มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr พ.ศ. 2472-2511) หมอสอนศาสนานิกายแบปทิสและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน (Civil Right) เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำเนื่องจากนโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะคานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทาง ร่วมกับคนผิวขาวที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง
ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียตนามและจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่ง
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาสลพิพากษาจำคูก 99 ปี
หลังจากเขาถูกลอบสังหารในปี 1968 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้
ลองไปเปิดหนังสือของเขากันค่ะ
“Civil Disobedience” เขียนโดย Henry David Thoreau
เฮนรี่ เดวิด ธอโร เป็นนักคิดนักปรัชญาชาวอเมริกัน เป็นทั้งนักเขียน กวี นักต่อสู่ทางการเมืองเพื่อการเลิกทาส ใช้แนวคิดแบบดื้อแพ่งไม่ร่วมมือเสียภาษีให้รัฐเพื่อต่อต้านการที่รัฐเอาเงินภาษีอากรไปใช้ทำสงครามกับเม็กซิโก เป็นนักประวัติศาสตร์ นักสำรวจ นักธรรมชาติวิทยา เป็นลูกศิษย์ และเป็นผู้ช่วยงานบ้านทำสวนดูแลลูกของ Ralph Waldo Emerson กวีนักปรัชญารุ่นอาจารย์.
เขาเขียนหนังสือชื่อ Civil Disobedience จนเป็นอิทธิพลต่อโลกปรัชญาและการเมือง “ขบวนการดื้อแพ่ง” ต่ออำนาจรัฐก็เริ่มจากความคิดของ Thoreau ในหนังสือเรื่องนี้และงานเขียนอื่นอีกหลายเรื่อง ความคิด ข้อเขียน และหนังสือของ Henry David Thoreau ส่งอิทธิพลต่อนักคิดนักเขียนคนดังคนอื่นของโลกมาก
“The Social Contract” เขียนโดย Jean-Jacques Rousseau
ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau, ค.ศ. 1712-1778) เป็นชาวฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือชื่อ "สัญญาประชาคม" (Social Contract) ในหนังสือเล่นนี้ รุสโซ กล่าวถึงสัญญาประชาคมว่า หมายถึง สัญญาที่แต่ละคนเข้าร่วมกับทุกคนภายใต้เอกภาพและเจตจำนงอันเดียวกัน โดยที่ประชาชนสามารถก่อตั้งรัฐบาลขึ้นได้และให้อำนาจแก่รัฐบาลเพื่อรับใช้ประชาชนแต่ถ้าเมื่อใดที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลก็อาจเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ รุสโซ ชี้ให้เห็นว่าสภาวะธรรมชาตินั้นเป็นสภาวะที่มนุษย์มีความผาสุก มีอิสระเสรี และความเสมอภาค อย่างไรก็ตามแม้มนุษย์จะเกิดมาเสรี แต่ทุกหนทุกแห่งมนุษย์ก็ถูกตรึงด้วยโซ่ตรวนแห่งพันธนาการ แนวความคิดของรุสโซถือว่าเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
“Republic” เขียนโดย Plato
เป็นบทประพันธ์ชิ้นสำคัญของเพลโต (Plato) ปราชญ์ชาวกรีกผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักคิดผู้ทรงอิทธิพลตลอดกาลของโลกตะวันตก กล่าวกันว่า รีพับลิก ประพันธ์ขึ้นในช่วงที่ความคิดของเพลโตกำลังผลิบานหรือเกือบสุกงอมเต็มที่ โดยมี โซเครติส (Socrates) ปราชญ์ผู้มีชีวิตอยู่ร่วมยุคร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าเป็นผู้ดำเนินเรื่อง บทสนทนาในเล่มครอบคลุมปัญหาทางปรัชญา ทฤษฎีความรู้ จิตวิทยา และดูจะกินความไปไกลกว่าการเมืองการปกครองอย่างมากมาย
“Politics” เขียนโดย Aristotle
อริสโตเติลได้อธิบายว่า รูปแบบการปกครองใดก็ตาม ที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ถือเป็นรูปแบบที่ดี ในขณะเดียวกัน รูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้อำนวจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่ดี
อริสโตเติลได้แสดงความเห็นว่า รูปแบบ Polity นั้น จัดเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด และ มีเสถียรภาพมากที่สุด อริสโตเติลได้อธิบายว่า Polity เป็นการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ Constitutional Government เป็นรัฐที่ราษฎรส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกนักบริหาร ซึ่งมีหน้าที่นการปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม การปกครองแบบ Polity จะเป็นหลักการประนีประนอม ระหว่างหลักการ 2 อย่างคือ เสรีภาพ และ ทรัพย์สิน เป็นการเชื่อมเสรีภาพของคนจน กับ ทรัพย์สินของคนรวย เพื่อที่อำนาจสูงุดจะได้ไม่อยู่ที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนจน หรือ คนรวย อริสโตเติลยอมรับว่า อำนาจเป็นของประชาชนดีกว่า ที่จะเป็นของคนเพียงไม่กี่คน ที่มีศีลธรรม
Aristotle's Nicomachean Ethics
สาระสำคัญที่อริสโตเติลนำเสนอคือ จริยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สูงที่สุดและความดีสูงสุดคือความสุข ความดีและความสุขในทัศนะของอริสโตเติลเป็นเรื่องเดียวกัน มีความหมายเหมือนกัน คือ กิจกรรมทางวิญญาณที่สอดคล้องกับคุณธรรมสมบูรณ์ คำว่า คุณธรรมสมบูรณ์ได้แก่ คุณธรรมที่ดีที่สุดที่มนุษย์เลือกมาถือปฏิบัติและเป็นการถือปฏิบัติจนตลอดชีวิต ปฏิบัติจนกระทั่งคุณธรรมนั้นๆกลายเป็นนิสัยประจำชีวิตของมนุษย์
The City of God เขียนโดย Augustine
The City of God ออกัสตินใช้วลาในการรวบรวมหลักการในการเขียนหนังสือที่สำคัญยิ่งของยุคกลาง เป็นงานที่สะท้อนปรัชญาศาสนาและปรัชญาประวัติศาสตร์ในยุคกลางได้อย่างชัดเจน งานชิ้นนี้มีอิทธิพลต่อนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ยุคกลางตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19