วิวัฒนาการของอักษรไทย : ประวัติความเป็นมาของอักษรไทยและการวิวัฒนาการของอักษรไทย

วิวัฒนาการของอักษรไทย

ประวัติความเป็นมาของอักษรไทยและการวิวัฒนาการของอักษรไทย ตัวอักษรไทยในยุคแรกๆ นั้น ได้รับการสันนิฐานกันว่ามีอิทธิพลมาจากตัวอักษรอินเดียแต่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด และในระยะต่อมาก็คาดว่าจะใช้ตัวอักษรขอมหวัดในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นมาใช้โดยมีชื่อเรียกว่า “ลายสือไทย” ซึ่งในยุคแรกนั้นท่านได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม โดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรนั้นสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น และทรงกำหนดให้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดเดียวกับตัวอักษรแบบเดียวกับอักษรโรมัน และที่สำคัญทรงได้คิดค้นให้มีวรรยุกต์กำกับเสียงด้วยทำให้เป็นเอกลักษณธอันโดดเด่นของภาษาไทยตราบจนถึงทุกวันนี้

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบภาษาครั้งใหญ่นับตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นมา ในยุคสมัยของพระเจ้าฦๅไทย ประมาณปี พ.ศ. 1900 ได้มีการเปลี่ยนเอาสระ อิ อี อึ อื ขึ้นไปอยู่ข้างบนเปรียบเสมือนร่ม และนำเอาสระ อุ อู ลงไปอยู่ด้านล่างเปรียบเสมือนเป็นรองเท้าของพยัญชนะและการเปลี่ยนแปลง ใหญ่อีกครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2223 อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พัฒนารูปแบบตัวอักษรจากเส้นโค้งมาเป็นเส้นเหลี่ยมและเส้นตรงมากขึ้นทำให้สะดวกในการเขียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเขียนตัวหนังสือไทยในสมัยนั้นจะเป็นตัวเอนมีเส้นที่ขนานกันและมีหางที่อ่อนช้อย

การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้อักษรไทยดูแปลกตาไปจากเดิม คือปี พ.ศ. 2371 เป็นยุคที่ เจมส์ โลว์ ได้หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นมาเพื่อพิมพ์ตำราไวยากรณ์ไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งตำรานั้นมีชื่อว่า A GRAMAR OF THE THAI เป็นตัวอักษรไทยที่ดูแปลกตาไปเนื่องจากเป็นการแกะตัวอักษรจากบล็อก และหล่อจากแม่พิมพ์ทองแดง แทนการใช้วัสดุขีดเขียน หรือจารึกแบบสมัยก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2385 ได้มีการปรับปรุงรูปลักษณ์ของตัวอักษรอย่างเด่นชัด ได้มีการออกแบบให้ตัวอักษรมีลักษณ์หัวกลมตัวเหลี่ยมซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนารูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในวงการพิมพ์ทุก

 

บทความ : ณิชกมล เตชะงามสุวรรณ

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ