รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม : ม่อ เอี๋ยน ซึ่งเป็นนามปากกาที่แปลว่า อย่าพูด มีชื่อจริงว่า กวน ม่อเย่ (Guan Moye)

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟร็ด โนเบล ตั้งแต่ ค.ศ. 1895 โดย Swedish Academy ประเทศสวีเดน เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของอัลเฟร็ด โนเบล ที่กรุงสต็อกโฮล์ม และผู้ที่ได้รับรางวัลในปีล่าสุด คือปี 2012

 

ม่อ เอี๋ยน รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

 

ม่อ เอี๋ยน

ม่อ เอี๋ยน ซึ่งเป็นนามปากกาที่แปลว่า อย่าพูด มีชื่อจริงว่า กวน ม่อเย่ (Guan Moye) ยังได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการว่า นำเอาลัทธิสัจนิยมแบบอุดมด้วยภาพหลอน (hallucinatory realism) มารวมเข้ากับนิทานชาวบ้าน, ประวัติศาสตร์, และเรื่องร่วมสมัย

รอยเตอร์/เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ราชบัณฑิตสถานแห่งสวีเดน (Svenska Akademien) ประกาศในวันพฤหัสบดี (11) มอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมประจำปี 2012 ให้กับ ม่อ เอี๋ยน (Mo Yan ) นักเขียนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้นักเขียนอาวุโสจากแดนมังกรรายนี้ กลายเป็นนักเขียนจากทวีปเอเชียรายที่ 4 ในประวัติศาสตร์ที่สามารถผงาดคว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้มาครอง

รายงานข่าวจากกรุงสต็อกโฮล์ม นครหลวงของสวีเดนระบุว่า ผลการตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากราชบัณฑิตสถานแห่งสวีเดนซึ่งมี ปีเตอร์ เอ็งลุนด์ เลขาธิการใหญ่เป็นประธาน ออกมาแบบเอกฉันท์ยกให้รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปีนี้ตกเป็นของม่อ เอี๋ยน นักเขียนวัย 57 ปีที่เติบโตมาในครอบครัวชาวนาจากมณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน

คำแถลงของคณะกรรมการระบุว่า “โดยผ่านส่วนผสมของจินตนาการและความเป็นจริง, ทัศนะมุมมองทางประวัติศาสตร์และทางสังคม ม่อ เอี๋ยน ได้สร้างสรรค์โลกซึ่งชวนให้หวนระลึกไปถึงบรรดาโลกที่ปรากฏในงานเขียนของ วิลเลียม โฟลก์เนอร์ และ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ” แต่ขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบ “จุดที่ผิดแผกแตกต่างออกไปโดยอาศัยวรรณกรรมอันเก่าแก่และประเพณีทางด้านมุข ปาฐะของจีน”

ม่อ เอี๋ยน ซึ่งเป็นนามปากกาที่แปลว่า “อย่าพูด” มีชื่อจริงว่า กวน ม่อเย่ (Guan Moye) ยังได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการว่า “นำเอาลัทธิสัจนิยมแบบอุดมด้วยภาพหลอน (hallucinatory realism) มารวมเข้ากับนิทานชาวบ้าน, ประวัติศาสตร์, และเรื่องร่วมสมัย”

คณะกรรมการชี้ว่า นักเขียนผู้นี้ได้ตีพิมพ์ผลงานทั้งนวนิยาย, เรื่องสั้น, และข้อเขียนบทความในหัวข้อต่างๆ หลายหลาก และถึงแม้ผลงานของเขามีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์สังคม แต่ ม่อ เอี๋ยน ก็ได้รับการยกย่องในจีนในฐานะที่เป็นหนึ่งในนักเขียนร่วมสมัยระดับแนวหน้า

ทางด้านนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิชาวจีนและตะวันตกหลายต่อหลายคน แสดงความไม่เห็นด้วยกับการให้รางวัลนี้แก่ ม่อ เอี๋ยน โดยระบุว่า นักเขียนผู้นี้ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองนายกสมาคมนักเขียนจีน อันเป็นองค์การที่ถูกแทรกแซงบงการจากภาครัฐนั้น เป็นผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงไม่กล้ามีเรื่องมีราวกับทางการคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนั้นเขายังสนับสนุนนโยบายของทางการที่เน้นย้ำว่าศิลปะและวรรณกรรมต้อง รับใช้อุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งก็คือ ไม่คุกคามการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์

สำหรับรางวัลที่ม่อ เอี๋ยน จะได้รับประกอบด้วย ใบประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน รวมถึงเงินรางวัลจำนวน 8 ล้านโครนา (คิดเป็นเงินไทยราว 36.7 ล้านบาท) ม่อ เอี๋ยน ถือเป็นนักเขียนจากเอเชียรายที่ 4 ในประวัติศาสตร์ ที่สามารถคว้ารางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมมาครองได้ ต่อจาก รพินทรนาถ ฐากูร จากอินเดียในปี 1913 , คาวาบาตะ ยาสึนาริ จากญี่ปุ่นในปี 1968 และเคนซาบูโระ โอเอะจากญี่ปุ่นในปี 1994 แต่ถือเป็นนักเขียนเชื้อสายจีนรายที่ 2 ที่ได้รางวัลนี้ ต่อจาก เกา ซิงเจียน ที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมได้เมื่อปี 2000 ทว่าเนื่องจากในขณะที่ได้รับรางวัลนั้น เกาซิงเจียนถือสัญชาติฝรั่งเศส และลี้ภัยอยู่ในเมืองน้ำหอม เขาจึงไม่ถือเป็นนักเขียนจากจีนแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ผลงานเขียนของม่อ เอี๋ยนถือทั่วโลกรู้จักกันดี คือ นวนิยายเรื่อง “ Life and Death Are Wearing Me Out ” ที่เขาใช้เวลาเขียนเพียง 43 วัน รวมถึงผลงานเรื่อง “Big Breasts and Wide Hips” ที่เคยคว้ารางวัล “คิริยามา” เมื่อปี 2005 และรางวัล “Man Asian Literary Prize” ในปี 2007, “Republic of wine”, “Life and Death are Wearing Me Out” และผลงานนวนิยายสั้นเรื่อง “Red Sorghum ”ที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 1987 ซึ่งกำกับโดย จาง อี้โหมว และนำแสดงโดยดาราสาวชื่อก้อง “กง ลี่” สำหรับนวนิยายที่เผยแพร่ล่าสุดของเขา คือเรื่อง “Frog” (ปี 2009)

 

ม่อ เอี๋ยน รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

 

ขอบคุณที่มา http://www.manager.co.th

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ