ผมจะเจริญรอยตามแบบท่านพีระ : คำกล่าวของนิกร ในไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์

ผมจะเจริญรอยตามแบบท่านพีระ

                ในหนังสือสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน ชุดศาลาโกหก เรื่อง ไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์ ผลงานของ ป.อินทรปาลิต ได้พูดถึงการจัดงานแข่งรถไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์ ที่บริเวณสนามหลวง ปี ค.ศ.1967 โดยนายมองสิเออร์ กาลามังดี นักธุรกิจในวงการกีฬา ชาวฝรั่งเศส ได้เข้ามาหารือกับคณะพรรคสี่สหายและเจ้าคุณปัจจนึกฯ ถึงการจัดงาน

                บทสนธนาในเรื่องมีการพูดถึงท่านพีระ อยู่หลายครั้ง
                เสี่ยกิมหงานพูดกับนายกาลามังดีว่า “ก็ดีเหมือนกัน แต่พวกเราคนไทยคงสู้เขาไม่ได้”

                นายกาลามังดี ตอบกลับว่า ไม่จริงครับผู้การ คนไทยนั้นใจกล้าไม่กลัวตาย ลืมไปแล้วหรือครับท่าน ท่านชายพีระพงศ์หรือท่านพีระนักขับรถแข่งของไทย เคยคว้ารางวัลดาราทองมาแล้วถึงสองปีติดๆกัน เมื่อ ค.ศ. 1937 และ 1938 ซึ่งกการแข่งขันสัมยนั้นยังไม่จำกัดขนาดรถและไม่ได้อยู่ในความควบคุมของสมาพันธ์”

                ช่วงที่สองคือเจ้าแห้วพูดกับ พล.ต.พลว่า รับประทานผมจะเขียน ตัวเลขไทยเหมือนพระองค์จุลฯ ทรงทำมาแล้วตอนท่านพีระแข่งดาราทอง”

                ช่วงที่สามเป็นช่วงที่นิกร กับกิมหงาน ต้องลงแข่งรถแทน ร.อ.นพ การุณวงศ์ และ ร.อ.สมนึก ไทยแท้ ผู้เป็นลูกชายซึ่งประสบอุบัติเหตุขณะฝึกซ้อม นิกรกล่าวว่า ไม่ได้โม้ครับ พูดจริงๆ ผมจะเจริญรอยตามท่านพีระ ผมจะขึ้นหน้าคู่ต่อสู้ตอนเลี้ยว ผมจะเลี้ยวแบบยกล้อ เข้าทางตรงผมจะคุมไว้ แข่งเพียง 16 นาที เท่านั้นไม่ทันเหนื่อย”

 

ท่านพีระ


                ซึ่งท่านพีระที่กล่าวถึงในเรื่องนี้คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ; ป้า (พี่สาวของพ่อ) ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2457

                ฉายาของท่านพีระ คือ “เจ้าชายนักแข่ง”  ทรงเป็นนักแข่งรถชาวไทย และทรงเป็นผู้เข้าแข่งขันกีฬาเรือใบในโอลิมปิก 1956, 1960, 1964 และ 1972

                พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ทรงแข่งรถโดยการสนับสนุนของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ มีพระนามเล่นว่า หนู พระองค์พีระฯ จึงเขียนรูปหนูสีขาวไว้ที่รถ ตั้งแต่นั้น จึงเรียกคณะแข่งรถนี้ว่า คอกหนูขาว ( White Mouse ) ทั้งสองพระองค์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในหมู่นักแข่งรถในชื่อ Prince Bira และ Prince Chula ทรงขับรถยี่ห้อ อี.อาร์.เอ.(English Racing Automobiles - E.R.A.) ทาสีฟ้าสดใส รถที่ใช้ในการแข่งขัน ชื่อ รอมิวลุส(Romulus)  รีมุส (Remus) และหนุมาน (Hanuman) สีฟ้าแบบนี้ ปัจจุบันเรียกว่าฟ้าพีระ (Bira Blue)

 

ท่านพีระ

 

                ทรงชนะเลิศการแข่งขันครั้งแรก ในรายการ Coupe de Prince Rainier ที่เซอร์กิตเดอโมนาโกปัจจุบันคือ โมนาโกกรังด์ปรีซ์) ได้รับถ้วยเจ้าชายเรนีย์แห่งโมนาโกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2479 โดยทรงขับรถรอมิวลุส

                ทรงชนะเลิศการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ในยุโรปอีกหลายครั้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1936, 1937 และ 1938 จนได้รางวัลดาราทอง (BRDC Road Racing Gold Star) จากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร 3 ปีซ้อนได้รับการบรรจุชื่อในหอเกียรติยศของสมาคมนักแข่งรถอังกฤษ

 

ท่านพีระ

 

                เมื่อปลายปี พ.ศ. 2480 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทย และนำรถรอมิวลุส กลับมาขับโชว์ และจัดประลองความเร็วที่ถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2480โดยราชยานยนต์สมาคมแห่งสยามและจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมที่วังจักรพงษ์ขณะนั้นอยู่ในช่วงงานฉลองรัฐธรรมนูญ มีผู้คนเข้ามาชมเป็นจำนวนมาก

                ในปี พ.ศ. 2482 พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช และพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเป็นกำลังสำคัญ ในการเตรียมการจัดการแข่งขันกรุงเทพกรังด์ปรีซ์ (Bangkok Grand Prix) โดยเชิญนักแข่งชั้นนำมาแข่งขันบนเส้นทางรอบสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ระยะทาง 2 ไมล์ ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 แต่การแข่งขันนี้ต้องยกเลิกไป เพราะเกิดสงครามโลกขึ้นเสียก่อน

 

ท่านพีระ

 

                โดยในเรื่องราวในนิยาย ไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์ จะเป็นการจัดแข่งรถในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งความรู้เรื่องการแข่งรถ ป.อินทรปาลิตกล่าวว่าได้รับความรู้การแข่งรถกรังด์ปรีซ์มาจาก ม.ร.ว. กิติสมาน กิติยาการ

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ