หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา : ผู้ปลุกพลัง Microsoft

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

     ในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 40 ปี ไมโครซอฟท์มีซีอีโอแค่ 3 คน บิล เกตส์ สตีฟ บัลเมอร์ และสัตยา นาเดลลา จากเด็กที่เติบโตในครอบครัวชนชั้นกลางที่อินเดียก้าวขึ้นเป็นซีอีโอของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

     สัตยา นาเดลลา เข้าบริหารไมโครซอฟท์ท่ามกลางปัญหาและความท้าทาย แต่สามารถพลิกธุรกิจให้กลับมาผงาดได้ในเวลาอันสั้น ส่งผลให้หุ้นไมโครซอฟท์พุ่งทะยานสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา และที่สำคัญเขาเป็นหนอนหนังสือตัวยงไม่แพ้ บิล เกตส์ ลองไปเปิดหนังสือสุดโปรดของเขาว่ามีเล่มไหนที่ส่งผลถึงการทำงานของเขาจนประสบความสำเร็จ

 

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

AI Super-Powers China, Silicon Valley and the New World Order เขียนโดย Kai-Fu Lee

     เขียนโดย ไค-ฟู ลี หัวเรือใหญ่ของกูเกิล ประเทศจีน พูดบอกเล่าเรื่องราวของ “ปัญญาประดิษฐ์” ที่ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศจีน และซิลิคอนวัลเลย์ ที่อเมริกา

 

 

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

Hit Refresh: The Quest to Rediscover Microsoft’s Soul and Imagine a Better Future for Everyone เขียนโดย Satya Nadella, Greg Shaw, Jill Tracie Nichols

      แปลเป็นไทยในชื่อ พลิกธุรกิจด้วยวิถีไมโครซอฟท์ เป็นหนังสือของเขาเอง เขียนร่วมกับ Greg Shaw และ Jill Tracie Nichols

      สัมผัสแนวคิดที่ล้ำลึกเฉียบคมและบุคลิกที่อ่อนน้อมถ่อมตนของสัตยา นาเดลลา  ผ่านข้อคิดรอบด้าน ทั้งในเชิงธุรกิจ เทคโนโลยี และการดำเนินชีวิต เบื้องหลังความสำเร็จของซีอีโอไมโครซอฟท์คืออะไร เราจะนำบทเรียนของไมโครซอฟท์มาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองอย่างไร?

 

 

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

Nonviolent Communication เขียนโดย Marshall B. Rosenberg

      ภรรยาของเขาเป็นคนแนะนำ ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวคิดของเขามาก ถึงขนาดลงทุนซื้อเพื่อนำไปแจกให้ผู้บริหาร Microsoft ทุกคน ในการประชุมครั้งแรกหลังรับตำแหน่งซีอีโอด้วย เป็นเรื่องของเทคนิคสื่อสารที่ตรงไปตรงมา เทคนิคหลัก 3 ข้อจากหนังสือเล่มนี้ ที่ Nadella นำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดกับ Microsoft ในเวลานั้น

  1. องค์ประกอบหลักในการสื่อสาร
  2. ตัดอคติจากข้อมูลในมือ
  3. เลือกใช้คำให้ถูกต้องชัดเจน

 

 

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

The Great Transformation เขียนโดย Karl Polanyi

      นับว่าเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่พยายามทำความเข้าใจโลกสมัยใหม่ภายหลังการขึ้นมาของระบบตลาดนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงมีความสำคัญในแง่การวิพากษ์เศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่สมาทานแนวคิดตลาดเสรีของอดัม สมิธ (Adam Smith) อย่างถึงแก่น จนนำไปสู่การถกเถียงแลกเปลี่ยน และสร้างสำนักเศรษฐศาสตร์สถาบันแนวใหม่ (New Institutional Economics) ในทศวรรษ 1980 เท่านั้น แต่ยังเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่ “ต้องอ่าน” ในสาขาวิชาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ฯลฯ ด้วยเช่นกัน

 

 

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

Leonardo da Vinci เขียนโดย Walter Isaacson

      ชีวประวัติ Leonardo Da Vinci โดย Walter Isaacson เล่มนี้ได้รับรวมเอกสารจำนวนมาก ท่านผู้อ่านจะได้จุใจไปกับภาพประกอบ 4 สีมากกว่า 100 ภาพ รวมถึง ตารางเวลา (Chronology) ที่เรียงลำดับเหตุการณ์และการสร้างผลงานสำคัญของ Leonardo Da Vinci

      หนังสือเล่มนี้ได้คิดรูปแบบการนำเสนอมาอย่างดี ชีวประวัติเล่มนี้จะทำให้ทุกคนได้ทราบถึงมุม แนวคิด และ องค์ความรู้ในศาสตร์ด้านต่างๆ ที่ Leonardo Da Vinci ได้ศึกษาและจดบันทึกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้าน กายวิภาค คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์  และ ศิลปะ ที่ต่างถูกจัดแบ่งแยกประเภทให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย แต่ลึกซึ้ง ราวกับว่าเรื่องราวของศิลปินผู้โดดเด่นเมื่อ 500 ปีแล้วนั้นได้กลับมาโลดแล่นราวกับมีขีวิตขึ้นมาอีกครั้ง

 

 

 

Evicted: Poverty and Profit in the American City เขียนโดย Matthew Desmond

      นำพาผู้อ่านไปสำรวจย่านที่ยากจนที่สุดในสหรัฐฯ อย่าง Milwaukee โดยบอกเล่าเรื่องราวของ 8 ครอบครัวที่กำลังขัดสน และได้ระบุถึงปัญหาค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยซึ่งสูงมากสำหรับคนจน

     หากอยากเข้าใจว่าสาเหตุที่ก่อให้เกิดความยากจนนั้นเกี่ยวโยงกันอย่างไร เกตส์แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะสามารถแสดงให้เห็นภาพได้ดีมาก เป็นหนังสือที่เกตส์บอกว่าสามารถอธิบายว่าการเป็นคนจนในสหรัฐฯ นั้นเป็นอย่างไรได้ดีที่สุด

 

 

หนังสือแนะนำโดย สัตยา นาเดลลา

 

Mindset: The New Psychology of Success เขียนโดย Carol S. Dweck

      หนึ่งในหนังสือที่หายาก ที่สามารถช่วยให้คุณสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางบวกในชีวิตของคุณ   ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้คุณมองเห็นโลกในแนวทางใหม่ๆ ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในด้านจิตวิทยาของแรงจูงใจและบุคลิกภาพ "แครอล   ดเว็ค" ได้ค้นพบจากการทำวิจัยมากกว่ายี่สิบปีว่า กรอบความคิดไม่ใช่เป็นส่วนเล็กๆ ของบุคลิกภาพ กรอบความคิด (Mindset) เป็นตัวสร้างโลกทางความคิดทั้งหมด   มันสามารถอธิบายว่าเรากลายเป็นคนที่มองโลกในเเง่ดีหรือมองโลกในแง่ร้ายได้อย่างไร   เป็นตัวกำหนดเป้าหมาย ทัศนคติต่องานและความสัมพันธ์   และวิธีการเลี้ยงดูลูกของเรา    ท้ายที่สุดยังสามารถคาดการณ์ว่าเราจะนำศักยภาพของเรามาใช้ได้เต็มที่หรือไม่ด้วย
 
     ความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นพ่อแม่ ทุกคนสามารถที่จะใช้ "กรอบความคิดเติบโต" ในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้โดยไม่จำเป็น ต้องเป็นอัจฉริยะหรือมีพรสวรรค์ทั้งในด้าน ดนตรี วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ กีฬา หรือแม้แต่ธุรกิจ ที่สำคัญกว่าคือ เราสามารถเปลี่ยนกรอบความคิดในช่วงไหนของชีวตก้อได้ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จและได้รับความพึงพอใจอย่างแท้จริง

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ