กาย คาวาซากิ (Guy Kawasaki) คือ ไอดอลคนนึงที่หลายๆคนในแวดวงสตาร์ทอัพน่าจะรู้จักกัน ปัจจุบันกายเป็นนักลงทุน (VC) อยู่ใน Silicon Valley (ร่วมก่อตั้ง Garage Technology ร่วมกับ Bill Reichert) และก่อนหน้านี้เคยทำงานที่ Apple ให้สตีป จ๊อบส์ มาก่อน
“Influence: Science and Practice” เขียนโดย Robert B. Cialdini
คุณจะไม่มีวันพูดว่า "ตกลง" หากคุณหมายความว่า "ไม่" เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ คุณจะมีอำนาจในการโน้มน้าวมากกว่าที่ผ่านมา ด้วยปริมาณการขายมากกว่าสองล้านเล่มทั่วโลก หนังสือ "กลยุทธ์โน้มน้าวและจูงใจคน" ได้กลายเป็น หนังสือคู่มือเกี่ยวกับหลักการจูงใจซึ่งโดดเด่นที่สุดเท่าที่เคยมีมา "ดร.โรเบิร์ต บี. ชาลดินี" นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงด้านศาสตร์แห่งการโน้มน้าวและจูงใจ ใช้เวลาหลายสิบปีเพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยถึงสาเหตุที่ว่า ทำไมคนบางคนถึงสามารถจูงใจเราได้อย่างน่าทึ่ง? เราจะเอาชนะด้วยการใช้เทคนิคของพวกเขาเองได้อย่างไร? นักจูงใจที่เชี่ยวชาญใช้กลยุทธ์เหล่านี้ได้อย่างไรโดยไม่มีผู้ใดรู้? คุณจะป้องกันตัวเองและจะนำความลับเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับคุณเองได้อย่างไร? คุณจะได้เรียนรู้ความลับทางจิตวิทยาหกประการที่อยู่เบื้องหลังแรงกระตุ้นอันทรงพลัง ซึ่งทำให้คนเราปฏิบัติตามคำขอ หนังสือที่สำคัญเล่มนี้จะให้คำตอบคุณได้อย่างแน่นอน!
“The Pumpkin Plan: A Simple Strategy to Grow a Remarkable Business in Any Field” เขียนโดย Mike Michalowicz
คำแนะนำแบบตรงเป้าถึงผู้ประกอบการ ซึ่งยังยึดติดกับความธรรมดาแบบล่องลอย แทนที่จะเน้นหนักอย่างมีความหมาย เต็มไปด้วยข้อคิดดีๆที่นำไปต่อยอดได้ คือคำนิยมที่ โกดิน มีให้กับหนังสือเล่มนี้ของ ไมค์ มิคาโลวิซ ที่เลือกมองธุรกิจผ่านมุมของคนปลูกฟักทอง ซึ่งเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการโฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังจะทำ แทนที่จะเสียเวลาไปมากมายกับเรื่องที่ไม่ใช่ และดึงจุดแข็งของธุรกิจตัวเองออกมา
“Crossing the Chasm: Marketing and Selling Disruptive Products to Mainstream Customers” เขียนโดย Geoffrey A. Moore
นี่คือหนังสือที่ทรงคุณค่าสำหรับผู้ประกอบการทุกคนคือการสรุปสั้นๆถึงความยอดเยี่ยมของหนังสือเล่มนี้จาก โกดิน ไม่ว่ายุคใดสมัยใด แนวคิดในการสร้างฐานลูกค้าจากกลุ่มเล็กๆที่เป็นเป้าหมายหลัก ก่อนจะขยายออกไปสู่กลุ่มอื่นๆที่แมสกว่า ยังใช้ได้เสมอ แม้ว่าตัวอย่างบางเรื่องในหนังสือเล่มนี้อาจจะตกยุคไปบ้าง แต่ข้อดีของแนวคิดดังกล่าวนั้นไม่มีวันหมดอายุ
"The Innovator's Dilemma" เขียนโดย Clayton M. Christensen
หนังสือ ‘ภาวะเขาควายของนวัตกร’ (The Innovator's Dilemma) บอกเราว่า โครงสร้างบริษัทยักษ์ใหญ่ และการแนวคิดการบริหารจากรั้วมหาวิทยาลัยไม่ ‘ตอบโจทย์’ ที่จะสร้างบรรยากาศให้เทคโนโลยีเกิดใหม่เหล่านั้นเติบโต พร้อมทั้งเสนอ ‘ทางออก’ จากตัวอย่างจริงของธุรกิจยักษ์ใหญ่ ที่ไม่พลาดท่าให้กับเทคโนโลยีเกิดใหม่