สาย(คำ)ย่อ : หลายคนคงเคยได้มีโอกาสเห็นสื่อต่างๆทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น มีการใช้คำย่อหรืออักษรย่อเพื่อสื่อความ

สาย(คำ)ย่อ

หลายคนคงเคยได้มีโอกาสเห็นสื่อต่างๆทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น มีการใช้คำย่อหรืออักษรย่อเพื่อสื่อความ แต่หลายๆครั้งเราก็จะเห็นว่าคำเดียวกัน แต่ใช้อักษรย่อไม่เหมือนกัน คงทำให้เกิดความสงสัยว่าที่จริงแล้วการใช้อักษรย่อที่ถูกต้องควรใช้อย่างไร วันนี้เราจะมาศึกษาหลักเกฑ์การใช้อัการย่อที่ถูกต้องตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อครั้งหน้าเราจะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง

1. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำเป็นตัวย่อ โดยถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้ตัวย่อตัวเดียว แม้ว่าคำนั้นจะมีหลายพยางค์ เช่น 5 วา = 5 ว. จังหวัด = จ. หรือถ้าใช้ตัวย่อตัวเดียวแล้วทำให้สับสนอาจใช้พยัญชนะต้นของคำถัดไปเป็นตัวย่อด้วยก็ได้ เช่น ทหารบก = ทบ. ตำรวจ = ตร. อัยการ = อก.

2. ถ้าเป็นคำสมาสให้ถือเป็นคำเดียว และใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียงตัวเดียว เช่น มหาวิทยาลัย = ม.

3. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะของแต่ละคำ เช่น ชั่วโมง = ชม. โรงเรียน = รร.

4. ถ้าคำประสมประกอบด้วยคำหลายคำ มีความยาวมาก อาจเลือกเฉพาะพยัญชนะต้นของคำที่เป็นใจความสำคัญ ทั้งนี้อักษรย่อรวมแล้วไม่ควรเกิน 4 ตัว เช่น คณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ = กปร. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน = สพฐ.

5. ถ้าใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำแล้วทำให้เกิดความสับสน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปแทน เช่น พระราชกำหนด = พ.ร.ก. พระราชกฤษฎีกา = พ.ร.ฎ.

6. ถ้าพยางค์ที่มี ห เป็นอักษรนำ เช่น หญ หล ให้ใช้พยัญชนะตัวที่ออกเสียงเป็นตัวย่อ เช่น สารวัตรใหญ่ = สวญ. ทางหลวง = ทล.

7. คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำหรืออักษรนำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว เช่น ประกาศนียบัตร = ป. ถนน = ถ.

8. ตัวย่อไม่ควรใช้สระ ยกเว้นคำที่เคยใช้มาก่อนแล้ว เช่น เมษายน = เม.ย. โทรศัพท์ = โทร. เสนาธิการ = เสธ.

9. ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้มาก่อนแล้ว เช่น ตำบล = ต. รองศาสตราจารย์ = รศ. พุทธศักราช = พ.ศ.

10. เว้นวรรคเล็กหน้าตัวย่อทุกแบบ และเว้นวรรคระหว่างกลุ่มอักษรย่อ

 

เขียนโดย พชรวี มักมะยม

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ