หนังสือแนะนำโดย Nassim Taleb : นักคณิตศาสตร์และเทรดเดอร์สุดอัจฉริยะ

หนังสือแนะนำโดย Nassim Taleb

     Nassim Nicholas Taleb เป็นหนึ่งในนักคิดที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน เขาสมควรได้รับความสนใจจากการที่เขาได้ทำเงินเป็นจำนวนมากโดยการทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำหรือไม่กล้าที่จะทำมาก่อน ชื่อนี้คนไทยอาจไม่คุ้นหูเสียเท่าไหร่ แต่ชื่อเสียงเขาโด่งดังมากในต่างประเทศ ทั้งในฐานะที่ปรึกษาของกองทุน Hedge Fund และยังเป็นผู้ที่ชอบทำกำไรจากเหตุการณ์พิเศษต่างๆ โดยเฉพาะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งล่าสุดเมื่อปี 2015 กองทุน Universa Investment ที่เขาเป็นที่ปรึกษา ก็ทำเงินได้กว่า 1 พันล้านเหรียญในวันเดียวจากเหตุการณ์ที่ดาวโจนส์ลดลงกว่า 1000 จุด 

 

หนังสือแนะนำโดย Nassim Taleb

 

The Tartar Steppe เขียนโดย Dino Buzzati 

     เวลายังผ่านไปในจังหวะอันนิ่งเงียบของมันในแบบเดียวกันสำหรับทุกคน ไม่ช้าไปสำหรับคนที่กำลังมีความสุขและไม่เร็วไป สำหรับคนที่กำลังมีความทุกข์"

     นวนิยายเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทหารเกือบทั้งสิ้น เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นในป้อมปราการหรือค่ายทหาร ป้อมปราการที่ว่าไม่ใช่ป้อมปราการทั่วไป แต่เป็นป้อมปราการเก่าโทรมและตั้งอยู่บนยอดเขาอันเวิ้งว้างห่างไกลจากชุมชน ผู้คนและวิถีชีวิตธรรมดาสามัญ 

      ที่สำคัญป้อมปราการที่ว่ายังมีดินแดนติดกับทุ่งร้างและแล้งขนาดใหญ่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ไร้ซึ่งพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิต 
ทุ่งร้างที่ทุกคนเชื่อว่ามันซุกซ่อนปริศนาไว้ จึงรอคอยวันที่มันจะเผยความลับออกมาอย่างใจจดใจจ่อและห่อเหี่ยวปะปน

 

 

หนังสือแนะนำโดย Nassim Taleb

 

The Paradox of Choice เขียนโดย by Barry Schwartz 

กล่าวถึงสามเหตุผลที่ทางเลือกที่มากขึ้นทำให้เราสุขน้อยลง

    เหตุผลข้อแรก ยิ่งทางเลือกมากขึ้น โอกาสที่เราจะ “เป็นอัมพาตภายใน” (inner paralysis) หรือการตัดสินใจไม่ถูก ก็จะยิ่งมากตาม

    เหตุผลข้อที่สอง ยิ่งทางเลือกมากขึ้น เราก็ยิ่งมีสิทธิ์ตัดสินใจได้แย่ลงด้วย

    เหตุผลข้อที่สาม ยิ่งทางเลือกมากขึ้น โอกาสที่เราจะไม่พอใจกับการตัดสินใจของเรายิ่งมีมากขึ้นด้วย

 

 

หนังสือแนะนำโดย Nassim Taleb

 

The Tyranny of Experts : Economists, Dictators, and the Forgotten Rights of the Poor เขียนโดย William  Easterly

     มายาคติแห่งการพัฒนาที่เล่าขานโดยเหล่าเทคโนแครตอาจชวนให้เราหลงคิดไปว่า ความยากจนเป็นผลพวงจากการขาดแคลนความรู้ และการเชื่อฟังอภิชนผู้มีปัญญาคือหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความยากจน ทว่าประวัติศาสตร์กลับฉายภาพให้เราเห็นผลพวงอันเลวร้ายจากการพัฒนาแบบเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิของคนจนที่ถูกละเลย เสรีภาพที่โดนกดปราบและระบอบประชาธิปไตยที่อ่อนแอลง คำถามคือ มันคุ้มแล้วหรือที่จะยอมแลกสิ่งเหล่านี้กับคำมั่นสัญญาแห่งการพัฒนา?

     "วิลเลียม อีสเตอร์ลี" ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก จะพาเราล่องสายธารแห่งประวัติศาสตร์การพัฒนาตั้งแต่ยุคอดีตกาล พร้อมสำรวจรากฐานและวิวาทะคลาสสิก ระหว่างฝ่ายที่ยึดมั่นในพลังเสรีของปัจเจกชนกับฝ่านที่ถือมั่นในความรู้ของเหล่าผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาอย่างรอบด้าน ผ่านงานวิจัยและตัวอย่างประกอบจากหลากหลายสาขาวิชา หนังสือ "ทรราชย์เทคโนแครต" ช่วยตอกย้ำว่า เหตุใดการพัฒนาถึงต้องตั้งอยู่บนฐานของสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย และทำไมการฝากความหวังไว้กับ "เผด็จการผู้ทรงธรรม" ให้ช่วยฉุดดึงเราออกจากหุบเหวแห่งความสิ้นหวัง จึงไม่อาจเป็นคำตอบของการพัฒนาได้

 

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ