นครคนนอก : นครคนนอก : เพราะสังคมเมืองใหญ่ จึงกลายเป็นคนนอก

นครคนนอก

 

              นับแต่โลกของเรามีคาว่าเทคโนโลยีเกิดขึ้น การพัฒนาในทุกด้านๆก็มิเคยได้หยุดหย่อน จนทำให้วิถีชีวิตผู้คนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ให้ความสนใจกับเครื่องมือสื่อสมัยใหม่กันมาก เมื่อตื่นนอนก็หยิบสมาร์ทโฟนเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพื่อบรรลุเป้าหมายและดูเหมือนว่าทุกคนต่างให้ความสนใจกับตนเองเป็นที่หนึ่ง จนลืมมองสิ่งรอบข้างที่ผ่านตัวเราในแต่ละวัน


             “นครคนนอก” ผลงานรวมบทกวี ดีกรีรางวัลซีไรต์ประจาปี 2559 ของพลัง เพียงพิรุณห์ ได้เลือกที่จะสะท้อนสังคมในยุคสมัยใหม่ สังคมที่มีคนถูกมองข้าม ผู้คนไม่ได้ให้ความสนใจผู้อื่นนอกจากตนเอง เพียงเดินผ่านกันไปกันมาเท่านั้น


              หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวม “คนนอก” ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเมืองและเป็นผู้ขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวเดินไป พลัง เพียงพิรุณห์ ได้นำเสนอชีวิตที่ดิ้นรนปากกัดตีนถีบของผู้คนเหล่านี้ผ่านตัวตนอาชีพต่างๆ เช่น กระเป๋ารถเมล์ใน “หน้าเหลืองทางคด รถเมล์” คนงานโรงงานใน “เนื้อปลาฝนมีด” พนังงานใน “เคลม” รวมถึงอาชีพที่ดูไม่ทันสมัยสังคมอย่าง ยายแตขายไข่ปิ้งใน“นักหาบแดด”

 

“ยายแตยกตั่งนั่งข้างหาบ
ตาพร่าเดี๋ยวเห็นภาพเดี๋ยวเลือนสลาย
โดดเดี่ยวคอนสาแหรกขอแทรกกาย
เพียงเฝ้าคอยความตายมาคลายปม
คนไม่กินไข่ปิ้งกันแล้วหรือ
ส่งเสียงเครืออออือน้ำลายขม
มันแห้งแข็งบนตะแกรงไม่นิยม
รสชาติคงไม่สมกับเมืองแมน”

 

               ในบทกวีนี้ผู้เขียนใช้ถ้อยคำโอดครวญส่งเสียง “คนไม่กินไข่ปิ้งกันแล้วหรือ” เมื่ออ่านก็รับรู้ถึงความรู้สึกของหญิงชราซึ่งหมดหวังกับการขายไข่ปิ้ง และยังมีการกล่าวว่า “เพียงเฝ้าคอยความตายมาคลายปม” นั่นคือ การไม่มีชีวิตอยู่ยังดีเสียกว่าการอยู่แล้วต้องดิ้นรนและต้องพยายามเลี้ยงปากท้องของตนเอง


               ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า ยุคสมัยนี้ทุกคนต่างหมกมุ่นอยู่กับตนเอง แม้กระทั่งความตาย ก็ไม่มีคนให้ความสนใจ อย่าง “เหตุผลของคนข้างบ้าน” ที่หญิงสาวตั้งครรภ์ในบ้านจัดสรรมีภาระให้ทำมากมาย จนไม่ได้สนใจชายชราข้างบ้าน จนกระทั่งฝันถึง จึงรู้ว่าเขาได้เสียชีวิตแล้ว และบางคนอาจมีภาระมากและมีคนรอคอยอยู่ข้างหลังอีกหลายชีวิต แม้ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ชีวิตก็ยังต้องดิ้นรนให้ถึงที่สุด เพื่อจะได้มีชีวิตอยู่เพื่อต่อสู้ หาเลี้ยงตนเองและครอบครัว หรืออาจอยู่เพื่อบรรลุเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต

 

“ล้อเล่นกับเหล่ามัจจุราช
เดิมพันด้วยภพชาติชราทั้งผอง
มรณะคละคลั่กกลิ่นหมักดอง
วนเวียนอยู่ในท้องที่ร้องร้าย
สัจจะเปล่งเสียงสวดขวดน้ำเกลือ
ปรุรอยเข็มฝังเลือดเนื้อน่าใจหาย
กลิ่นยาร้องครางอย่าวางวาย
ยืนหยัดจนหยดสุดท้ายของชีวิต”

 

                 พลัง เพียงพิรุณห์ยังได้สะท้อนภาพเบื้องหลังของสังคมเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้า ใน “นักนั่งร้าน” ภาพของการตั้งแคมป์ก่อสร้างของคนงาน ความวุ่นวายและดิ้นรนในสถานที่แห่งนั้น แน่นอนว่าเราคงไม่ได้เห็นกันมากนัก เพราะมันจะหายไปเมื่อห้างสรรพสินค้าได้สร้างเสร็จแล้ว รวมถึงชายชราชื่อแถมที่ประกอบอาชีพยามหลังจากได้รับอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน

 

                                                                                                                        “วันเปิดห้างสรรพสินค้าคนคับคั่ง

                                                                                                                     แคมป์ลับหายไปดั่งภาพเสมือน
                                                                                                                     พร้ามยามแถมชายเฒ่าลับเค้าเลือน
                                                                                                                     ลบร่องรอยย้าเตือนฉากโชกโชน”

 

                     ตลอดทั้งเล่มของนครคนนอก มีการใช้ภาษาที่สั้นกระชับ สื่อความหมายอย่างชัดเจน คมชัด มีพลังและกินใจ มีการใช้สัญญะ อ่านแล้วเห็นภาพ สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ในบางบทได้เขียนในรูปแบบการสนทนาของคนสองคน โดยมีเราประหนึ่งเป็นผู้ฟังของวงสนทนานั้น เช่น การสนทนาระหว่างแม่และลูกใน “เราต่างคือนักอพยพ”

 

เด็กน้อยผายมือสุดแขน “ทาไมเขาไม่มีที่อยู่ล่ะคะ”

 

                    แม้จะเป็นประโยคสั้นๆ แต่เมื่ออ่านแล้วทาให้เราได้นึกคิด ทบทวนและไตร่ตรองบางอย่าง พลัง เพียงพิรุณห์ ได้นาเสนอเหตุการณ์ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ดังการอพยพของชาวโรฮีงญาข้างต้น การเสียชีวิตของปีเตอร์ รูท กับ แมรี่ ทอมป์สัน นอกจากนี้ยังมีสถาณการณ์แผ่นดินไหวในเนปาลและประเทศอื่นๆ ผ่าน “มารดาสวรรค์” และ “ช่วงหนึ่งหนึ่ง ปลาอานนท์อาจพลิกตัวบ่อย”


                    นครคนนอก ถือว่ามีความแปลกใหม่ในวงการกวี พลัง เพียงพิรุณห์ไม่เพียงแต่ใช้บทกวีฉันทลักษณ์ตามขนบ ทว่ายังได้เลือกใช้กลวิธีใหม่ๆ ในการนำเสนอ เช่น วรรณรูป ที่มุ่งให้ผู้อ่านได้ตีความด้วยตนเอง การใช้อีโมติคอน ใน “อีโมติคอนซิมโบลิสม์” และการใช้คำคล้องจองผ่านแฮชแท็ก ใน “ชีวิตติดแฮชแท็ก”

 

                    แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในหนังสือเล่มนี้ คือ แร็พ วิธีการนี้ปรากฏเป็นบทเพลงในโลกออนไลน์มาแล้วระยะหนึ่ง และเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น การที่เลือกใช้แร็พคงจะเป็นการเข้าถึงวัยรุ่นให้หันมาสนใจอ่านกวีนิพนธ์มากขึ้น แม้จะเป็นแร็พ แต่การสอดแทรกแนวคิดเรื่องการดิ้นรนก็ยังคงมีพลัง ไม่ได้ด้อยไปกว่าบทกวีฉันทลักษณ์ตามขนบเลย


                                                                                                “อา...ชีวิตมันเรียล ชะตากรรมให้ขับเคี่ยว
                                                                                                 จนหน้าตานั้นบูดเบี้ยว อย่างไรก็สู้
                                                                                                 อา...ดูเอาเถิดเพื่อนจะกลากหิดติดเกลื้อน
                                                                                                 สักวันมันก็จะหาย เกิดในสังคมอันเหลือร้าย
                                                                                                 ไม่ต้องพูดมากให้วุ่นวาย ต้องอยู่ให้ได้
                                                                                                  อา...ไม่งั้นก็ตาย”


                    นับได้ว่า “นครคนนอก” ของพลัง เพียงพิรุณห์นี้ เหมาะสมที่จะได้รับรางวัลซีไรต์เป็นอย่างยิ่ง เป็นผลงานที่สอดแทรกด้วยแนวคิดของสังคมสมัยใหม่ ถือเป็นหนังสือบันทึกสังคมในยุคสมัยนี้ มุ่งเน้นให้เห็นการดิ้นรน การต่อสู้กับความทุกข์ที่พัดผ่านตลอดช่วงชีวิต ตลอดทั้งเล่มเต็มไปด้วยพลังที่ส่งออกมาและคำถามให้ฉุกคิดถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม นอกจากนี้ยังมีความแปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร เป็นการก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ของบทกวีผ่านฉันทลักษณ์ใหม่ๆ เข้าถึงคนได้ทุกช่วงวัย สร้างความหวังและต่อลมหายใจให้กับกวีนิพนธ์ได้สดชื่นอีกครั้ง

 

บทวิจารณ์โดย นายณัฐวุฒิ จันทะลุน

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ