เสวนา… รำลึกถึง ว. ณ เมืองลุง : งานมหกรรมนักเขียน ครั้งที่ 2 วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗

เสวนา… รำลึกถึง ว. ณ เมืองลุง

พิธีกร : ขอเรียนเชิญท่านผู้ร่วมเสวนาทั้งสามท่านครับ ท่านแรกครับ คุณ น. นพรัตน์ นักแปลนวนิยายกำลังภายใน ท่านที่สอง คุณอาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ท่านที่สาม คุณภคินี บำรุงพงษ์ ลูกสาวคุณ ว ณ เมืองลุง และขอยกหน้าที่นี้ให้กับพิธีกรบนเวทีทั้งสองท่าน ขอเสียงปรบมือให้กับทุกท่านบนเวทีครับ

ผู้ดำเนินรายการชาย : ในวงการนิยายกำลังภายในจีน ชื่อของ ว. ณ เมืองลุง เป็นชื่อที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ท่านได้ฝากผลงานไว้มากมาย วันนี้เราจะให้คุณ น. นพรัตน์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้ใกล้ชิดกับคุณ ว. เล่าถึงคุณ ว.ในสมัยก่อนที่ท่านจะเข้าวงการครับ"

น. นพรัตน์ : "สวัสดีท่านผู้ฟังทุกท่านครับ ผมเกิดไม่ทันพี่ ว. เกิด ก็เลยจะขอเล่าประวัติพี่ ว. ณ เมืองลุง ตามที่ได้เคยอ่านมาคร่าวๆ ครับ พี่ ว. ณ เมืองลุง มีชื่อจริงว่า ชิน บำรุงพงษ์ เมื่อปี พ.ศ. เกิด ๒๔๗๒ แต่พี่ ว. เคยบอกผมว่าจริงๆแล้วเกิด พ.ศ. ๒๔๗๐ พี่ ว. เกิดที่พิษณุโลกและโตที่พิษณุโลก สำหรับส่วนนี้คุณบี (ภคนี บำรุงพงษ์) คงจะเล่าเสริม ผมจะเล่าถึงความผูกพันกับพี่ ว. ให้ฟัง พี่ ว. เล่าให้ฟังว่าเมื่อประมาณปี ๒๕๐๖ แกเป็นเสมียนอยู่ที่พัทลุง ได้เดินทางมากรุงเทพฯ เพราะว่าตรุษจีน ชาวจีนจะให้หยุดตรุษจีนกัน พอมาที่กรุงเทพฯ ก็แวะไปที่สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่หลานหลวง แต่ตอนนี้เลิกกิจการไปแล้ว ไปเข้าพบกับนายห้าง คือคุณ เวช กระตุฤกษ์ บอกว่าจะมาขอแปลนิยายจีน สาเหตุที่พี่ ว. จะมาแปลนิยายจีนก็เพราะว่า ตอนที่พี่ ว. เป็นเสมียนอยู่ที่พัทลุง พี่ ว. เห็นเด็กหนุ่มๆ คนหนึ่งอ่านนิยายอย่างคร่ำเคร่ง พี่ ว. ก็ไปถามดูว่าอ่านเรื่องอะไร เขาก็ชูให้ดูว่าเป็น มังกรหยก ของพี่จำลอง พิศนาคะ ซึ่งพี่ ว. ก็เอา ต้นฉบับมาดูแล้วก็เกิดความคิดว่าเราก็แปลได้นี่นา พอหยุดตรุษจีนมีโอกาสขึ้นมาที่กรุงเทพฯ ก็เลยแวะไปที่สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ แสดงความจำนงกับนายห้างว่าต้องการจะมาแปลนิยายจีน แต่นายห้างเวชบอกว่าที่สำนักพิมพ์มีนักแปลอยู่แล้วคือคุณจำลอง ขณะนั้นคุณชลิต พรหมดำรง ซึ่งเป็นผู้จัดการสำนักพิมพ์เพลินจิตต์มีความรู้สึกว่าพี่ ว. พูดจาดี ฉะฉาน ก็เลยถามว่า ถ้าจะแปลจริงๆ จะทำยังไง พี่ ว. ก็บอกว่า ถ้าจะแปลจริงๆ คงไม่แปลแบบพี่จำลอง พิศนาคะ เพราะว่าพี่จำลอง พิศนาคะนี่แปลตามแบบสำนวนของเจ้าพระยาพระคลังหน แต่ถ้าพี่ ว. จะแปลก็จะแปลแบบสำนวนของยาขอบ คือเป็นแบบบันเทิง คุณชลิตบอกว่า ลองแปลให้ดูสิ พี่ ว. บอกว่างั้นก็เอาหนังสือจีนมาให้แกดู เดี๋ยวจะแปลให้ฟังเลย คุณชลิตก็ไปที่ร้านกาแฟที่อยู่ข้างๆสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ เอาหนังสือพิมพ์จีนที่เป็นรายวันมาให้ดู แล้วก็ถามพี่ ว. ว่าแปลได้มั๊ย พี่ ว. กางหนังสือพิมพ์จีนออกมา ดูภาษาจีนแล้วก็อ่านเป็นภาษาไทยให้ฟัง คุณชลิตหันไปถามเถ้าแก่ร้านกาแฟว่าแปลถูกไหม เถ้าแก่บอกว่าแปลถูกต้อง ก็เลยให้พี่ ว. ทดลองแปล ตอนนั้นพี่ ว. แปลเรื่องแรกให้ทางนายห้างเวช คือ กระบี่ล้างแค้น เป็นเรื่องของ อ้อเล้งเซ็ง นักเขียนชาวไต้หวัน พี่ ว. เคยเล่าให้ฟังในตอนหลังว่า ที่เลือกแปลเรื่องกระบี่ล้างแค้นก็เพราะว่าตอนนั้นคุณจำลองแปลเรื่องของกิมย้งอยู่ ณ. ตอนนั้นได้ดำเนินมาถึงภาคที่สามแล้วคือเรื่อง เตียบ่อกี๋ อะไรนั่น พี่ ว. ก็บอกว่าคุณจำลองแปลของนักเขียนจากฮ่องกง พี่ ว.ก็เลยจะทดลองแปลของนักเขียนไต้หวันดูบ้าง ปรากฏว่าผลการจำหน่ายวันแรกหกพันเล่มหมดในสองสามชั่วโมง ก็ต้องรีบพิมพ์ซ้ำอีกในทันที เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของวงการหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คในสมัยนั้น สมัยนั้นรู้สึกว่าขายกันเล่มละสามบาท ตอนนั้นผมยังเรียนหนังสืออยู่ ผมก็เป็นแฟนพี่ ว. ผมซื้อกระบี่ล้างแค้นเล่มฉบับปี 2506"

ผู้ดำเนินรายการหญิง : อันนี้เป็น original เลยหรือเปล่าคะ

น. นพรัตน์ : ใช่ครับ ฉบับเก่า ฉบับ 2506 เลย พี่ ว. ถือว่าเป็นนักแปลท่านเดียวที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกเลย ไม่เหมือนกับผม ผมนี่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด พี่ ว. นี่พอเรื่องแรกก็ดังเปรี้ยงปร้างเลย เรื่องที่สอง เรื่องที่สามก็ดังอีก คือเรื่อง เทียนฮุ้นจี้ ของ ลิ้วชั้งเฮี้ยง อันนี้ก็ฉบับ ๒๕๐๗ ก็เลยมานิดหน่อย พี่ ว. เคยบ่นให้ฟังเหมือนกันว่า เขียนแล้วมันเมื่อย เพราะว่ากระบี่ล้างแค้นเนื้อเรื่องจะเยอะ ไม่ค่อยย่อหน้า ไม่เหมือนสมัยนี้ พอรู้สึกเขียนแล้วเมื่อยก็เลยปรึกษากัน นายห้างก็เลยแนะว่าทำไมไม่ใช้วิธีอัดเทป วิธีการทำงานของพี่ ว. ก็เลยเปลี่ยนไป โดยนายห้างจะกั้นห้องเล็กๆอยู่ห้องหนึ่ง ประมาณสี่คูณหกเมตร แล้วก็ให้พี่ ว.เอาเทปมาพูดอัดเสียงของตัวลงไป โดยดูภาษาจีนแล้วพูดเป็นภาษาไทยไปเลย แต่พูดนี่จะพูดช้ามาก ไม่ใช่พูดเร็วๆอย่างผม เวลาถอดเทปจะถอดไม่ทัน จะพูดช้าๆว่า "ลี้...คิม...ฮวง...กล่าว...ว่า" ย่อหน้า เปิดเครื่องหมายคำพูด อะไรอย่างนี้นะครับ เทปที่ใช้ทำงานเป็นเทปอย่างนี้ เทปแปดแพคสมัยโน้น ใส่กับเครื่องเทปม้วนใหญ่ๆ เวลาพิมพ์เสร็จมาหนึ่งงวดก็เข้าใจว่าได้หนึ่งเล่มพอดี ก็เอาไปให้กับพนักงานพิมพ์ดีดถอดเทปออกมา พนักงานพิมพ์ดีดของพี่ ว. มีทั้งหมดสองท่านคือพี่อุไรวรรณ ซึ่งตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว แล้วก็พี่อีกคนหนึ่ง ตอนนี้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น นิตยสารบางโพ...เจ๊พิมพา ทำแค่สองท่าน แต่โดยมากพี่อุไรวรรณเป็นคนทำ ในความคิดของผมคือว่า พี่ ว. เป็นบุคคลแรกและคนเดียวของการแปล...ผมว่าอาจจะในวงการแปลทั่วโลกก็ได้ ที่ดูต้นฉบับเดิมแล้วพูดออกมาเป็นภาษาไทยเลย คิดว่าคงเป็นประวัติการณ์ อันนี้เป็นประวัติความเป็นมาของพี่ว.โดย คร่าวๆครับ"

ผู้ดำเนินรายการหญิง : ค่ะ...เมื่อเราทราบประวัติของคุณ ว.แล้ว ที่นี้ก็มาถึงบุตรสาวคือคุณบี จะมาเล่าให้ฟังถึงชีวิตคุณ ว. เวลาอยู่บ้านหรือเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวเป็นยังไงบ้างคะ"

ภคินี : "ชีวิตของคุณพ่อแทบจะเรียกได้ว่าแตกต่างกับภายนอกโดยสิ้นเชิง อย่างภายนอกก็จะมีสุภาษิตว่า น้ำมิตร น้ำใจน้ำมิตรอะไรนี่ แต่พอเข้ามาที่บ้านแล้ว โลกภายนอกจะไม่สามารถเข้ามายุ่งกับครอบครัวเราได้ ป๊าจะเป็นคนที่รักครอบครัวมาก น้อยมากที่จะมีการรับแขกที่บ้าน นอกจากที่เป็นเพื่อนสนิทจริงๆที่จะเชิญมา แล้วเวลาทำงานงานทุกชิ้นต้องใช้สมาธิ แม้กระทั่งลูกสาวก็ไม่สามารถขึ้นไปรบกวน สมัยก่อนไม่ได้ทำงานสบายเหมือนสมัยนี้นะคะ คือที่บ้านสมัยก่อนยังไม่ติดแอร์ มีแต่พัดลม เครื่องอัดเทปก็จะเป็นเครื่องใหญ่ วิธีทำงานก็คือ มือถือไมค์ มีหนังสือวาง แล้วอีกมือหนึ่งก็ต้องคอยกดอัดเพื่อที่จะให้เทปเดิน ยิ่งถ้าทำงานติดพันนี่ มือที่กดมากๆก็จะด้านแล้วก็พอง ก็พูดกับคุณแม่ว่าจะทำยังไงกันดี ตอนนั้นยังเด็ก แล้วป๊าก็มือพอง แม่ก็ไปหาถุงมือที่เป็นกำมะหยี่ แต่ตัดเฉพาะที่เป็นนิ้วโป้งมาให้ใส่เพื่อใช้กด ป๊าจะเป็นคนนอนตื่นสาย เวลาทำงานก็จะเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายจนถึงเย็น เพราะฉะนั้นบ่ายถึงเย็นนี่ แทบจะเรียกได้ว่าแทบไม่ได้พบหน้ากัน แต่พอหลังจากทำงานเสร็จแล้วก็จะมานั่งทานข้าวเย็นด้วยกัน ช่วงปิดเทอมคือเดือนเมษายนป๊าจะพยายามไม่ทำงาน เพื่อที่จะได้มีเวลาให้กันเยอะขึ้น ก็จะเป็นอย่างงั้นมากกว่า แล้วก็น้อยมากที่เราจะออกงานกันเป็นครอบครัว เพราะว่าเพื่อนๆของป๊าจะเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็เป็นทั้งเจ้าของสำนักพิมพ์หรือว่านักเขียนมีชื่อ ซึ่งการเข้าตรงนั้นก็ค่อนข้างลำบากกับทางครอบครัว พอดีว่าทั้งคุณแม่แล้วก็ตัวเองก็ไม่ค่อยชอบออกงาน แต่ก็มีบ้างค่ะที่เราจะออกงานด้วยกันถ้าสำคัญจริงๆ"

ผู้ดำเนินรายการชาย : เรียกได้ว่าถึงท่านจะงานยุ่งขนาดไหน แต่ก็ยังแบ่งเวลาให้กับครอบครัว

ภคินี : ใช่ค่ะ คือไม่ว่าจะวันจันทร์ถึงเสาร์จะออกไปสังสรรค์กับเพื่อนข้างนอกยังไง แต่วันอาทิตย์นี่ก็จะออกไปทานข้าวข้างนอกกับครอบครัว แล้วเย็นก็จะไปซื้อของทุกอาทิตย์

ผู้ดำเนินรายการชาย : อยากเรียนถามคุณอาทรว่าบรรยากาศในการพิมพ์สมัยก่อน แตกต่างจากสมัยนี้ยังไงบ้างครับ

คุณอาทร : ผมเจอลุง ว. มาตั้งแต่ผมยังอายุไม่ถึงสิบขวบ ปีนี้ผมอายุสี่สิบเจ็ด ครั้งแรกที่เจอแก แกจะถือเทปเข้ามาที่สำนักพิมพ์ เพื่อมาส่งให้คนพิมพ์ดีด ที่ชื่อพี่อุไรวรรณนี่แหละ แกก็จะมาพิมพ์ที่หัวนอนผม เพราะว่าจะมีกำแพงกั้น ผมสามคนพี่น้องก็จะนอนเรียงกันอยู่ในนั้น ก็จะได้ฟังเสียงต้นฉบับกำลังภายในก่อนชาวบ้าน เพราะว่าจะมีการบอกเทป และพิมพ์ดีด และรีวิวเทปซ้ำๆ งั้นต้นฉบับหลายเล่มผมจะออสโมซิสเข้าไปเลย คือว่าไหลเข้าไปอยู่ในความทรงจำก่อนที่จะอ่าน บรรยากาศการพิมพ์สมัยก่อน พอเป็นเทปแล้วนะครับ ก็จะมีลุง ว. ผมเรียกว่าลุง ว. เพราะว่าแก่กว่าคุณพ่อ แกสนิทกับคุณพ่อ ผมเป็นรุ่นหลานนะฮะ ก็จะมีการแก้ต้นฉบับแล้วนำไปทำเป็นระบบตัวเรียง เมื่อก่อนหนังสือพวกนี้ออกเป็นรายวัน เป็นพ็อคเก็ตบุ๊ครายวัน ออกทุกวันเหมือนกับหนังสือพิมพ์รายวันเลย แล้วการจำหน่ายนี่ไม่มีการฝากขายนะครับ อย่างทุกวันนี้สำนักพิมพ์พิมพ์ออกมาก็นำไปฝากขายตามร้านหนังสือ ถ้าเหลือแล้วก็คืน แต่หนังสือกำลังภายในที่ลุง ว. แปลแล้วให้ทางเราพิมพ์นี่เราขายขาดนะครับ จะปั๊มคำว่าขายขาดไว้ข้างหลังเลย ไม่รับคืน ทำไมถึงทำได้ที่ว่าปั๊มขายขาดไม่รับคืน ก็เพราะว่ามันขายดีมาก คือหมายความว่าเอเยนต์อย่างเอเยนต์ใหญ่ๆในวงการทุกวันนี้ อย่างเพ็ญบุญอย่างคุณมิ้งน่ะ อภิชาติน่ะ ที่เป็นจัดจำหน่ายใหญ่ทุกวันนี้ ก็ต้องมาเข้าคิวรับเบอร์ รับเบอร์หนึ่งเบอร์สองเบอร์สามเบอร์สี่ เข้าแถวกัน มาออหน้าร้านคูหาเล็กๆในเวิ้งนาครเกษมเต็มไปหมด เพื่อว่าจะมาขอแย่งหนังสือไปขายก่อน แล้วไม่รับคืนด้วย ออกเป็นรายวัน จากนั้นพอหนังสือขายไปแล้วมีส่วนเหลือเกิน เราก็จะมามัดเป็นชุดขาย จากเล่มละสามบาทห้าบาทก็จะเหลือเล่มละบาท และขายเป็นยกชุด บางทีมาทำเป็นปกแข็งแบบนี้ ปกแข็งนี่เล่มละสามสิบห้าบาท สมัยก่อนก็จะมีสนามหลวง จะมีร้านหนังสือสนามหลวง เราจำได้เราเรียกว่าอาแปะบี้ แกเป็นคนขี้เหนียวมากเลย แกมาซื้อเป็นยกชุดเอาไปขายสนามหลวง แบบขึ้นสามล้อทีท่วมสามล้อเลยน่ะ ความจริงควรจะใช้สามล้อซักสองคัน แกก็ใช้คันเดียวเพราะความแกเป็นคนขี้เหนียว จนมาถึงรูปแบบปัจจุบัน เป็นกระดาษปอนด์ ชุดละตั้งห้าร้อยกว่าบาท (ยกหนังสือชุด วังบาดาล ฉบับที่พิมพ์ใหม่ให้ผู้ฟังได้ชม) เมื่อก่อนขายกันแบบสามสิบห้าบาทก็มีลดห้าสิบเปอร์เซ็นต์ เหมือนกันนะ สิ่งที่จะบอกก็คือว่าบรรยากาศการพิมพ์จำหน่ายหนังสือสมัยนั้นมันประหลาดมากเลย มันขายดีมาก อาจเป็นเพราะว่าไม่มีสื่ออย่างอื่นเข้ามาแล้วโทรทัศน์ก็ยังมีแค่ไม่กี่ช่อง คนส่วนมากก็จะอ่านหนังสือ แล้วหนังสือที่ชุดใหญ่ๆ... วังบาดาล ที่ยังชุดเล็กนะครับ ถ้าใครเห็น เซียวฮื้อยี้, กระบี่จอมภพ ชุดยาวๆนี่เรียกกันว่าอ่านกันยันสว่างคาตาเลย สนุกมากจนวางไม่ลง ผมกล้าพูดได้ว่า กำลังภายในที่ลุง ว. แปลมาหรือแม้แต่ที่พี่ น.นพรัตน์แปลมานี่ เป็นการสร้างตลาดผู้อ่านอย่างค่อนข้างสำคัญมาก กล้าพูดได้ว่าที่ทุกวันนี้เห่อกันอย่าง แฮรี่พอตเตอร์ ใช่มั๊ยฮะ นี่มาก่อน แฮรี่พอตเตอร์ อีก เมื่อกี้ผมยังคุยกับลูกสาวเขาในห้องก่อนที่จะมาพูด ว่าถ้าใครสามารถจัดสถิติของฤทธิ์มีดสั้นได้จริงๆนะ ผมว่าสำนักพิมพ์ที่แย่งกันไปแย่งกันมา คือ ลุง ว. บางทีแกขายต้นฉบับให้หลายสำนักพิมพ์ ผมว่าร่วมๆห้าแสน ก๊อปปี้นะ ไม่แพ้แฮรี่พอตเตอร์ ผมว่ายิ่งใหญ่กว่าแฮรี่พอตเตอร์อีก แล้วสร้างนักอ่าน ซึ่งเป็นนักอ่านที่ค่อนข้างสำคัญ อย่างคุณซูม-สมชาย เป็นคอลัมน์นิสต์สำคัญของไทยรัฐ ถ้าใครได้อ่านเขาจะบอกว่า ไม่เคยคิดเลยว่าจะอ่านหนังสือเล่มยาวใหญ่ขนาดนี้จบ แล้วงอมแงมเป็นแฟนกำลังภายในไปตลอด

น.นพรัตน์ : แกไปเช่า เช่าอ่านที่บุศยพันธ์ แล้วหิ้วกลับมาอ่านที่บ้าน คุณอาทรลองเล่าเลยครับว่าเป็นยังไง

อาทร : ก็เลยกลายมาเป็นแฟนพันธุ์แท้ของกำลังภายในมาจนถึงทุกวันนี้ และบอกให้ว่า นักคิดนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ เอ่ยชื่อได้แต่ละคนนี่นะเป็นแฟนพันธุ์แท้กำลังภายตัวยง อย่างคุณเสถียร จันทิมาธร มติชนสุดสัปดาห์ หรือแม้แต่ปัญญาชนหัวก้าวหน้าอย่าง ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็เป็นนักอ่านกำลังภายในตัวยง แล้วสำนวนแปลสำนวนเขียนนี่เดี๋ยวผมจะพูดถึงต่อไปในช่วงสถานภาพของนักแปลนะครับ จะให้พูดทีหลังหรือให้พูดไปเลยครับ

ผู้ดำเนินรายการชาย : ต่อได้เลยครับ

อาทร : คือจริงๆแล้ว ผมกล้าพูดได้ว่า นักแปลจริงๆก็คือล่าม ทีนี้นักแปลงานวรรณกรรมนี่สถานะเขาพิเศษ คือไม่ใช่ล่ามธรรมดา เขาเป็นทูตทางภาษาและวัฒนธรรม เพราะภาษามันจะนำมาซึ่งวัฒนธรรมถูกมั๊ยครับ ไม่ว่าลุง ว. หรือ คุณ น.นพรัตน์ หรือนักแปลท่านอื่นๆ กล้าพูดได้เลยว่าหนังสือกำลังภายในเป็นที่รู้จักหรือโก้วเล้ง กิมย้งเป็นที่รู้จักกันดี ถ้าไม่มีนักแปลเมืองไทยผมถามหน่อย ใครจะรู้จักโก้วเล้ง ใครจะรู้จักกิมย้ง ใครจะรู้จักมังกรหยก นักแปลได้พาความสนุกสนานเหล่านี้มาสู่บรรณพิภพเมืองไทย แล้วสถานะนักแปลเมื่อก่อนนี่เขาไม่แพ้นักเขียน คือโดยศักดิ์ศรีนี่ อย่างลุง ว. นี่ถือว่าแกเป็นมังกรได้เลย แกแปลเรื่อง มังกรหยก แกบอกว่า ถ้าแปลไม่ดีไม่ต้องจ่ายตังค์ ไปอ่านดูได้สำนวนการแปลนี่กล้าพูดได้ว่ามันไม่ใช่การแปลเอกสาร คือมันต้องประดิษฐ์ภาษาสำนวนขึ้นมา สำนวนของลุง ว. ทุกวันนี้นะครับ ก็ยังอยู่ในภาษาหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ ไม่ว่า 'คลื่นลูกหลังไล่คลื่นลูกแรก' 'เหนือฟ้ายังมีฟ้า' 'ไม่เห็นโลงศพมิหลั่งน้ำตา' 'ศึกสายเลือด' เหล่านี้เป็น creative บทบาทนักแปลนี่มีผลในการสร้างตลาด สร้างคนอ่าน มาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน พอ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ออกมา ซึ่งพูดง่ายๆว่าเราไปเปิดการค้าเสรี นักแปลก็เลยสถานะเป็นรองนักเขียน ซึ่งอันที่จริงผมก็เข้าใจว่าโลกมันเป็นอย่างนี้ แต่ในฐานะที่ผมทำวิชาชีพสำนักพิมพ์ ผมไม่เคยซื้อสำนวนแปลขาดมาก่อน คือหมายถึงว่าถ้าผมถือลิขสิทธิ์สำนวนแปลนั้น หมายถึงว่าผมได้ลิขสิทธิ์ของเมืองนอกมา ก็พิมพ์ใหม่จ่ายใหม่ทุกครั้ง เพราะเราถือว่าเป็นงาน creative เหมือนกัน ถูกมั๊ยฮะ คราวนี้พอสำนักพิมพ์รุ่นใหม่ผมก็ไม่รู้เขาคิดยังไงเหมือนกัน พอเขาถือลิขสิทธ์จากต่างประเทศมา เขาก็จะไปบีบผู้แปล บอกว่าถ้าไม่ขายเขาคุณพิมพ์ไม่ได้นะ เพราะว่าถ้าคุณพิมพ์ก็เท่ากับว่าคุณละเมิดลิขสิทธิ์ กลายเป็นว่าคนแปลก็ต้องขายสำนวนแปลแบบขายขาดออกไป ซึ่งผมเคยเจอนักแปลบางคนที่ขายสำนักพิมพ์บางสำนักพิมพ์แถวสุขุมวิท ...ชุดเฮอมานด์ เฮสเส น่ะ ตอนแรกเขาเดือดร้อน มีปัญหาลิขสิทธิ์ของเฮอมานด์ เฮสเส มากนัก ก็ขายขาดไปแล้วกัน ยามนั้นเขาเดือดร้อน ถูกมั๊ยครับ แต่พอขายขาดออกไปเชื่อมั๊ยครับ ว่เฮอมานด์ เฮสเส พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งเขาเคยมีรายได้จาก สิทธารถ ะค่อนข้างมาก รายได้จาก นาร์ซิสซัสกับโกลมุนอะไรอย่างนี้ กลายเป็นว่าสำนวนแปลถูกล็อคไว้ที่หนึ่งสำนักพิมพ์ แล้วจริงๆก็อยากเห็นผลงานเขาเผยแพร่ออกมาถึงจะไม่ได้จ่ายซ้ำก็ไม่เป็นไร แต่ก็เคลียร์กันยากเหลือเกิน ก็คือว่า เจ้าของลิขสิทธิ์บอกว่า ถ้าคุณไม่ยอมขายเรา หนังสือคุณก็ออกมาไม่ได้ แต่อย่าลืมว่าตลาดตรงนั้นไม่ว่าจะเป็น เฮอมานด์ เฮสเส, กิมย้ง, โก้วเล้ง ผมอยากพูดตรงนี้ในฐานะที่ให้เกียรติคุณ น.นพรัตน์ด้วย ในฐานะนักแปลรุ่นต่อไปหลังจากลุง ว. แล้ว ผมอยากเห็นคนทำงานแปลแล้วสร้างสรรค์สำนวนแปล ซึ่งสร้างความสนุกสนานและสร้างสรรค์ภาษาใหม่ๆขึ้นมา แล้วก็สร้างความเข้าใจต่างวัฒนธรรม นี่คือฐานะของนักแปลที่จริงๆเป็นทูตทางวัฒนธรรม ผมอยากขอว่า ถ้าเกิดเป็นไปได้อยากให้เพื่อนสำนักพิมพ์ด้วยกันให้เกียรตินักแปลมากกว่านี้ นะครับ

ผู้ดำเนินรายการชาย : ต่อได้เลยครับ

อาทร : คือจริงๆแล้ว ผมกล้าพูดได้ว่า นักแปลจริงๆก็คือล่าม ทีนี้นักแปลงานวรรณกรรมนี่สถานะเขาพิเศษ คือไม่ใช่ล่ามธรรมดา เขาเป็นทูตทางภาษาและวัฒนธรรม เพราะภาษามันจะนำมาซึ่งวัฒนธรรมถูกมั๊ยครับ ไม่ว่าลุง ว. หรือ คุณ น.นพรัตน์ หรือนักแปลท่านอื่นๆ กล้าพูดได้เลยว่าหนังสือกำลังภายในเป็นที่รู้จักหรือโก้วเล้ง กิมย้งเป็นที่รู้จักกันดี ถ้าไม่มีนักแปลเมืองไทยผมถามหน่อย ใครจะรู้จักโก้วเล้ง ใครจะรู้จักกิมย้ง ใครจะรู้จักมังกรหยก นักแปลได้พาความสนุกสนานเหล่านี้มาสู่บรรณพิภพเมืองไทย แล้วสถานะนักแปลเมื่อก่อนนี่เขาไม่แพ้นักเขียน คือโดยศักดิ์ศรีนี่ อย่างลุง ว. นี่ถือว่าแกเป็นมังกรได้เลย แกแปลเรื่อง มังกรหยก แกบอกว่า ถ้าแปลไม่ดีไม่ต้องจ่ายตังค์ ไปอ่านดูได้สำนวนการแปลนี่กล้าพูดได้ว่ามันไม่ใช่การแปลเอกสาร คือมันต้องประดิษฐ์ภาษาสำนวนขึ้นมา สำนวนของลุง ว. ทุกวันนี้นะครับ ก็ยังอยู่ในภาษาหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ ไม่ว่า 'คลื่นลูกหลังไล่คลื่นลูกแรก' 'เหนือฟ้ายังมีฟ้า' 'ไม่เห็นโลงศพมิหลั่งน้ำตา' 'ศึกสายเลือด' เหล่านี้เป็น creative บทบาทนักแปลนี่มีผลในการสร้างตลาด สร้างคนอ่าน มาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน พอ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ออกมา ซึ่งพูดง่ายๆว่าเราไปเปิดการค้าเสรี นักแปลก็เลยสถานะเป็นรองนักเขียน ซึ่งอันที่จริงผมก็เข้าใจว่าโลกมันเป็นอย่างนี้ แต่ในฐานะที่ผมทำวิชาชีพสำนักพิมพ์ ผมไม่เคยซื้อสำนวนแปลขาดมาก่อน คือหมายถึงว่าถ้าผมถือลิขสิทธิ์สำนวนแปลนั้น หมายถึงว่าผมได้ลิขสิทธิ์ของเมืองนอกมา ก็พิมพ์ใหม่จ่ายใหม่ทุกครั้ง เพราะเราถือว่าเป็นงาน creative เหมือนกัน ถูกมั๊ยฮะ คราวนี้พอสำนักพิมพ์รุ่นใหม่ผมก็ไม่รู้เขาคิดยังไงเหมือนกัน พอเขาถือลิขสิทธ์จากต่างประเทศมา เขาก็จะไปบีบผู้แปล บอกว่าถ้าไม่ขายเขาคุณพิมพ์ไม่ได้นะ เพราะว่าถ้าคุณพิมพ์ก็เท่ากับว่าคุณละเมิดลิขสิทธิ์ กลายเป็นว่าคนแปลก็ต้องขายสำนวนแปลแบบขายขาดออกไป ซึ่งผมเคยเจอนักแปลบางคนที่ขายสำนักพิมพ์บางสำนักพิมพ์แถวสุขุมวิท ...ชุดเฮอมานด์ เฮสเส น่ะ ตอนแรกเขาเดือดร้อน มีปัญหาลิขสิทธิ์ของเฮอมานด์ เฮสเส มากนัก ก็ขายขาดไปแล้วกัน ยามนั้นเขาเดือดร้อน ถูกมั๊ยครับ แต่พอขายขาดออกไปเชื่อมั๊ยครับ ว่เฮอมานด์ เฮสเส พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งเขาเคยมีรายได้จาก สิทธารถ ะค่อนข้างมาก รายได้จาก นาร์ซิสซัสกับโกลมุนอะไรอย่างนี้ กลายเป็นว่าสำนวนแปลถูกล็อคไว้ที่หนึ่งสำนักพิมพ์ แล้วจริงๆก็อยากเห็นผลงานเขาเผยแพร่ออกมาถึงจะไม่ได้จ่ายซ้ำก็ไม่เป็นไร แต่ก็เคลียร์กันยากเหลือเกิน ก็คือว่า เจ้าของลิขสิทธิ์บอกว่า ถ้าคุณไม่ยอมขายเรา หนังสือคุณก็ออกมาไม่ได้ แต่อย่าลืมว่าตลาดตรงนั้นไม่ว่าจะเป็น เฮอมานด์ เฮสเส, กิมย้ง, โก้วเล้ง ผมอยากพูดตรงนี้ในฐานะที่ให้เกียรติคุณ น.นพรัตน์ด้วย ในฐานะนักแปลรุ่นต่อไปหลังจากลุง ว. แล้ว ผมอยากเห็นคนทำงานแปลแล้วสร้างสรรค์สำนวนแปล ซึ่งสร้างความสนุกสนานและสร้างสรรค์ภาษาใหม่ๆขึ้นมา แล้วก็สร้างความเข้าใจต่างวัฒนธรรม นี่คือฐานะของนักแปลที่จริงๆเป็นทูตทางวัฒนธรรม ผมอยากขอว่า ถ้าเกิดเป็นไปได้อยากให้เพื่อนสำนักพิมพ์ด้วยกันให้เกียรตินักแปลมากกว่านี้ นะครับ

น.นพรัตน์ : ต้องขอบคุณคุณอาทรที่เป็นห่วงเพื่อนนักแปลเราด้วยกัน แต่ผมขอพูดในที่นี้เลยว่า ของผมแปลหนึ่งครั้งก็ได้หนึ่งครั้ง ไม่ได้ขายขาด ก็ต้องขอบคุณสำนักพิมพ์เจ้านายของเราเหมือนกันคือสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมมิคที่ไม่ได้กดขี่เรา คือไม่ได้ซื้อขาดไปทีเดียวแล้วก็ไม่จ่าย ถ้ามีพิมพ์ซ้ำเขาก็มีจ่ายครับ

ผู้ดำเนินรายการชาย : ขอถามคุณ น. สักนิดนะครับว่า สามารถพูดได้หรือไม่ว่าในสมัยก่อนนิยายกำลังภายในของคุณ ว. ช่วยให้ผู้คนทั่วไปรักการอ่านมากขึ้น และสร้างบุคลากรในวงการนักเขียนทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอิทธิพลมาจากการแปลของคุณ ว."

น.นพรัตน์ : คิดว่ามิอิทธิพลอยู่คนเดียวก็คือผมนี่แหละ ที่เห็นชัดๆนะครับ เพราะว่าตอนพี่ ว. แปลเรื่องกระบี่ล้างแค้น ปี ๒๕๐๖ ผมยังเรียนหนังสืออยู่ ผมจำได้ว่าสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ออก กระบี่ล้างแค้น ทุกวันจันทร์กับวันพฤหัส พอผมเลิกเรียนลงมาผมก็กำเงินสามบาทไปที่ร้านหนังสือซื้อ กระบี่ล้างแค้น กลับมา แล้วก็เอามาให้พี่ชายอ่าน คือพี่ชายผมจะอ่านก่อนเสร็จแล้วผมจะอ่านทีหลัง ก็เลยซึมซับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นพอปี ๒๕๐๘ ผมเริ่มแปลหนังสือแล้วเริ่มใช้นามปากกา น.นพรัตน์ ตอน ๒๕๐๙ ก็คือยังได้อิทธิพลทางสำนวนจากพี่ ว. อยู่ ก็ยอมรับว่า มันอยู่ในสายเลือดของเรา สำนวนต่างๆที่พี่ ว.แปลมาบางครั้งก็อาจจะหยิบยืมมาใช้โดยไม่รู้ตัว ก็มีอยู่ครั้งหนึ่ง ไปเจอพี่ ว.ครั้งแรกในปี ๒๕๐๙ ที่เพลินจิตต์ พี่ ว.ก็บอกว่า มีคนมาบอกเขาว่า มีนักเขียนคนหนึ่งสำนวนเหมือนเขา แล้วคนๆนั้นก็ถามต่อว่า พี่ ว.ไปปลอมนามปากกาไปเขียนหรือเปล่า พี่ว.ก็ตอบว่าเปล่า ก็บอกว่าคนๆนั้นชื่อ อ.ภิรมย์ เขาถามผมว่าเป็นผมใช่มั๊ย ผมบอกใช่ คงเป็นที่ผมได้รับอิทธิพลตรงนี้ก็เลยทำให้สำนวนออกมาคล้ายกัน คนอ่านเลยไปถามว่าพี่ ว.ไปปลอมสำนวนหรือเปล่า ซึ่งความจริงแล้วพี่ ว.ไม่ต้องไปปลอมหรอก เพราะตอนที่ผมแปลในปี ๒๕๐๙ ทราบมาว่าพี่ ว.ได้ค่าต้นฉบับจากเพลินจิตต์และประพันธ์สาส์นอยู่หน้าละ ๔๐ บาท กระดาษฟูลสแก๊ป ส่วน อ.ภิรมย์หรือ น.นพรัตน์ได้แค่หน้าละ ๑๐ บาท ก็มีแทบทุกวงการเลยนะครับ อย่างที่คุณอาทรได้บอกว่ามันมีอิทธิพลทางด้านความคิดและอิทธิพลทางด้านสำนวน มีคนบอกว่าสำนวนกำลังภายในเป็นภาษาวิบัติ แต่ว่าผมเคยเจอพี่เสถียร จันทิมาธร พี่เสถียรบอกว่าภาษาของเราที่สร้างขึ้นมามันก็ต้องสร้างขึ้นมาตลอดเวลา อย่าไปสนใจว่าภาษาของเราวิบัติหรืออะไร ขอให้มันไพเราะแล้วมีคนอ่านก็พอ ก็เหมือนกับที่โก้วเล้งเขาพูดว่านิยายกำลังภายในมันดำรงคงอยู่เป็นเวลานาน มันก็ต้องมีคุณค่าของมันตามสมควร ผมคิดว่าถ้าเราตัดเรื่องเกี่ยวกับการไล่ล่าล้างแค้นต่างๆ สิ่งที่อยู่ในกำลังภายในก็เป็นพวกคุณธรรมน้ำมิตรและความสมถะความใฝ่สันโดษ ซึ่งมันก็มีอิทธิพลต่อคนหลายคนรวมทั้งผมด้วย คือก่อนหน้านี้ผมก็เป็นคนที่ขี้อายและไม่กล้าออกสังคม และก็เป็นคนสมถะ ที่ว่าสมถะนี่คือจนบัดนี้ผมก็ยังไม่มีรถส่วนตัวครับ ผมนั่งรถแท็กซี่ตลอด"

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ