หลักการและเหตุผล
ภาษาไทยมีความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ การใช้ภาษาจึงเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญไม่ว่าจะเป็นการอ่าน คิดวิเคราะห์ การเขียน การพูด และการดู รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษาเพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพและใช้อย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณ มีคุณธรรม และมีนิสัยรักการอ่าน ถ้านักเรียนมีความรู้ความสามารถในกลุ่มนี้อย่างเหมาะสมกับระดับชั้นแล้ว จะทำให้การเรียนการสอนในกลุ่มประสบการณ์อื่นจะดำเนินได้ด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
ในฐานะองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานและสร้างสรรค์ภาษาไทย จึงร่วมกันจัดโครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีที่ 6 ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนได้เพิ่มพูนประสบการณ์การอ่านหนังสือควบคู่ไปกับพัฒนาทักษะการคิดการเขียนเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์
การอ่านหนังสือทั้งประเภทสารคดีและบันเทิงคดีจะช่วยสร้างเสริมความรู้ของเยาวชนให้ลึกซึ้ง รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล และก่อให้เกิดปัญญาที่กล้าแกร่ง นอกจากนี้ ขณะที่อ่านหนังสือนั้นเยาวชนจะได้เรียนรู้แบบอย่างของภาษาไทยอันรุ่มรวยละเมียดละไม ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติที่ควรค่าแก่การศึกษาเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด และพัฒนาให้สง่างามยั่งยืนสืบไป
โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ปีที่ 6 ยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เยาวชนได้บูรณาการทักษะการอ่าน การคิด และการเขียน โดยผ่านการใช้ภาษาไทยอย่างสละสลวยด้วยความภาคภูมิใจในภาษาประจำชาติ เพื่อให้เอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรมทางภาษาไทยได้ยืนหยัดอย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมทั้งปวง
** จากสถานการณ์ในปัจจุบันจึงทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการอบรมงานวิจารณ์วรรณกรรม ในรูปแบบใหม่เป็นออนไลน์ เพื่อการเข้าถึงเยาวชนในทุก ๆ พื้นที่ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงวัตถุประสงค์ของธนาคารกรุงเทพที่มุ่งเน้นสนับสนุนให้เยาวชนมีความรู้และสร้างสรรค์งานวรรณกรรม พร้อมทั้งให้เยาวชนปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
ผู้สนับสนุนโครงการฯ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
กติกาในการเข้าร่วมโครงการฯ
- รางวัลการประกวดหนังสือดีเด่นแห่งชาติของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระหว่างปี 2545 - 2562
- รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)
- รางวัลพานแว่นฟ้า
- รางวัลชมนาด
รายละเอียด
1. ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเว็บไซต์ http://praphansarn.com/scholarships
2. ส่งบทวิจารณ์พร้อมระบุชื่อผู้วิจารณ์ให้เรียบร้อย
วิธีการส่ง
2.1 ส่งบทวิจารณ์ทางไปรษณีย์พร้อมทั้งถ่ายเอกสารหนังสือที่ใช้เขียนงานวิจารณ์มาด้วยทั้งเล่ม
แนบมายังที่
บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด เลขที่ 222 ถนนพุทธมณฑล สาย 2 (บุษราคัมเทอเรส สาย 2) แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
กำหนดลงทะเบียนและส่งเอกสารทั้งหมด
ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2563 โดยพิจารณาจากการลงทะเบียนและส่งเอกสาร ภายในเวลา 24.00 น. ของ
วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 และโดยพิจารณาจากการลงตราประทับส่งไปรษณีย์ภายในวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดการ
- ประชาสัมพันธ์ / ประกาศรับสมัคร / ปิดรับบทวิจารณ์ : 1 พ.ค. – 31 ก.ค. 63
- คณะกรรมการตัดสิน พิจารณาตัดสินบทวิจารณ์ 40 บท : 1 – 31 ส.ค. 63
- ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก 40 คน ทางเว็บไซต์ www.praphansarn.com : ก.ย. 63
และผู้ประสานงานโครงการฯ ติดต่อกับผู้ได้รับทุนรางวัลเพื่อเตรียมเข้าค่ายฯ
- เข้าค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” : 9 – 10 ต.ค. 63
ทุนรางวัล
เงื่อนไขในการรับทุนรางวัล
หมายเหตุ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ