วรรณกรรมของไทยในปัจจุบันมีหลากรูปแบบและหลายประเภท งานวรรณกรรมที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงและงานเขียนสารคดีนับเป็นวรรณกรรมอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้อ่านให้ความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สารคดีที่ประพันธ์จากชีวิตจริงที่สร้างสรรค์จากมุมมองของผู้หญิงและผู้ชายย่อมมีความแตกต่างกันมากกว่าความละม้ายคล้ายคลึง เนื่องจากผู้หญิงจะเก็บรายละเอียดได้ดีกว่าตามธรรมชาติของเพศแม่ แม้ว่าหลายเรื่องในชีวิตมักจะมีความเห็นคล้อยตามนักประพันธ์ชายก็ตาม อย่างไรก็ดี โลกทัศน์จากภาพรวมของผู้หญิงจะมีรายละเอียดมากกว่า ดังนั้น วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสะท้อนมุมมองของผู้หญิงในลักษณะดังกล่าว จึงเปรียบเสมือนการพยายามทำความเข้าใจในตัวตนของผู้หญิงในอีกมิติหนึ่ง โครงการรางวัลชมนาด (Chommanard Book Prize) จึงเกิดขึ้น และดำเนินการสำเร็จต่อเนื่องมาถึงครั้งที่ 6 แล้วด้วยกัน
รางวัลชมนาดครั้งที่ 1
รอยวสันต์ ผลงานของ ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง
ชี้ถึงเรื่องของผู้หญิงทำงานที่อยู่เบื้องหลังความสุขสบายของบ้านใหญ่
รางวัลชมนาดครั้งที่ 2
ฉันคือเอรี่ กับประสบการณ์ข้ามแดน ผลงานของ ธนัดดา สว่างเดือน
อันตรายและความเจ็บปวดของหญิงขายบริการ
รางวัลชมนาดครั้งที่ 3
พฤกษามาตา ผลงานของ พญ.ชัญวลี ศรีสุโข
เรื่องราวสารพัดปัญหาของผู้หญิงที่ขึ้นชื่อว่าแม่ ผ่านประสบการณ์สูตินรีแพทย์หญิง
ก่อนสิ้นรุ่งอรุณแห่งฝัน ผลงานของ สิริญรำไพ ประพันธุ์ทวี
เรื่องราวของผู้หญิงที่ปรารถนามีสามีเป็นชาวต่างชาติ เพราะต้องการไปใช้ชีวิตนอกประเทศ
รางวัลชมนาดครั้งที่ 4
เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน ผลงานของ พญ.สุดานี บูรณเบญจเสถียร
ชีวิตจริงของแพทย์หญิงที่เคยถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นฆาตกร
สายรุ้งกลางเมือง (รางวัลชมนาดรองชนะเลิศอันดับ 1) ผลงานของ นีรา
ไม่ว่าหัวใจดวงนั้นจะเด็กหรือชรา หัวใจแห่งการรอคอยก็มีความโศกเศร้าไม่ต่างกัน
รางวัลชมนาดครั้งที่ 5
ขังหญิง ผลงานของ ธนัดดา สว่างเดือน
เรื่องราวชีวิตที่ต้องพลัดเข้าไปอยู่ในเรือนจำ
สองชีวิตหนึ่งใจ (รางวัลชมนาดรองชนะเลิศอันดับ 1) ผลงานของ พิศมัย ไชยสิทธิ์ นามปากกา ไหมพรม
สัมผัสชีวิต ความคิดและพัฒนาการของเด็กพิการที่เติบโตมาด้วยความรัก ที่ยิ่งใหญ่ของแม่
รางวัลชมนาดครั้งที่ 6
ความฝันของฉันทนา (รางวัลชมนาดรองชนะเลิศอันดับ 1) ผลงานของ จันทรา รัศมีทอง
เรื่องราวของผู้เขียนที่ไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เพราะต้องเสียสละให้น้องๆ ไปเป็นสาวโรงงาน และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมืองไทย
.