คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม : ที่ทั้งอบอุ่นและน่าหวาดกลัว

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

         " แม่ " ในโลกแห่งความจริงและในโลกนิยาย มีหลายรูปแบบมีทั้งดีและไม่ดี บางท่านก็ใส่ใจลูก เลี้ยงดูอย่างดี แต่บางท่านก็รักลูกแบบผิดวิธี หรือไม่เคยรักลูกเลย ลองไปดูคุณแม่ในโลกแห่งนิยายที่เราพอจะนึกออกถึงตัวตนและบทบาทของพวกเธอที่มีต่อลูก หากพูดชื่อเรื่องขึ้นมา หลายคนต้องร้องอ๋ออออแน่นอน

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

คุณแม่ Molly Weasley ในเรื่อง Harry Potter  ผลงานของ J. K. Rowling

       เราคงหาคุณแม่ ที่เสียสละ หัวรั้น คิดจะทำอะไรแล้วเปลี่ยนใจยากมาก ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อนที่จะปกป้องใครต่อใคร อย่าง มอลลี่ วีสลีย์ เป็นภรรยาของอาเธอร์ วีสลีย์ (โดยมีลูกชายทั้งหมด 6 คน ได้แก่ บิล , ชาลี , เพอร์ซี่ , เฟร็ด , จอร์จ และ รอน วีสลีย์ และมีลูกสาวทั้งหมด 1 คน คือ จินนี่ วีสลีย์

       มอลลี่ เป็นแม่มดร่างท้วม ผมสีแดงและใจดีมากๆ เธอดูแล แฮร์รี่ พอตเตอร์ เสมือนลูกชายของเธอคนหนึ่ง ซึ่งทุกครั้งที่แฮร์รี่ มาพักผ่อนนอกโรงเรียน ไม่ว่าจะในวันหยุดหรือปิดเทอมฤดูร้อนที่บ้านโพรงกระต่าย เธอจะต้อนรับและดูแลเขาเป็นอย่างดีเสมอ

      มอลลี่มักจะเข้มงวดกับลูกๆของเธอเป็นพิเศษ เห็นได้จากตอนที่เธอดุ เฟร็ด จอร์จ และ รอน วีสลีย์ตอนที่ขับรถฟอร์ดแองเกลียบินได้ไปรับแฮรี่ พอตเตอร์ที่บ้านเลขที่ 4 ซอยพรีเว็ต และตอนที่แฮรี่และรอนขับรถฟอร์ดแองเกลียบินได้ไปยังโรงเรียนฮอกวอตส์และได้ขับรถชนต้นวิลโลว์จอมหวด เธอก็ได้ส่งจดหมายกัมปนาทไปดุรอน วีสลีย์ แต่สิ่งที่เธอทำไปทั้งหมดนั้นก็เพราะรักและหวังดีกับลูกๆของเธอทุกคน

       นอกจาก มอลลี่ วีสลีย์ จะเป็นแม่บ้านที่เชี่ยวชาญงานบ้านทุกๆอย่างแล้ว เธอยังเป็นสมาชิกของภาคีนกฟีนิกส์รุ่นที่ 2 เฉกเเช่นเดียวกับสามีของเธอ และเป็นผู้ปลิดชีวิต สมุนเอกของโวลเดอมอร์ เบลลาทริกซ์ เลสแตรงจ์ ในสงครามสุดท้ายที่ฮอกวอตส์

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

คุณแม่ Marmee March ในเรื่อง Little Women ผลงานของ Louisa May Alcott

       มิสซิสมาร์ช คุณแม่ที่มีลูกสาวสี่คน ในเรื่องกล่าวถึงบทบาทของสตรีมีหน้าที่ดูแลบ้านให้สะอาดเรียบร้อย เพื่อรอการกลับมาของสามีที่ไปต่อสู้นสงคราม รวมถึงสั่งสอนลูก ๆ ให้รู้สึกแบ่งปันหรือรักใคร่ปรองดองกันภายในครอบครัว มีคำสั่งสอนของพ่อและแม่เป็นเป้าหมายสำคัญ ตลอดทั้งเรื่องเราจะสังเกตได้หลายตอนเลยว่าเด็กสาวทั้งสี่คนจะเชื่อฟังคำพูดของพ่อแม่อยู่เสมอ

       สิ่งสำคัญกว่าเรื่องราวในสนามรบ คือการย้ำเตือนถึงคำสั่งสอนของตนเองให้ลูก ๆ ได้ฟัง ในยุคนั้นพ่อแม่ให้ความสำคัญกับการสั่งสอนลูกเป็นอย่างมาก ปลูกฝังให้ลูกพึ่งพาตนเองได้ มีหน้าที่ช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ที่ต้องดูแลความเรียบร้อยในบ้าน รวมไปถึงนึกคิดถึงใจผู้อื่นเสมอ หากลูกเชื่อฟังชีวิตก็จะพานพบแต่สิ่งที่ดีในชีวิตและเป็นความภาคภูมิใจของคนในครอบครัว

      นอกจากนี้ไม่ใช่เพียงแค่พ่อเท่านั้นที่มีหน้าที่สั่งสอนลูก ๆ  ในเรื่องจะมีอยู่หลายฉากที่มิสซิสมาร์ชใช้คำพูดขัดเกลาเด็ก ๆ ให้รู้จักอดทนและไม่รู้สึกหมดหวังเมื่อยามชีวิตผจญกับความยากลำบาก รวมถึงการสอนให้ลูกของเธอเป็นคนดี ซึ่งก็ได้ยกประโยคที่ชอบมาก ๆ จากหนังสือเล่มนี้มาอีกเช่นกันค่ะ

https://c.min.ms/t/d/member/c/20/20975/pagegallery/1504460632/c83c6ad0.jpg

      รู้สึกประทับใจกับประโยคนี้ตรงที่เธอไม่ได้บอกออกมาตรง ๆ แต่กลับใช้คำพูดในเชิงเปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดูนุ่มนวลสมกับเป็นภาพลักษณ์ของผู้หญิงในยุคนั้นที่ดีมากเลย ตัวกล่อมเกลาความคิดไม่ใช่แค่เพียงการเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ แต่หลักคำสอนของศาสนาเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เด็ก ๆ จึงกล้ารับปากกับเธออย่างจริงใจ 

อ้างอิง https://minimore.com/b/eccL1/2

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

คุณแม่ Lena Younger ในเรื่อง A Raisin in the Sun ผลงานของ Lorraine Hansberry

      ความยากจนอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำตามฝัน โดยเฉพาะสำหรับครอบครัวชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่ถูกบีบคั้นจากสังคม ติดตามการต่อสู้เพื่อฝัน เพื่อเอาชนะอุปสรรครอบด้าน

      เงินประกันชีวิตหนึ่งหมื่นดอลล่าร์ที่ได้มาหลังการจากไปของหัวหน้าครอบครัว กลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้ครอบครัว Younger ทะเลาะกัน เพราะทุกคนก็อยากได้เงินไปสานฝันของตัวเอง ทั้งการซื้อบ้านใหม่ ลงทุนทำธุรกิจ และเก็บไว้เป็นทุนเรียนต่อ 'A Raisin in the Sun' สะท้อนปัญหาความขัดแย้งในจิตใจของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่อาศัยทางตอนใต้ของชิคาโกในยุค 1950 พวกเขาหวังมีชีวิตที่ดีกว่า แต่กลับต้องเผชิญปัญหามากขึ้น เมื่ออยู่ในสังคมเหยียดสีผิว นี่เป็นแบบทดสอบที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ซึ่งอุปสรรคที่ถาโถมบางครั้งอาจทำให้ฝันนั้นเหี่ยวแห้งไม่ต่างอะไรจากลูกองุ่นท่ามกลางแสงแดด 

     จุดหลักของ เรื่องอยู่ที่เงินกับบ้าน แม่และลูก ความสัมพันธ์ การดิ้นรนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า โดยแลกกับความสุขของคนๆหนึ่งหรือหลายๆคน มันคุ้มมั้ย ที่สุดท้ายฝันนั้นก็เหือดแห้งไปกับความจริง ตอบให้เลยว่าอาจจะคุ้มหรือไม่คุ้มก็ได้ในแต่ละมุมมองคน แต่อย่างน้อยแม่ Lena Younger  ในเรื่องนี้ ก็ได้ทำมันเพื่อลูก แม่ได้เสียสละที่จะเติมเต็มมันให้ลูกสัมผัสบางอย่างในฐานะที่ลูกเป็นหัวเรือ มันคือการยอมรับที่คนๆหนึ่งต้องการจากใครสักคน

      นอกจากนี้ตัวบทยังได้แสดงถึงความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าที่ตัวแม่มี ซึ่งแตกต่างกับลูกสาวที่ใช้ชีวิตอิสระเสรี เพ้อฝันลอยๆ เหมือนจะพยายามบอกว่า คนที่ไม่นับถือศาสนา อาจไม่สามารถยึดเหนี่ยวชีวิตตัวเองให้มั่นคงได้

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

คุณแม่ Marilla Cuthbert ในเรื่อง Anne of Green Gables ผลงานของ L. M. Montgomery

      แอนน์ เชอร์ลีย์ เด็กหญิงกำพร้าที่ถูกส่งตัวมาที่บ้านกรีนเกเบิลส์ แต่กลายเป็นบ้านหลังนี้ร้องขอเด็กชายไปไม่ใช่เด็กหญิงอย่างแอนน์ แอนน์จึงต้องพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้ได้อยู่ต่อไม่ถูกส่งกลับไปสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่เพราะความซื่อสัตย์และความช่างพูด(มากกกก)ของแอนน์ได้สร้างความประทับใจให้สองพี่น้องแมทธิวและมาริลลาแห่งบ้านกรีนเกเบิ้ลส์ ทั้งสองตัดสินใจรับแอนน์มาเลี้ยงดู และแอนน์ก็ช่วยเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายไปของสองพี่น้องผู้รับเลี้ยง
      ภายในเรื่องเราจะเห็นวิวัฒนาการของแอนน์และเพื่อนๆในเรื่องต่างๆ อยู่กึ่งกลางระหว่างเด็กหญิงและเด็กสาว  เนื้อเรื่องดีมาก นี่ว่าค่อนข้างทันสมัย ชอบที่พูดเรื่องการศึกษาที่ในอดีตผู้หญิงมีโอกาสน้อยกว่าผู้ชาย แต่มีผู้หญิงอีกกลุ่มที่ไม่โอเคตรงนี้เช่นเดียวกัน ทำให้มาริลล่าตระหนักถึงความสำคัญด้านการศึกษาของแอนน์อย่างมาก เพราะเธอก็คือผู้หญิง สรุปคือเนื้อเรื่องดี และยิ่งตอกย้ำถึงความดีมากขึ้นเมื่อยามเจอปัญหา แอนน์ คือคนที่แก้ปัญหาได้ดีเยี่ยมเพราะเธออ่านหนังสือเยอะ จนมีความรู้หลายแขนง ซีรีส์สื่อให้เห็นถึงความได้ดีเพราะรักการอ่าน คนดูก็ควรรักการอ่านเช่นเดียวกัน

 

 

คุณแม่ Claire Beauchamp Randall Fraser ในเรื่อง Outlander series ผลงานของ  Diana Gabaldon

      ปี 1945 แคลร์ แรนดอล อดีตพยาบาลทหารเพิ่งกลับจากสงครามและมาพบกับสามีของเธอ (แฟรงค์) ในการฮันนีมูนครั้งที่สอง ขณะที่เธอกำลังเดินผ่านหินที่ตั้งอยู่ก้อนหนึ่งในวงกลมหินโบราณที่แสดงถึงเขตแดนของเกาะอังกฤษ ทันใดนั้นเองเธอได้กลายเป็นชาวอังกฤษผู้เป็น “ต่างชาติ” ในสก็อตแลนด์ที่แยกออกมาเพราะสงครามและกำลังรวบรวมพรรคพวกตามชายแดนอีกครั้งในปีคริสต์ศักราช….1743
      หลักจากถูกดึงกลับมาโดยกองกำลังที่เธอเองก็ไม่รู้จัก แคลร์ได้ถูกจับพลัดจับผลูเข้าไปอยู่ในแผนการชั่วร้ายที่เต็มไปด้วยคนโป้ปดและเหล่าสายลับที่อาจเข้าคุกความชีวิตของเธอและขยี้ใจเธอให้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ สำหรับเธอแล้ว เจมส์ เฟรเซอร์ นักรบหนุ่มชาวสก็อตผู้กล้าหาญได้แสดงความรักอันจริงแท้ที่มากพอจะทำให้แคลร์ต้องเลือกระหว่างความซื่อสัตย์และความปรารถนาของเธอเอง และเลือกระหว่างชายสองคนผู้ไม่อาจปรองดองกันได้

       หลังจากที่เธอไปอยู่ในยุดอดีต เวลา 2 ปี เธอได้กลับมายังโลกปัจจุบัน เธอคลอดบรีอานน่า มันแสดงถึงการเริ่มต้นใหม่หลังจากที่เธอผ่านเรื่องร้าย ๆ มามากมาย ถึงแม้เด็กคนนี้จะเป็นลูกของเจมส์ เฟรเซอร์  แต่แคลร์ก็ข้ามเวลามาอยู่ในช่วงใหม่และเธอเข้าใจว่าเจมส์ เฟรเซอร์  ตายไปแล้ว เธอพยายามทำให้ชีวิตสามารถเดินหน้าต่อไปได้ สร้างอนาคตให้กับลูกให้มีครอบครัวที่มั่นคง ส่วนแฟรงค์ก็พยายามจะเข้าใจภรรยาของเขา เขาไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้าง เธอหายสาบสูญไป แล้วอยู่ ๆ ก็กลับเข้ามาในชีวิตเขา จนเธอเลี้ยงลูกจนโต และกลับไปเรียนจนจบหมอ ก่อนที่จะกลับไปหาเจมส์ เฟรเซอร์  อีกครั้ง และทิ้งลูกของเธอไว้

 

มาดูฝั่งคุณแม่ที่ยอดแย่กันบ้าง

 

 

คุณแม่ Zinnia Wormwood ในเรื่อง Matilda ผลงานโดย Roald Dahl

       มาทิลดาเป็นเด็กอัจฉริยะและมีพลังวิเศษ ที่บังเอิญ (มาก) โตมาในครอบครัวที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเธอ ตั้งแต่วันแรกที่คลอดก็ลืมนำเธอออกมาจากรถซะแล้วหรือแม้กระทั่งอยากให้มาทิลดาดูทีวีแทนที่จะให้อ่านหนังสือตามที่เธอต้องการ วันๆก็เอาแต่ด่า และทำตัวงี่เง่าไร้สาระ จนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นพ่อแม่ที่ให้กำเนิดลูกสาวแสนฉลาดคนนี้ มาทิลดาเลยแกล้งแบบแสบๆคันๆหลายครั้ง มาทิลดาเป็นเด็กที่ชอบอ่านหนังสือและหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเราชอบครูฮันนี่มากก เป็นครูที่อบอุ่นและห่วงใยเด็กอย่างแท้จริง อาจารย์ใหญ่นี่เลือกคนมาเล่นได้น่ากลัวจริง ๆ ดูแล้วสยองแทนเด็ก ๆ จะว่าเป็นตลกร้ายก็คงใช่แต่ก็มีฉากที่ซึ้ง ๆ ที่ถึงกับเปลี่ยนอารมณ์แทบไม่ทัน หลงรักในความน่ารักทั้งหน้าตาและนิสัยของมาทิลดา

       เรื่องนี้สะท้อนแนวคิดหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ เด็ก ๆ จะต้องเจอกับสังคมที่เลวร้ายที่มีผลมาจากผู้ใหญ่นิสัยเสียบางคน ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ครู ที่ดันมีอิทธิพลต่อตัวเด็กซะเหลือเกิน (ในเรื่องชาร์ลีกับโรงงานช็อกโกแลตด้วย)

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

Cersei Lannister ในเรื่อง A Game of Thrones ผลงานของ George R. R. Martin

      Cersei Lannister เป็น 1 ในตัวละครที่คนดูเกลียดที่สุด และอื้อฉาวที่สุด (ร้ายชนิดนางร้ายไทยต้องก้มกราบ แถมยังเป็นแม่ของคาแรกเตอร์ที่คนอยากปาทุเรียนมากที่สุดอย่างเช่น King Joffrey) และเป็นเจ้าของวรรคทอง “When you play the game of thrones, you win, or you die!”

       แต่ถึง #ร้ายก็รัก เพราะถ้าไม่มีนาง เรื่อง ก็อาจจะไม่สนุกขนาดนี้ แผนร้ายต่าง ๆ นานาของเธอเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้เนื้อเรื่องเต็มไปด้วยความเข้มข้น Cersei เป็นตัวละครที่เต็มไปด้วยรัก โลภ โกรธ หลง ถ้ามองในแง่ดี เธอเป็นคนที่รักวงศ์ตระกูล และรักลูก ๆ ถึงขั้นบูชา แต่ด้วยความรักจนล้นนี่แหละที่คร่าชีวิตคนไปมากมาย และทำเอาบ้านเมืองแทบวอดวาย เส้นทางการขึ้นสู่บัลลังก์เหล็กของเธอก็ไม่ธรรมดา โดยเฉพาะในซีซั่น 4-6 มาจนถึง walk of shame เราจะได้เห็นเธอฝ่าฟันสารพัดวิบากกรรม จนกลายมาเป็นเจ้าบัลลังก์แบบเต็มตัว

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

คุณแม่ Corrine Dollanganger ในเรื่อง Flowers in the Attic ผลงานของ V.C. Andrews

      Flowers in the Attic เป็นเรื่องราวของพี่น้องครอบครับดอลแลนแกนเจอร์ ซึ่งก็มี คริสโตเฟอร์ พี่ชายคนโต เคธี พี่สาวคนรอง และน้องฝาแฝดชายหญิง แครีกับคอรี่…เรื่องทั้งหมดเป็นการบอกเล่าผ่านสายตาของเคธีค่ะ ซึ่งก็เปิดตัวด้วยการบอกให้คนดูเห็นว่าครอบครัวนี้เป็นครอบครัวอบอุ่นในฝันแค่ไหน พ่อหล่อแม่สวย (Corrine Dollanganger) รักกันมากและให้ความอบอุ่นกับลูกๆ เป็นอย่างดี คริสก็ฉลาดและต้องการเป็นหมอ ส่วนเคธีนี่ก็สวยและเต้นบัลเลต์เก่ง น้องๆ สองคนก็น่ารักเหมือนตุ๊กตา เรียกว่าเพอร์เฟคกันทั้งครอบครัวค่ะ

      แต่จุดเปลี่ยนของเรื่องก็คือ พ่อของเคธีเสียชีวิตค่ะ ทำให้ทั้งบ้านตกอยู่ในสถานการณ์ไม่มีคนหาเลี้ยงทันที สุดท้าย แม่เลยตัดสินใจพาลูกๆ ทุกคนกลับไปหาคุณตาคุณยาย ซึ่งเคธีก็เล่าค่ะว่าแม่ไม่เคยพูดถึงพวกเขาให้ฟังเลย และก็ดูจะไม่ค่อยอยากกลับไปเจอด้วย แถมพอได้เจอยาย ยายก็มีแต่ทีท่าเย็นชาติดจะรังเกียจเด็กๆ ทุกคนเสียด้วย

      ทุกคนคิดว่าตัวเองก็คงแค่จะต้องเป็นเด็กดีและไม่รบกวนใครในบ้าน แต่แม่กลับมาบอกตอนถึงบ้านแล้วค่ะว่าทุกคนต้องอยู่แค่บนห้องใต้หลังคาเท่านั้น(มันเป็นห้องใต้หลังคาแบบที่ยาวไปตลอดเท่าความยาวของหลังคาคฤหาสน์น่ะค่ะ เลยจะแบ่งเป็นห้องๆ และมีห้องน้ำบนนั้นได้ด้วย) ห้ามลงมา ห้ามส่งเสียงดัง โดยที่ยายจะคอยเอาอาหารมาส่งและแม่จะแวะขึ้นมาหาตอนที่ทำได้ เพราะจริงๆ ตอนที่แม่แต่งงานกับพ่อนั้น ตาโกรธมากและบอกตัดขาดกับแม่ ที่ยอมให้กลับมาอยู่ที่นี่ก็เพราะคิดว่าแม่มาคนเดียว ไม่ได้มีลูกๆ มาด้วยค่ะ

       แม่บอกว่าจะอยู่แบบนี้ไม่นาน แต่ไปๆ มาๆ กลับนานขึ้นเรื่อยๆ แถมแม่ก็มาหาน้อยลงทุกที เด็กๆ เลยถูกบีบบังคับให้ต้องผ่านวันเวลาของการเติบโตบนห้องใต้หลังคานี้ ซึ่งมันก็ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้และมีความคิดที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

 

คุณแม่ยอดเยี่ยมและยอดแย่ จาก 9 วรรณกรรม

 

คุณแม่ Margaret White ในเรื่อง Carrie ผลงานของ Stephen King

       เรื่องราวของสาวน้อยที่มีพลังจิตอันน่ากลัว Carrie White เป็นเด็กสาววัยรุ่น ที่ดูผิวเผินทั่วไปที่น่าจะพบเจอหนุ่มๆ มีเพื่อนๆ กลุ่มต่างๆ ในโรงเรียน ปาร์ตี้ เล่นกีฬา ทำกิจกรรมสนุก แต่ตรงกันข้าม Carrie ต้องมีชีวิตที่น่าสงสาร โดดเดี่ยว อยู่กับแม่ของเธอ Margaret White เพียง 2 คน ซ้ำร้ายแม่ของเธอนั้นเป็นคนที่คลั่งศาสนาประเภทแบบไม่ลืมหูลืมตา, เหมือนตัวละครในหนังเอเลี่ยนตลกอย่างเรื่อง Paul ที่มีประโยคเด็ดที่คล้ายคลึงกลุ่มสีเสื้อการเมืองในไทย ที่ว่า “ต่อให้เอาเหตุผลไปพูดยังไง เค้าก็ไม่เชื่อเราหรอก” นั่นคือแม่ของ Carrie สภาพใกล้เคียงโรคประสาทของแม่เธอก็สร้างความ เจ็บปวดเล็กๆ ให้เธอมากมายอยู่แล้ว

      ชีวิตที่โรงเรียนก็ไม่ต่างกัน เธอไม่ต่างอะไรกับ กลุ่มเด็กขี้แพ้ในสายตาของเพื่อนผู้หญิงสวยๆ ในโรงเรียนอย่าง Chris Hargensen ที่สนุกกับการกลั่นแกล้ง Carrie ตลอดเวลา ฉากที่แกล้งหนักสุดคือ เมื่อ Carrie ตกใจที่มีประจำเดือนครั้งแรกเธอโวยวาย แต่เพื่อนๆ กลับหัวเราะเยอะแล้วขว้างผ้าอนามัยใส่เธอ

      ซึ่งนั่นคือฉากแรกของการระเบิดพลัง ภายในของตัวเธอออกมา Chris Hargensen และแฟนหนุ่มกุ๊ยรูปหล่อของเธอ Billy Nolan ได้วางแผนตลกๆ แกล้งเธอให้หนักมากขึ้นโดยการจ้าง หนุ่มหน้าตาดีที่เป็นแฟนของคนในกลุ่มอย่าง Tommy Ross ให้เข้าไปชวน Carrie เป็นคู่เต้นรำในงาน Prom และทำดีกับเธอต่างๆ นาๆ

      ในคืนงาน Prom แม้ว่าแม่ของเธอจะห้ามยังไง เธอก็ไม่ฟัง ซ้ำยังระเบิดพลังให้แม่ของเธอได้รับรู้ แล้วหนีออกไปงาน Prom ขณะที่ Carrie และ Tommy กำลังขึ้นรับตำแหน่ง ราชินีงาน Prom นั่นเอง ทุกคนก็วางแผนเทเลือดหมูสาดใส่เธอจนเปียกโชกไปด้วยเลือด นั่นคือการระเบิดพลังจิตครั้งใหญ่ของ Carrie ชนิดที่ว่าไม่มีใครรอดชีวิตจากงานคืนนั้นได้เลย

      ขณะที่เดินกลับบ้าน เธอต้องเผชิญกับแม่ผู้มองเธอว่าเป็นปิศาจ พยายามจะฆ่าเธอ Carrie เลือกจบชีวิตของตน และแม่ตัวเองด้วยการเผาทุกสิ่งให้ไหม้เป็นจุลไปในที่สุด

 

 

อ้างอิง : www.bookbub.com

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ