80 วันรอบโลก ผลงานของ จูลส์ เวิร์น : AROUND THE WORLD IN 80 DAYS

80 วันรอบโลก ผลงานของ จูลส์ เวิร์น

 

      จูลส์ เวิร์น (Jules Vern) ได้ประพันธ์ไว้หลายเรื่องเป็นนวนิยายขายดีดังไปทั่วโลกหนึ่งนั้นคือเรื่อง Around The World In 80 Day เขามีจินตนาการกว้างไกลเมื่อนานมาแล้วมีความคิดสร้างสรรค์ ได้รับรางวัลมากมาย จนทั่วโลกยกย่องให้ท่านเป็นสุดยอดที่เป็นนักเขียนที่มีอิทธิพลต่อแนวนิยายวิทยาศาสตร์ขององค์การวิทยาศาสตร์โลกมาจนถึงทุกวันนี้ 2017

       ปัจจุบันหนังสือได้ถูกแปลไปทั่วโลกทุกภาษา จนห้าสิบปีที่แล้ววงการ Hollywood ได้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ระบบ 35 มม.เสียงรอบทิศช่วงหลังทำเป็นระบบ 70มม ออกมาด้วย 

 


       Phileas Fogg บุคลิกภาพตรงกับบทประพันธุ์มากที่สุดในบทเป็นนักพนันที่เป็นเศรษฐีผู้ดีอังกฤษตรงตามเรื่องมาก และยังมีดาราดังมากมายเช่นแฟรง ซินาต้าดารารับเชิญ ส่วนผู้หญิงรับบทเด่นชื่อ Shirley Maclaine รับบท โดยมี Passepartout ผู้ติดตามรับใช้พระเอกเจ้านายใน 80 วันรอบโลกที่เดินทางตื่นเต้นทุกนาทีเป็นตัวโจ๊กที่ฮากันทั้งโรงหนังในบทบวมๆเซ่อๆซ่าๆของเขาที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืมในหนังเรื่องนี้ สร้างเสร็จเข้าฉายปี 1956 ที่สหรัฐและปีถัดมาออกฉายทั่วโลกรวมประเทศไทยด้วยครั้งแรกฉายที่โรงหนังกรุงเกษมประมาณ 1959 และในรอบ 50 กว่าปีกลับมาฉายเมืองไทยอีกหลายครั้ง หลังสุดฉายที่โรงหนังอินทรามาใหม่ในฉาย ระบบ 70 มม เสียงรอบทิศประมาณเกินกว่า 28 ปี มาแล้ว ผู้เขียนได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ครั้งแรกตั้งแต่ตอนเด็กๆโดยคุณพ่อนายโกวิท จิตต์แจ้งผู้บริหารโรงหนังคิงส์ตรังประมาณปี 2504 ได้สั่งหนังเรื่อง Around The World In 80 Day มาฉายที่ตรังหลายวัน และผู้เขียนได้มาดูอีกครั้ง ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วที่ โรงหนังอินทรากรุงเทพหนังสนุกมาก เรื่องย่อมีดังนี้ จากฝีมือการเขียนเรื่องแบบเหนือชั้นของ จูลส์ เวิร์นบอกเล่าเรื่องราวในอดีดในสมัยการสื่อสารการคมนาคมยังไม่สะดวกรวดเร็วอย่างทุกวันนี้ ผู้ประพันธ์ได้พูดถึงตัวละครตัวพระเอกที่ชื่อ Phileas Fogg พีเลียส ฟอกก์ ผู้ดีเศรษฐีชาวอังกฤษที่เก่งฉลาดผู้มีนิสัยเจ้าระเบียบ ตรงตอเวลาคิดไวรวดเร็วเล่นไพ่เก่ง มีคนรับใช้ติดตามตัวประจำชื่อ Passepartout ฟาสปาตูคอยรับใช้ตลอด ฟีเลียส ฟอกก์ เขารับพนันกับสมาชิกสโมสรที่อังกฤษว่าเขามีความสามารถเดินทางรอบโลกได้ภายในเวลา 80 วันโดยทุ่มเงินประมาณแบบทุ่มหมดตัวไว้พนันเป็นเงินสูงถึง 20,000 ปอนด์ เทียบเท่าสมัยนี้คาดว่า ประมาณ 260,000 ปอนด์สเตอร์ลิงในปัจจุบัน และพระเอกกับคนใช้ออกเดินทางผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตต้องพบเจออุปสรรคมากมายนาๆประการแบบนึกไม่ถึง เขาทุ่มเทความสามารถพยายามรักษาเวลาควบคุมการเดินทางให้อยู่ในแผนตามกำหนดไว้เขาจดบันทึกการเดินทางทุกวันเขาชนะหรือแพ้

        ทั้งคู่เริ่มออกเดินทางเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ปี คศ. 1872 จะต้องเดินทางกลับมาลอนดอนประเทศอังกฤษภายในวันที่ 22 ธันวาคม 1872 แผนการเดินทางจากผู้ประพันธ์ที่มีความคิดชั้นเลิศ ตอนเขียนเรื่องนี้มีดังนี้เริ่มต้นจาก ลอนดอน คลองสุเอชรถไฟเรือกลไฟ 7 วันจากคลอลสุสุเอชไปอินเดียบอมเบย์ เรือกลไฟ 13 วัน จากบอมเบย์ กัลป์กันตารถไฟ 3 วัน กัลป์กันตา ฮ่องกง เรือกลไฟ 13 วัน ไทยฮ่องกงไปโยโกฮามาญี่ปุ่นเรือกลไฟ 6 วัน จากญี่ปุ่นไปซานฟรานซิสโก เรือกลไฟ 22 วัน ซานฟราน และไปนิวยอร์ค 7 วัน จากนิวยอร์คไปลอนดอน เรือกลไฟ 9 วันในบางช่วงใช้บอลลูนเดินทาง เดิมพันครั้งนี้ถ้าแพ้หมดตัวถูกยึดหมด เรียกว่าแพ้ไม่ได้เด็ดขาด มีกติกาว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ได้ 80 วัน โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะใช้พาหนะใดก็ได้ ไม่ว่าบอลลูน รถไฟ เรือกลไฟ ช้างม้าหรืออื่นๆที่เดินทางได้ สมัยนั้นยังไม่มีรถยนต์และเครื่องบิน ขณะออกเดินทางแผนกำหนดไว้ผิดหมดเพราะปัสปาตูมีส่วนเป็นเหตุในบทเขียนไม่มี ผู้กำกับใส่เพิ่มทำให้หนังดูสนุกขึ้นมาก ผู้ประพันธ์เขียนแผงไว้บอกว่าตอนไปถึงประเทศอินเดีย มีพิธีแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือบูชายันต์หญิงอินเดียที่สามีตาย จะถูกนำมาเผาทั้งเป็นให้ตายตามไปด้วย ฉากนี้ในหนังตื่นเต้น พระเอกกับคนใช้เจ้า ปาสปาตูแอบเข้าไปช่วยนาง Aouda สาวชาวอินเดียหนีออกมาได้จากการเผาทั้งเป็นโดยหนีขึ้นช้างไปรอดได้ส่าเสร็จแบบหวุดหวิด

      เขาเดินทางส่วนใหญ่โดยซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าซื้อใช้บอลลูนลอยไปเพื่อทำเวลาฉากให้เร็วซื้อเรือทั้งลำ ที่สนุกบางตอนคือเจ้าปัสปาตูอาสาสู้กับวัวกระทิงที่สเปนพี่แก่ออกลีลา เรียกเสียงเฮกันสนุกสนาน มีตอนพลัดหลงกันที่ประเทศญี่ปุ่นและตอนแสดงในโรงละครญี่ปุ่น ตอนผจญภัยในอเมริกาบนรถไฟต้องต่อสู้กับอินเดียแดงชุดใหญ่ยิงกันสนั่น หนัง 80 วันรอบโลก ตอนเดินทาง ด้วยเรือกลไฟต้องซื้อเรือทั้งลำเพื่อเดินทางน้ำมันหมดต้องงัดเรือทั้งลำเผาทำเป็นเชื้อเพลิงเดินทางทำเวลาตลอดโดยไม่มีการพักเลยต้อนลอยอยู่บนบอลลูนคนดูเพลินมีความสุขเพลงประกอบก็ไพเราะมากฉากเด่นตอนี้คือตอนลอยเฉียดยอดเขาน้ำแข็งปัสปาตูเอามือจับหิมะมาแช่แชมเปนตอนเดินทาง พอกลับมาถึงอังกฤษ พีเลียสนับได้ 81 วัน เขาเสียใจมากต้องหมดสิ้นเนื้อประดาตัวแน่แท้ เขาแพ้พนัน คนดูทั้งโรงหนังเงียบกันหมดเพราะลุ้นกันมาตลอดเรื่องแล้วเจออะไรมาสารพัด เหมือนปาฏิหารเกิดขึ้นพอดีมีหนังสือพิมพ์มาขาย เมื่อพีเลียส ฟอกก์เปิดอ่านตกใจในหนังสือเป็นวันที่ 22 ธ.ค.1872 ครบ 80 วันพอดีไม่เกิน คนดูได้เฮคราวนี้กันใหญ่เขาชนะพนันเขาวิ่งไปในสโมสรเหลือ 5 นาทีสุดท้ายเส้นยาแดงผ่าแปด พีเลียสชนะการเดิมพัน ผู้ประพันธ์เข้าใจหลักวิทยาศาสตร์เพราะโลกกลมเวลาในประเทศไม่เท่ากันเมื่อกลับมาถึงตรง มาถึงอังกฤษ ก่อนกำหนดถึงก่อน 23 ชั่วโมงกับ 55 นาที

 

80 วันรอบโลก

 

อ้างอิงจา่ก : https://pantip.com/topic/37240996

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ