โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ปีที่ 2 : มุ่งสร้างนิสัยรักการอ่านของเยาวชนไทยให้มีรากฐานที่แข็งแรง

โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ปีที่ 2

  
     เก็บเกี่ยวความรู้กันถ้วนหน้าในการเข้าค่าย“วิจารณ์วรรณกรรม” ครั้งที่ 2 ตลอด 3 วัน 2 คืน กับ โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์”ปีที่ 2 ที่อาศรมวงศ์สนิท จ.นครนายก ที่ผ่านมานี้ หวังให้ความรู้ แนวทาง หลักคิดในการจับประเด็นการวิจารณ์ แก่น้องๆ ผู้ผ่านเข้ารอบ โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด และผลิตภัณฑ์แอร์โรว์ ที่ให้โอกาสและส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านของน้องๆ เยาวชนไทยให้มีรากฐานที่แข็งแรง

 

โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ปีที่ 2


     อาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการฯ กล่าวว่า ได้จัด   การจัดค่ายฯ ในครั้งที่ 2 นี้ ได้คัดเลือกน้องที่มีคุณภาพมากขึ้นจากผู้เข้าสมัครจำนวนมาก ประโยชน์ของการเข้าค่ายในครั้งนี้คือ น้องๆ ได้ร่วมกิจกรรมเสริมความรู้เรื่องงานวิจารณ์ และได้ฝึกปฏิบัติจริง โดยมีทฤษฎีวรรณกรรมต่างๆ เสริมเข้ามาด้วย ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อตัวเยาวชนเองและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายินดีที่การจัดค่ายฯ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีศักยภาพมากขึ้น



โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ปีที่ 2


      “การวิจารณ์นั้นแตกต่างจากการเขียนเพื่อนำเสนอเนื้อหาทั่วไป ปัจจุบันนี้มักจะพูดเรื่องการเขียนและการวิจารณ์สลับกันไปมา ซึ่งในค่ายวิจารณ์วรรณกรรมได้เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญศาสตร์และศิลป์ที่หลากหลาย นำโดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (ศิลปินแห่งชาติ 2536 สาขาวรรณศิลป์) มามอบความประทับใจสุนทรียรสบทกวี ให้เกียรติมาเป่าขลุ่ย และขับบทกวี, นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ ทำกิจกรรมอุ่นเครื่อง และ ชมัยภร (บางคมบาง) แสงกระจ่าง, วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง, จรูญพร ปรปักษ์ประลัย มาให้ความรู้ในหัวข้อพลังมหัศจรรย์ของการอ่าน และเรื่องหลักการวิจารณ์และการเขียนบทวิจารณ์ให้มีสีสัน ในกิจกรรมเข้าค่ายฯ นี้มีการฝึกอบรมติวเข้มโดยจะให้น้องๆ ฝึกปฏิบัติเขียนบทวิจารณ์ด้วยตัวเอง โดยแบ่งกลุ่มเขียนบทวิจารณ์งานประเภทสารคดี, นิยาย, เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ โดยมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อแนะนำอย่างใกล้ชิดพร้อมตรวจบทวิจารณ์ในค่ายฯ ซึ่งความรู้จากค่ายวิจารณ์วรรณกรรมแห่งนี้ น้องๆ ที่มาเข้าร่วมจะสามารถนำความรู้หลักการวิจารณ์ นำไปต่อยอดได้ในงานต่างๆ ได้ เมื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในสังคม ก็สามารถจับประเด็นในการวิจารณ์ไปใช้ในสายงานวิชาชีพที่ตัวเองเลือก อีกทั้งพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำในด้านต่างๆ ต่อไปได้” อาทร อธิบาย

 

โครงการ “อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์” ปีที่ 2



      ด้าน ชมัยภร แสงกระจ่าง กล่าวถึงบทบาทของนักวิจารณ์วรรณกรรมไว้ว่า นักวิจารณ์วรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวงการวรรณกรรม วงการวรรณกรรมจะมีนักเขียน นักอ่านและต้องมีนักวิจารณ์ด้วย เพราะนักวิจารณ์คือ ผู้ประสานระหว่างนักอ่านกับนักเขียน ซึ่งถ้ามีแต่นักอ่านกับนักเขียนบางทีเขาสื่อสารกันไม่ได้ สื่อสารกันไม่เข้าใจหรือไปไม่ถึงกัน นักวิจารณ์คือผู้ประสานผู้ที่อยู่ตรงกลาง ผู้ที่ทำให้นักอ่านเข้าใจนักเขียนมากขึ้น เป็นผู้ที่ทำให้นักเขียนรู้จักนักอ่านมากขึ้น รู้ว่านักอ่านที่มีคุณภาพอยู่ตรงไหน รู้ว่านักอ่านเขาต้องการอะไร เพราะฉะนั้นนักวิจารณ์วรรณกรรมจึงสำคัญมาก ถ้าวงการไหนหรือบ้านเมืองไหนก็ตามที่ไม่มีนักวิจารณ์เท่ากับไม่มีการสะท้อนเรื่องของการสร้างสรรค์งานศิลปะออกมาเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นต้องมีนักวิจารณ์ด้วย  

    ขอเอาใจช่วยในการสร้างสรรค์เยาวชนไทยรุ่นใหม่ สู่นักวิจารณ์ไฟแรง นำไปสู่การสร้างทรัพยากรทางปัญญาที่หลากหลายและมีคุณภาพต่อไป

Writer

Ampaporn Borworn