หนังสือแนะนำโดย Adam Grant : ชายผู้ค้นพบว่าอาการ “เอาไว้ทำที่หลัง” ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้

หนังสือแนะนำโดย Adam Grant

      Adam grant ชายผู้ค้นพบว่าอาการ “เอาไว้ทำที่หลัง” ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้ เป็นศาสตราจารย์สอนที่โรงเรียนธุรกิจอยู่ที่ Wharton School of the University of Pennsylvania เป็นเจ้าของหนังสือขายดีระดับโลกที่มีแนวคิดสุดยอดหลายเล่มเช่น Originals, Give and Take

      คุณอดัมพูดใน TED Talks ที่มีชื่อว่า the surprising habit of the original thinker นั่นคือการตั้งคำถามที่น่าสนใจว่า “คุณสมบัติอะไรในตัวคนที่เราเรียกเขาว่า original thinker หรือนักคิดที่สรรค์สร้างไอเดียที่เป็นต้นฉบับ จนคนอื่นต้องร้องว้าว”

     ในการบรรยายครั้งนี้มีการพูดถึงหลากหลายแนวคิดเช่น thinker พวกนี้ไม่ได้เก่งกาจมากมายจนคลอดไอเดียอะไรออกมาก็เจ๋งไปหมด แต่พวกเขาแค่ไม่ย้อท้อต่อการสร้างไอเดียเหล่านั้นต่อไป อดัมได้ยกตัวอย่างของ ศิลปินดังๆ ระดับโลกที่เป็นตำนานหลายคนเช่น Beethoven, Mozart, Bach ที่ต้องผ่านการผลิตผลงานมานับไม่ถ้วนเพื่อที่จะคลอด “ไข่ห่านทองคำ” ที่ล้ำเลิศออกมา และนั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เขากลายเป็นผู้พลิกวงการด้วยผลงานระดับชิ้น masterpiece เหล่านั้น

    ว่าแล้วลองไปเปิดหนังสือเล่มโปรดของเขากันว่า มีเล่มไหนที่มีแนวคิดสุดเจ๋งแบบที่เขาสนใจหรือไม่

 


 

Elevate: Push Beyond Your Limits and Unlock Success in Yourself and Others เขียนโดย Robert Glazer

                หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถ (Capacity) ของเรา โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ ด้านจิตใจ (Spiritual) ด้านสติปัญญา (Intellectual) ด้านร่างกาย (Physical) และด้านอารมณ์ (Emotional) โดยขีดความสามารถทั้งสี่ด้านนี้ เปรียบได้ดั่งลูกบอลเป่าลมที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วน เมื่อถูกปล่อยให้กลิ้งลงมาจากทางลาดชัน หากส่วนหนึ่งส่วนใดมีลมน้อยกว่าส่วนอื่น ๆ ลูกบอลจะกลิ้งลงมาได้ช้าและไม่ราบรื่น

                ในทางกลับกัน หากทั้งสี่ส่วนถูกเป่าลมจนเต็มหรือเป่าลมให้มีขนาดพอ ๆ กัน ลูกบอลจะกลิ้งลงมาได้อย่างรวดเร็วกว่า เปรียบได้กับการพัฒนาขีดความสามารถทั้งสี่ด้าน ซึ่งไม่จำเป็นเป่าลมให้เต็มหรือสมบูรณ์ในทุกด้าน แต่ไม่ควรละทิ้งด้านใดด้านหนึ่ง การพัฒนาแต่ละด้านให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า การพัฒนาด้านหนึ่งจะสัมพันธ์หรือเสริมกับด้านอื่นเสมอ ทำให้ในภาพรวมแล้วลูกบอลของเราจะกลิ้งไปได้อย่างไม่สะดุด ในขณะที่กำลังถูกเติมลมเข้าไปเรื่อย ๆ และมีโมเมตัมมากพอที่จะนำพาเราไปยังเป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้


 


The Infinite Game เขียนโดย Simon Sinek

                หนังสือ The Infinite Game เป็นผลงานของเขาเอง พูดถึงความหมายของคำว่า “Infinite Game” (อ่านว่า อินฟิเนท เกม) หรือเกมธุรกิจที่ไม่มีวันสิ้นสุดคืออะไร

                Infinite Game เป็นเกมที่ไม่มีเวลาที่สิ้นสุด เมื่อไม่มีเวลาสิ้นสุด เกมก็ไม่มีคำว่าจบ และแน่นอนว่าจะไม่มีผู้ชนะ เป้าหมายเดียวของผู้ที่เล่น Infinite Game คือการทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองสามารถเล่นเกมนี้ได้อย่างต่อเนื่อง และขยายเวลาให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

                “The primary objective is to keep playing, to perpetuate the game.”

ฟังดูอาจจะรู้สึกว่า Infinite Game เป็นเกมที่น่ากลัว แต่ความเป็นจริงแล้ว Infiite Game กลับอยู่รอบตัวเรา ยกตัวอย่าง เช่น การแต่งงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ใครเป็นผู้ชนะในความสัมพันธ์เหล่านี้ หรือการศึกษา ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าตัวเองเป็นผู้ชนะในการศึกษา หรือแม้แต่การทำงาน เราอาจจะบอกว่าเราสามารถชนะผู้ร่วมงานได้ด้วยตำแหน่ง หรือเงินเดือน แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า เราชนะการทำงาน คุณอาจจะได้ชื่อว่าเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เมื่อคุณตายไป คุณไม่สามารถบอกได้ว่า คุณเป็นผู้ชนะในเกมชีวิต เพราะทั้งหมดนี้ที่กล่าวมาล้วนเป็น “Journey หรือการเดินทาง”


 



Indistractable: How to Control Your Attention and Choose Your Life เขียนโดย Nir Eyal

     ก่อนหน้านี้เขาเขียนหนังสือชื่อ Hooked: How to Build Habit-Forming Products ซึ่งพูดถึงเรื่องของการสร้างอุปนิสัยให้ตัวเอง เช่น ไปยิมเป็นประจำ หรือกินอาหารให้ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องอาศัยผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาช่วยเรา แต่การที่เราจะ Hooked หรือ ‘ติด’ อยู่กับการทำอะไรสักอย่าง ตั้งแต่ทำงานจนถึงวิ่งเป็นเวลานานๆ หรือเข้ายิมให้นานมากพอแก่ความต้องการของร่างกายนั้น ล้วนแต่ทำได้ยากมาก ถ้าหากว่าเรา ‘วอกแวก’

     ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเพิ่งมีหนังสือเล่มใหม่มา มีชื่อว่า Indistractable: How to Control Your Attention and Choose Your Life คือการทำชีวิตไม่ให้วอกแวก เมื่อรู้แล้วว่าแรงเร้าภายในที่กระตุ้นเราคืออะไร ขั้นต่อไปก็คือการผลักตัวเองไปสู่ traction หรือหาเวลาสำหรับการมุ่งหน้าสู่ traction นั้นๆ ให้ได้

     Nir Eyal บอกว่า วิธีที่จะช่วยได้มีหลายอย่าง เช่น อย่าไปคิดถึง ‘เป้าหมาย’ เช่น คิดว่าต้องวิ่งให้ได้สิบกิโลเมตรในวันนี้ แต่ให้หันไปคิดถึง ‘คุณค่า’ ของมันแทน เช่นว่าการวิ่งมีประโยชน์อย่างไรกับตัวเรา
     การจัดการกับความวอกแวกเป็นเรื่องใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะโลกรุมเร้าเราด้วยความวอกแวกมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อน ดังนั้น สิ่งนี้จึงอาจเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของโลกแห่งอนาคตก็ได้ ใครวอกแวกน้อยกว่า…ชนะ


 


 

A Beginner’s Guide to the End: Practical Advice for Living Life and Facing Death เขียนโดย BJ Miller, Shoshana Berger

ไกด์ไลน์สำหรับบทสุดท้ายของชีวิต : คำแนะนำสำหรับการใช้ชีวิตและเผชิญหน้าวาระสุดท้าย

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ