience เขียนโดย Mihaly Csikszentmihalyi
Mihaly Csikszentmihalyi ผู้เขียนเป็นนักจิตวิทยาชาวฮังการี ได้อธิบายถึงการรับรู้เวลาของมนุษย์อย่างละเอียด ถ้าให้สรุปสั้นๆ ก็คือ ยามที่เราจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องนึงนานๆ เวลาจะผ่านไปไว ซึ่งในกรณีนี้ มิฮาลี ชิคเซนมิฮาย เรียกมันว่า Flow ในทางกลับกันนั้น ยามที่เราไม่ได้ทำการจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องนึงจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า หลักจากการอ่านหนังสือ Flow: The Psychology of Optimal Experience คือการหลอกหลวงสมองของตนเอง เพื่อให้จดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำได้นานขึ้น
Tao Te Ching เขียนโดย Lao Tzu
เป็นหนังสือที่ได้รับการแปลไปในหลากหลายภาษา และเป็นหนึ่งในหนังสือขายดีทั่วโลกตลอดกาล ฉบับแปลภาษาไทยเรียกว่า คัมภีร์ลัทธิเต๋า โดย เล่าจื๊อ หนังสือนี้เป็นหนังสือแนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข โดยการเป็นหนึ่งเดียวกับทุกสิ่ง กับความจริง กับธรรมชาติ กับโลก