ส่วนเหตุผลที่เรียกวันนี้ว่า "วันนักเขียน" นั้นเป็นเพราะ ในปี พ.ศ. 2511 นายเลียว ศรีเสวก นักประพันธ์เอกเจ้าของนามปากกา "อรวรรณ" ได้ล้มป่วยลง เหล่านักเขียนซึ่งนำโดยนายสุวัฒน์ วรดิลก จึงได้คิดที่จะจัดงานรวมน้ำใจเพื่อหาเงินช่วยเหลือ "อรวรรณ" ซึ่งงานที่จัดในครั้งนี้เกิดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2511
หลังจากงานวันนั้นผ่านพ้นไปเหล่านักเขียนทั้งหลายจึงเกิดความคิดที่อยากจะรวมตัวกันก่อตั้ง "ชมรมนักเขียน" ซึ่งในปัจจุบันก็คือ "สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย" และได้เลือกวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็น "วันนักเขียน"
ซึ่งในวันดังกล่าวเหล่านักเขียนจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมรวมกันไม่ว่าจะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่นักเขียนผู้ล่วงลับไปแล้ว และยังมีการอภิปรายในหัวข้อต่างๆ อีกด้วย โดยในปีนี้จะใช้ชื่องานว่า "ศักดิ์ศรีนักเขียน เทียนที่ไม่มีวันดับ"
"วันนักเขียน" นอกจากที่จะเป็นวันที่เหล่านักเขียนจะมารวมตัวกันเพื่อพบปะพูดคุยกันแล้ว ยังจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับถนนเส้นทางสายวรรณกรรมไทยสายนี้อีกด้วยว่าจะเดินต่อไปในทางเส้นไหน เพื่อที่พวกเขาจะได้เดินทางไปได้อย่างมั่นใจ