“แม่จัน สายน้ำที่ผันเปลี่ยน” ผลงานของคุณเตือนใจ (กุญชร ณ อยุธยา)ดีเทศน์ เรื่องเล่าผ่านจดหมายของหญิงสาวที่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอนาคตของเธอคงจะไปได้ไกล และคงจะมีอาชีพการงานในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แต่เธอกลับเลือกที่จะไปทำงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ที่ชุมชนชาวไทยภูเขาในชนบทห่างไกลและทุรกันดารบริเวณลุ่มน้ำแม่จัน ทางตอนเหนือของประเทศไทย ใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า
และเมื่อบ่ายวันที่ 18 ตุลาคม 2556 ได้ทำการเปิดตัว หนังสือแม่จัน สายน้ำที่ผันเปลี่ยน ณ ห้อง Meeting Room 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งครั้งนี้ตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 แล้ว โดยครั้งแรกตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2528 ให้ทุกท่านได้สัมผัสกับประสบการณ์ของงานอาสาสมัครบนดอยสูงยุคบุกเบิก รับฟังมุมมองความคิดและประสบการณ์โดย ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ผู้มีจิตอาสา ทำงานพัฒนาเพื่อประโยชน์แก่สังคมมาถึง 4 ทศวรรษ ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า ถึงแม้เวลาจะผ่านมานานเ่ท่าใด แต่เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ก็ไม่เคยเก่า สามารถเข้าได้กับทุกยุคสมัย และยังเป็นแรงบันดาลใจ แก่คนรุ่นหลังอีกหลายคนให้มีจิตที่เป็นอาสา เสียสละเพื่อส่วนรวม
ปัจจุบันครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการ มูลนิธิพัฒนาชุมชน และเขตภูเขา (พชภ.)
ฟังดนตรีของชนเผ่าจากศิลปิน ปกาเกอะญอ ชิ สุวิชาน
พิธีกรกล่าวต้อนรับ และนำเข้าสู่บรรยากาศการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง กับมุมมองการรวมพลังของคนหนุ่มสาวจิตอาสา จากอดีตถึงปัจจุบัน “แม่จัน สายน้ำที่ผันเปลี่ยน” ผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณที่มุ่งมั่น ร่วมสนทนาโดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ,คุณไผ่ เพียรพร ดีเทศน์ (บุตรสาว) , ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช , คุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ และดำเนินรายการโดย คุณนก (นิรมล เมธีสุวกุล) พิธีกรรายการทุ่งแสงตะวัน
คุณเตือนใจแจกรายเซ็น ให้เพื่อนพ้อง ลูกศิษย์ และบรรดาแฟนๆ หนังสือ ที่มีทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่
และสำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ เรามีเรื่องย่อมาให้ได้ลองลิ้มรสกันก่อน
เรื่องย่อ : “แม่จัน สายน้ำที่ผันเปลี่ยน” เรื่องเล่าผ่านจดหมายของหญิงสาวที่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ อนาคตของเธอคงจะไปได้ไกล และคงจะมีอาชีพการงานในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์ แต่เธอกลับเลือกที่จะไปทำงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ที่ชุมชนชาวไทยภูเขาในชนบทห่างไกลและทุรกันดารบริเวณลุ่มน้ำแม่จัน ทางตอนเหนือของประเทศไทย ใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า
ก่อนหน้านั้น เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษา เธอเคยเข้าร่วมโครงการบัณฑิตอาสา เข้าไปทำงานในชุมชนชาวไทยภูเขาที่หมู่บ้านลีซู ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากพม่า เข้ามาอยู่ฝั่งไทย จากการทำงานในฐานะบัณฑิตอาสานี่เอง ทำให้เธอเกิดความประทับใจและกลับเข้ามาทำงานอีกครั้งหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ชาวบ้านที่นี่นิยมถางป่าเพื่อทำไร่ทำสวน เมื่อสภาพดินเสื่อมแล้วก็ละทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าและลงมือถางป่าต่อไป ทั้งยังมีการปลูกฝิ่นไว้สูบอีกด้วย
การทำงานตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ในฐานะครูสอนหนังสือ นอกจากสอนให้แก่ผู้ใหญ่ในช่วงกลางคืนแล้ว เธอยังสอนให้กับเด็กเล็กในเวลากลางวันอีกด้วย คนในหมู่บ้านเรียกเธอว่า “ครูแดง” ไม่เพียงหน้าที่การงานเท่านั้น เธอยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวเขาอย่างกลมกลืน สร้างครอบครัวกับสามีผู้ร่วมอุดมการณ์และสร้างหลักปักฐานอยู่ที่นั่น