จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดศูนย์กลางทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วย ประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและภูมิศาสตร์ทางธรรมชาติที่งดงาม แต่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา พื้นที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มีเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างรวดเร็วโดยน้ำในแม่น้ำแม่แตงไหลเชี่ยวอย่างมากเกือบ 3 เมตร ซึ่งพื้นที่ อ.แม่แตง มีปางช้างตั้งอยู่หลายที่อย่างนับไม่ถ้วน จึงเกิดเรื่องราวเศร้าสลดเมื่อช้างเลี้ยงหลายสิบเชือก ต้องสังเวยชีวิตให้แก่ภัยพิบัติธรรมชาติในครั้งนี้
จากเหตุการณ์ทำมีการให้เผยเเพร่ออกสื่อหลายช่องทาง มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น ผู้ต้องการเข้า ช่วยเหลือและผู้แสดงความเสียใจอีกมากมายต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งอีกหนึ่งคำไว้อาลัยที่ผู้คนได้พูดถึงและส่งต่อ กันในโลกโซเชียลอย่างมากคือ บทกวี “กล่อมช้าง” รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ หรือ นามปากกาที่เป็นที่รู้จัก “ไพฑูรย์ ธัญญา” เจ้าผลงาน “ก่อกองทราย” รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม แห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2530 ที่มีเนื้อหาแสดงความรู้สึกของตัวกวีเองในทุกตัวอักษรที่สงสารเพื่อนร่วม โลกด้วยกันที่เป็นช้างโดยให้เกียรติแก่ช้างที่เสียชีวิตโดยช้างตัวผู้จะเรียกว่า “พ่อ”และตัวเมียจะเรียกว่า “แม่” ตามที่ควาญช้างเรียกกันทั่วไป โดยตัวกวีเองนำคำประพันธ์ประเภท อินทรวิเชียรฉันท์ 11 และ กาพย์ฉบัง 16 มารับใช้อารมณ์ความรู้สึกของตนเพื่อถ่ายทอดสู่สังคมสายตาของสังคมต่อไป
บางช่วงของบทกวี “กล่อมช้าง” จะเห็นได้ว่าเป็นการเน้นการนำเสนออารมณ์ความรู้สึกการเล่าเรื่อง ของตัวกวีมากกว่าเนื้อหาของเรื่อง ซึ่งตัวผู้อ่านจะไม่รู้เลยว่าผู้เขียนได้สอดแทรกเนื้อหาโดยนำอารมณ์ในการนำ ทางเรื่องราวของเหตุการณ์น้ำท่วม และเน้นสื่อสถานการณ์ที่ช้างแม่แตงได้พบเพื่อซึมเข้าสู่กระเเสสำนึกของ ผู้อ่านเอง ซึ่งข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตว่าการที่ตัวกวีได้นำอินทรวิเชียรฉันท์ 11 มาใช้ในช่วงแรกเพื่อเป็นการเปิด เข้าสู่ห้วงอารมณ์ของสถานการณ์นั้นให้ผู้อ่านได้รับรู้รสของภาษาได้มากยิ่งขึ้น
“อ้าพ่อคชาชาติ
สละชีพ ณ กลางธาร
สายน้ำมหาศาล
ชลเชี่ยวและเกลียวกรง”
จากบทกวีข้างต้นทุกคำที่กวีนำมาใช้นั้นเป็นการใช้กลวิธีการสื่ออารมณ์ทางภาษา จะเห็นได้ว่ากวีเอง ต้องการสื่อภาพ “คชาชาติ” หรือช้างตัวผู้ที่กำลังจมน้ำไป ซึ่งจากเขียนในลักษณะนี้จะเป็นการแทรกซึมต่อม ความรู้สึกของผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกเศร้าและสงสาร ในเวลาเดียวกัน อย่างคำว่า “สละชีพ” ความจริงแล้วนั้น อาจกล่าวได้ว่าช้างไม่ได้สละชีพตนเพื่อใคร แต่กวีไม่ต้องการให้ผู้คนยึดติดแต่กับภาพที่ช้างกำลังจมน้ำและสื่อ ถึงการตายอย่างมีศักดิ์ศรีซึ่งนำไปสู่กระบวนการนำเสนอความคิดเรื่องช้าง ที่อุดมคติของผู้คนมักคิดไปว่าช้าง ได้รับการฝึกการว่ายน้ำมาอย่างดีหรือช้างว่ายน้ำได้ทุกตัว ช่วงที่สองของบทกวีที่เป็นกาพย์ฉบัง 16 กวีได้นำเสนอภาพของภัยพิบัติธรรมชาติโดยใช้ความคิด แบบนามธรรมมาจรรโลงสังคมผ่านเรื่องต่าง ๆ อย่าง การทำนายบ้านเมือง ผี นรก สวรรค์การเกิด การตาย ฯ ตามลักษณะของไตรภูมิพระร่วงและด้วยความเชื่อของคนไทยที่เชื่อเรื่องนามธรรมและสิ่งที่มองไม่เห็น พอสมควร สังคมไทยจึงเกิดการคล้อยตามจุดมุ่งหมายของกวีที่กำหนดเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย โดยเนื้อหาที่ ราบรื่นผ่านกระบวนการคิดและจิตสำนึกของกวีมาแล้วทั้งสิ้น ความเชื่อของคนไทยที่อ่อนไหวกว่าสายน้ำ… “น้ำป่าผาดโผนโคลนดิน ท่วมบ่าธานินทร์ ถึงกาลทุรยุคขุกเข็ญ ผีป่าสำแดงเเผลงเป็น นรกเยียบเย็น กลืนกินส่ำสัตว์พลัดหาย”
จากวรรค “ถึงกาลทุรยุคขุกเข็ญ” หากอ่านอย่างละเอียดแล้วจะสังเกตได้ว่าเป็นวรรคที่กวีนั้นได้ เขียนขึ้นเพื่อเสริมแรงจูงใจของอารมณ์เพื่อเอื้ออำนวยต่อจังหวะความรู้สึกของผู้อ่านที่จะเชื่อมอารมณ์มาจาก ช่วงแรกมาสู่ช่วงที่สอง ซึ่งคำ ทุรยุค แปลว่า เวลาอันเต็มไปด้วยความลำบากความ อาจกล่าวว่าคำทำนายนี้ไม่มี ผู้ใดทำนายไว้แต่เป็นเพียงกลวิธีการใช้ภาษาของผู้เขียนเองเพื่อปูพื้นภาษาสู่การกล่าวถึงในเนื้อหาถัดไป
“อย่าเลยอย่าอาลัยวงศ์วรรณ
พี่น้องพ้องสรรพ์
อันโศกกำสรวลอยู่หลัง
ไปแม่ จงไปลำพัง
โลกหน้าถ้ายัง
อย่าได้เกิดเป็นกุญชร”
จากบทข้างต้นกวีเองใช้กลวิธีทำเสนอแบบบทพูดคนเดียว เพื่อเสริมความสมจริงเรื่องราว ซึ่งราวกับ ตัวกวีเองได้บอกกับช้างที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่ไม่ใช่การขับไล่ให้ไปเกิดแต่เป็นแสดงความอาลัยและเล่าถึงความ โศกเศร้าของทุกคนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังทิ้งท้ายคำพูดที่แสดงทัศนคติถึงความรักต่อตัวช้างว่าหากชาติหน้ามีให้มาเกิดเป็นคน หากผู้อ่านให้มุมมองอีกมุมมองหนึ่งจะมองว่าเป็นการดูถูกช้าง แต่หากใช้มุมมองความ เชื่อจะพบว่าเป็นการหวังดีที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้อ่านได้รับสาร
สังคมไทยไม่น่าอยู่…
“ไปเถิดพ่องางอน
โลกหล้าสั่นคลอน
ทุรยศคดโกงโหงพราย
สิ้นธรรมสิ้นทางกฎหมาย
อย่าเลยเสียดาย
โลกาวสานใกล้มา”
จากบทดังกล่าวกวีได้พูดถึงสังคมไทยเป็นหลักในการนำเสนอเนื้อหาที่อ้างถึง ความคดโกงของสังคม ซึ่งอาจหมายความว่ากวีอาจหมายถึง กิเลสมนุษย์เป็นผู้กระทำการทั้งปวงทำให้สังคมไทยไม่น่าอยู่ซึ่งอีกมุม หนึ่งกวีไม่ได้บอกว่าสังคมไทยไมดีทั้งหมดแต่อย่างใด แต่เป็นการออกเเบบเนื้อหาให้มีความเป็นเอกภาพราบรื่น ทั้งตัวภาษาอีกด้วย ซึ่งกวีได้บอกกับช้างทุกเชือกที่ตายว่า “อย่าเลยอย่าเสียดาย โลกาวสานใกล้เข้ามา” เป็น การใช้กลวิธีการพูดโน้มน้าวใจเช่นเดียวกับการพูดกับคนเสียชีวิตในงานอวมงคลเพื่อที่จะไม่ให้ผู้ตายเสียดาย ช่วงเวลาของชีวิตและยังเป็นการชี้ทางไปในตัว
จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ตัวกวีเองได้ถ่ายทอดมุมมองภาษาผ่านอารมณ์ของคนผู้หนึ่งทุกตัวอักษรเหมือน ถูกจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ว่าในสมัยนี้ธรรมชาติปั่นป่วนเพียงใดจนนำไปสู่การสูญเสีย แต่สุดท้ายจุดมุ่งหมาย ของผู้เขียนไม่ใช่เพียงการไว้อาลัยการมรณกรรมของช้างแม่แดงเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการย้ำเตือนด้วยว่า… โลกเราไม่เหมือนเดิม
ภาพในใจ ไพฑูรย์ ธัญญา ต่อช้างแม่แตง
บทวิจารณโดย ภูวดล ภูโยฮาต
โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่ งานวิจารณ์ ปีที่ 10