ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ : เอ!! แต่มีใครทราบบ้างว่า ใครเป็นผู้แต่ง นวนิยายเรื่องนี้

ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ

 

ขอเกาะกระแส ละครดัง ทองเนื้อเก้า ที่ตอนนี้คนติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นละครรีเมกที่ถูกจับตามองมากเรื่องหนึ่งเลยทีเดียวซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 สำหรับ "ทองเนื้อเก้า" เนื่องด้วยตัวบทที่สนุกมีเนื้อหาโดนใจและสอดแทรกแง่คิดมากมาย อีกทั้งนักแสดงนำในเรื่องนี้ในเวอร์ชั่นก่อน ๆ ก็โชว์ฝีไม้ลายมือชั้นเยี่ยมทำเอาคุณผู้ชมติดหนึบกันทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งตอนนี้กำลังกลายเป็นกระแส ลำยองฟีเวอร์

 

ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ

ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ

 

เอ!! แต่มีใครทราบบ้างว่า ใครเป็นผู้แต่ง นวนิยายเรื่องนี้
ผู้แต่งนวนิยาย จนกลายมาเป็นละครดังอย่างทองเนื้อเก้าเรื่องนี้ คือ " โบตั๋น " นามปากกาของคุณ สุภา สิริสิงห ซึ่งผลงานของเธอที่ถูกนำมาเป็นละครดังมีอยู่หลายเรื่อง และครั้งนี้คุณ โบตั๋น กล่าวว่าหลังจากที่ละครทองเนื้อเก้าออกฉาย ในปี 2556 นี้ดูจากยอดขายหนังสือรู้สึกว่า เรื่องทองเนื้อเก้า ยอดขายนิยายเยอะขึ้นค่ะ อาจจะเพราะคนอยากรู้ว่าลำยองภาคนี้จะหมือนภาคก่อนๆ ไหม และคนที่ไม่เคยดูภาคก่อนๆ ก็อยากรู้ว่าเรื่องจะเป็นอย่างไร และยังมีแฟนๆ ละครเข้ามาทักทายเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ

 

ทองเนื้อเก้าเรื่องราวเกี่ยวกับ ลำยอง ตัวละครผู้หญิงขี้เมา สำส่อนและขี้เกียจ และ วันเฉลิม ลูกชายของลำยองที่เปรียบเสมือนทองเนื้อแท้ที่ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งหนใดก็ยังสามารถคงคุณงามความดีได้เสมอ

รวมภาพหนังสือ ตั้งแต่ยุคแรกๆ ไม่แน่ใจว่าครบไหม แต่ที่เจอที่งานสัปดาห์หนังสือจะเป็นปกอันสุดท้ายค่ะ

ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ

 

อันนี้เป็นบทความ ชื่อว่า ผู้หญิงแกร่งคนนั้นชื่อ ‘โบตั๋น’ โดย ดารณี สุนทรนนท์ค่ะ

“ อ่านนิยายหลายเรื่องของโบตั๋น พี่จับได้ว่าเธอได้โอกาสแก้แค้นสังคมจีนหัวเก่าที่เปิดทางให้ลูกชายเป็นใหญ่ แต่พวกเขากลับไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้ครอบครัว” ราว 18 ปีที่แล้วฉันพูดกับรุ่นน้องผู้เป็นนักเขียนบทหนังทีวี “ใช่... ใช่แล้ว” เธอพูดเสียงดังลั่นอย่างเกิดความรู้สึกร่วมเต็มที่ เรื่อง ‘ตะวันชิงพลบ’ ครอบครัวหนึ่งมีลูกสาวน่ารักสองคน แต่แม่ไปขอเด็กชายมาเลี้ยงเพื่อเขาจะได้เป็นผู้นำครอบครัว แต่เขากลับสร้างปัญหาไม่สิ้นสุด ‘นวลนางข้างเขียง’ โบตั๋นกล้าเขียนให้นางเอกเป็นคนขายหมูในตลาด ต่อมาเธอเป็นนางแบบโฆษณายาสระผมทางทีวี หลังจากแมวมองเห็นผมสวยของเธอ เธอกลายเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวที่มีลูกชายหลายคน แต่พวกเขาล้วนเกกมะเหรกเกเร

โบตั๋น เป็นนักเขียนคนแรกๆ ที่เขียนให้นางเอกเป็นคนขายขนมธรรมดาๆ ขณะค่านิยมไทยบางอย่างทำให้ผู้คนทำหัวสูงโดยเมินคุณค่าของอาชีพสุจริต ฉันระลึกถึงโบตั๋นอีกครั้งในปลายเดือนพฤษภาคม เมื่อเห็นข่าวนิยายของเธอถูกนำไปสร้างเป็นหนังทีวีสามเรื่องพร้อมกัน คือ ‘อเวจีสีชมพู’, ‘สุดแต่ใจจะไขว่คว้า’ และ ‘บัวแล้งน้ำ’

โบตั๋น หรือ สุภา สิริสิงห์ เป็นลูกคนจีนผู้เติบโตในกระท่อมเล็กๆ กลางสวนที่ห่างไกลถนนแถวๆ ภาษีเจริญ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เธอเป็นลูกคนที่ห้าในจำนวนพี่น้องหกคน ครั้นพี่ๆ และน้องสาวไปอยู่ที่อื่น ในบ้านจึงเหลือเพียงเธอ พี่สาวสมองพิการ พ่อผู้แก่กว่าเธอ 53 ปี และแม่ เธอไม่เคยได้เป็นเด็กเพราะอยู่กับคนแก่ และต้องรับผิดชอบสูง การไม่มีแสงสีคอยยั่วเย้าทำให้เธอได้แต่อ่านหนังสือ จึงเรียนเก่ง

เธอได้ทุนการศึกษาขณะเรียนคณะอักษรศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เป็นหนอนหนังสือมาตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมฯต้น เสาร์-อาทิตย์ เธอเก็บผักข้างบ้านขายได้เงิน 3-4 บาท เพื่อใช้จ่ายค่ารถ และค่าอาหารที่สถาบัน ดังนั้น เมื่อเขียนเรื่องสั้นได้เรื่องละ 120 บาท และนิยายตอนละ 140 บาท ขณะเรียนปีสาม เธอจึงปลื้มมาก เพราะยามนั้นข้าวแกงจานละบาท และค่ารถเมล์เที่ยวละ 50 สตางค์ เท่านั้น

‘จดหมายจากเมืองไทย’ นั้น เธอเขียนและได้รับรางวัล สปอ. ขณะอายุเพียง 24 ปี นับจากนั้น เธอไม่เคยส่งงานเข้าประกวดอีก เพราะ “เบื่อการถูกสับ” ปิยตา วนนันท์ คือนามปากกาที่เธอใช้แปลหนังสือเด็กให้กับสำนักพิมพ์ของเธอเอง ขณะพอใจที่นิยายกว่าร้อยละ 70 ที่เขียน ถูกซื้อไปสร้างหนังและหนังทีวี ชีวิตที่ก้าวไกลจากจุดเดิมมากมายนั้น ถูกจ่ายคืนด้วย เช่น ถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนจนขาหัก นั่งๆ นอนๆ ปีครึ่ง ต้องผ่าตัดมดลูก เป็นโรคปวดไหล่ และไม่กี่เดือนมานี้ สามีสุดที่รักของเธอก็ลาโลกไปก่อน ด้วยงานเขียนที่เธอยังมีไฟไม่จาง ด้วยลูกสาวที่น่ารักสองคน และความแกร่งส่วนตัว ผู้หญิงชื่อโบตั๋น คนนี้ จึงยังโลดแล่นไปอย่างทรงพลัง...

ภาพคุณโบตั๋น ตอนงานแถลงข่าวรางวัล โครงการ Chommanard Book Prize ของสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นค่ะ

 

ทองเนื้อเก้า ละครรีเมกเพิ่มยอดขายหนังสือ

 

อ่านประวัติ โบตั๋น ได้ที่ทำเนียบนักประพันธ์ : http://www.praphansarn.com/โบตั๋น/writer/19
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=269544

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ