ทำไมเราจึงต้องเป็นนักเขียน โดย อัสมา นาเดีย : วิทยากรค่ายวิจารณ์วรรณกรรม โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 3

ทำไมเราจึงต้องเป็นนักเขียน โดย อัสมา นาเดีย

              "อัสมา นาเดีย" ชาวอินโดนีเซีย แชร์ประสบการณ์การเป็นนักเขียนมืออาชีพ ในค่ายวิจารณ์วรรณกรรม "โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 3

 

               แรงบันดาลใจ-เหตุผล ในการเขียน สำคัญอย่างไร..

 

               ที่ให้ปรบมือไปเมื่อกี้ ก็คือค่ายนี้เกิดขึ้นมาในประเทศไทยก็เพราะว่านักวิจารณ์เป็นกลุ่มบุคคลสำคัญในประเทศที่จะช่วยขับเคลื่อนนักเขียนในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และขอขอบคุณคุณอาทรที่จัดค่ายนี้ขึ้นมา หลังจากเจอกันที่แฟรงเฟิร์ตบุ๊คแฟร์ปีที่แล้ว ก็พยายามชวนดิฉันให้มาเจอกับน้องๆ ทุกคน เพื่อแชร์ประสบการณ์ในค่ายนี้มากขึ้น ดิฉันหวังว่าในอนาคตจะได้เจอน้องๆ ในที่ต่างๆ ในโลก ได้เป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จในโลก

 

                สำหรับนามปากกาก็เป็นสิ่งสำคัญ เราควรตั้งชื่อที่สามารถเข้าใจง่ายและมีความหมายที่ดี และติดหู อย่างดิฉันใช้ชื่ออัสมา พี่สาวเป็นคนตั้งให้ คำว่าอัสมาจะพ้องเสียงในภาษาอารบิก แปลว่าชื่อ คนก็จะล้อดิฉันว่า ชื่อก็คือชื่อ ดิฉันมีโอกาสเจอนักเขียนคนหนึ่ง บอกเขาว่าชื่ออัสมา เขาหัวเราะใหญ่เลยกับชื่อนี้

 

                เมื่อสักครู่คุณอาทรแนะนำไปแล้วว่าดิฉันเป็นนักเขียนจากอินโด งานของดิฉันหลายเรื่องได้ทำเป็นภาพยนตร์และละครในอินโด ซึ่งดังมากๆ ดิฉันจะไม่พูดถึงการวิจารณ์ เพราะคิดว่าน้องๆ คงมีความรู้มากกว่า แต่ทางด้านการเขียน ไม่ว่าน้องจะเป็นนักเขียนสารคดี นักเขียนโนเวล หรือว่านักเขียนเรื่องสั้น ทำไมน้องถึงอยากเขียน หรือว่าทำไมถึงเขียน  อันไหนเป็นคำถามที่สำคัญต่อการเขียนอย่างไร น้องคิดว่าคำถามไหนสำคัญกว่ากัน

 

                นี่คือตัวอย่าง สมมติเราบอกเด็กว่าไปอ่านหนังสือซะ แต่เด็กบางคนอาจจะอ่านแบบไม่มีคุณภาพ หรือว่าเด็กบางคนไม่ได้อยากที่จะล้างรถ เขาก็ไปล้างแบบขี้เกียจๆ แบบไม่มีคุณภาพ แบบนี้คิดว่าเด็กขี้เกียจไหม เอาล่ะ เปลี่ยนคำพูดใหม่ว่า ลูกไปล้างรถเถอะ พ่อจะให้ลูกหนึ่งล้านบาท คิดว่าลูกจะรู้สึกยังไง จะเกิดอะไรขึ้น

 

                ดิฉันได้เจอนักเขียนคนหนึ่ง นักเขียนคนนั้นชื่ออารี เขาบอกดิฉันว่าให้จำชื่อเขาไว้นะ ดิฉันถามว่าทำไมถึงต้องจำ คำตอบที่ได้ก็คือ เพราะเขาจะเป็นนักเขียนที่ดังที่สุดในโลกในอนาคตข้างหน้า นี่คือเหตุผลในการซัพพอร์ตสิ่งต่างๆ ที่เราทำ มันจะทำให้คนจดจำเราได้มากยิ่งขึ้น

 

                พอหนึ่งเดือนถัดมา ดิฉันได้เจอกับนักเขียนคนนี้อีกรอบ เขาถามดิฉันอีกว่าจำเขาได้ไหม หน้าแบบนี้ เขาบอกว่าจำได้สิ คุณบอกว่าคุณอยากจะเป็นนักเขียนที่ดังที่สุดในโลก ทีนี้ดิฉันก็ถามกลับว่า จำฉันได้ไหม เขาจำไม่ได้

 

                หลายปีต่อมา ก็เจอเขาอีก เขาถามดิฉันอีกว่าจำเขาได้ไหม โอเค จำได้ คุณคือคนที่อยากเป็นนักเขียนที่ดังที่สุดในโลก ทีนี้ดิฉันก็ถามต่อว่าหนังสือของคุณเสร็จไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ เขาก็บอกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ โอเค อย่างน้อยก็โล่งใจ เสร็จไปนิดหนึ่งแล้ว แต่ว่ามีแค่แชปเตอร์แรกเพิ่งเสร็จไป 15 เปอร์เซ็นต์ ก็คือมีอีกทั้งเล่มยังไม่ได้รับการเติมเต็ม ยังไม่ได้รับการเขียน เขาอยากเป็นนักเขียนที่ดังที่สุดในโลก แต่ผ่านมาหลายปีแล้วก็ยังเสร็จแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ของแชปเตอร์แรก

 

                อย่างแรกคือไม่มีคนขี้เกียจในโลกใบนี้ มันมีแต่คนที่ไม่มีแรงบันดาลใจแล้วก็ไม่มีความพยายามในการทำ สกิลในการเขียนมันก็เหมือนกับการทำอาหาร มันคือการที่เราทำไปเรื่อยๆ เราก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราเขียนไปเรื่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ งานเราก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่าสกิลเราสามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ

 

                การหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องเขียน จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจในการทำให้เราเขียนไปเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะเจอปัญหาอะไรก็ตาม เหตุผลที่ทำไมเราต้องเขียน จะเป็นแรงผลักดันให้เราเขียนไปเรื่อยๆ จนเราประสบความสำเร็จ

 

                ถึงแม้เราจะเข้าเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการเขียนกี่สิบครั้ง ก็ไม่มีความหมายอะไรเท่ากับเรากลับบ้านแล้วหาเหตุผลว่าทำไมการเขียนถึงสำคัญกับชีวิตเรา ทำไมเราถึงต้องเขียน อย่างคนที่แต่งงานแล้วอย่างดิฉัน ดิฉันก็ต้องกลับมาหาว่าทำไมถึงต้องเขียน เพราะในชีวิตประจำวันดิฉันก็ได้เงินจากสามีอยู่แล้ว ถ้าเกิดว่าดิฉันไม่มีแรงบันดาลใจในการเขียน ดิฉันก็จะไม่มีทางทำสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่มได้เลย

 

                หรือยกตัวอย่างลูกจ้างบริษัททั่วไป ก็ต้องมาหาเหตุผลว่าทำไมต้องเขียน เพราะในชีวิตประจำวัน เราก็ได้เงินเดือนอยู่แล้ว ทำไมเราจะต้องเอาเวลาของเรามาเขียน เพราะอะไร เหตุผลนั้นคืออะไร

 

                ถ้าเกิดเหตุผลของน้องๆ คือการชอบที่จะเขียน ถ้าเกิดวันหนึ่งเราเลิกชอบ จะเกิดอะไรขึ้น จะยังเขียนอยู่ไหม

 

                นักเขียนไม่มีเจ้านาย เพราะไม่ใช่เป็นอาชีพที่ทำกันในคอมปานี ยกเว้นว่าเราจะทำในบริษัทที่เป็นมีเดีย เช่น ทำหนังสือพิมพ์ หรือว่าทำวิทยุ นายเราก็จะสั่งว่า โอเค มีข่าวนี้เกิดขึ้นนะ ไหนไปทำข่าวสิ เราจะไม่สามารถพูดได้ว่า เออ เราไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะทำนะ

 

                สมมติว่าถ้าเราเป็นนักทำหนังสือพิมพ์ เราต้องไปทำงานให้เสร็จตามเจ้านายสั่ง อย่างนั้นเราจะรู้สึกว่ามันเป็นการทำงาน เราไม่ได้เขียนออกมาจากความชอบของเราจริงๆ ฉะนั้น พอเราไม่ใช่คนที่ทำงานในสายมีเดีย ไม่ได้ทำงานในด้านที่มีเจ้านายมาสั่งให้เราทำ เราก็เลยต้องใช้เวลากับมันในการเขียนหนังสือหนึ่งเล่มให้มากที่สุด มันไม่ใช่เรื่องที่บอกแค่เพียงว่าเราชอบเขียนนะ เราจึงจะทำหนังสือหนึ่งเล่มเสร็จภายในหนึ่งเดือนสองเดือน เพราะฉะนั้นการหาแรงบันดาลใจที่จะเขียน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับนักเขียนเรา

 

                จากนักวิจารณ์ วิจารณ์ไปเรื่อยๆ เราก็อาจจะเป็นนักเขียนหนังสือขึ้นมาได้(ยกตัวอย่าง อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง) ทีนี้เราก็เลยต้องมีแรงบันดาลใจ เพราะแรงบันดาลใจจะทำให้เราเขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะตาย ถึงแม้เราจะชอบ แต่ถ้าเราไม่มีแรงบันดาลใจ หนังสือเราก็ไม่เสร็จซักที เจอปัญหาอะไรมาเราก็ท้อ แต่ถ้ามีแรงบันดาลใจ แรงบันดาลใจนี้จะขับเคลื่อนเราไปเรื่อยๆ ให้เขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะหมดสิ้นลมหายใจ

 

                สิ่งที่ดิฉันชอบในการเป็นนักเขียนก็คือดิฉันสามารถใส่ชุดนอนได้ในเวลาทำงาน ดิฉันชอบใส่ชุดนอน  การที่ได้ทำงานในชุดนอน มันทำให้ดิฉันมีความสุข

 

                เหตุผลที่สอง เพราะว่าดิฉันมีลูก ก็คือการที่มีลูก ทำให้ดิฉันต้องคอยดูแลลูกตลอดเวลา การเป็นนักเขียนจึงเป็นอาชีพในฝันของดิฉัน เพราะดิฉันสามารถเล่นกับลูกได้ตลอดเวลา จะกลับมาเขียนก็ได้ หรือกลับไปเล่นกับลูกก็ได้ พาลูกไปโรงเรียนระหว่างทางคิดอะไรได้ก็จดโน้ตไว้ ก็นับเป็นการทำงานแล้ว หรือจะพาลูกไปหาหมอ ระหว่างนั่งรอคุณหมออยู่ก็เอางานขึ้นมาทำ นั่งเขียนหนังสือของเราได้

 

                มันเป็นอาชีพที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเราเอง ไม่ต้องได้รับใบการันตีจากมหาวิทยาลัย ไม่ต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นนายแบบนางแบบหรือหน้าตาแบบบาร์บี้ เราก็สามารถที่จะเป็นนักเขียนได้ สมมติว่าเราทำงานสำนักพิมพ์ การส่งสคริปต์ของเราให้สำนักพิมพ์พิจารณา จำเป็นที่จะต้องส่งรูปของเราไปด้วยไหม ก็ไม่ต้อง อาชีพนี้เราไม่ต้องใช้หน้าตาในการทำงาน

 

                การเป็นนักเขียน ไม่มีเดดไลน์ว่าต้องทำงานเสร็จเมื่อไหร่ แต่เดดไลน์ของเราก็คือการทำความฝันของเราให้ประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นเราต้องเซ็ตเดดไลน์ให้ตัวเอง อย่างสมมติว่าเราจะเขียนนิยายหนึ่งเรื่อง ใช้เวลาในการตีพิมพ์หนึ่งปี แล้วเราอยากจะให้หนังสือของเราเผยแพร่ในเวลาสองปี เพราะฉะนั้นเราต้องเขียนให้เสร็จในหนึ่งปีแรก มันก็จะเป็นการพุชตัวเองว่า เออ เราต้องทำให้มันเสร็จนะ ในหนึ่งปีนี้ จัดการเวลาของตัวเองให้ดีที่สุด แล้วก็เขียนให้จบในหนึ่งปี เพื่อที่อีกหนึ่งปีจะเป็นเวลาของการจัดพิมพ์เป็นหนังสือ แล้วก็ได้เผยแพร่ตามที่เราฝันไว้

 

                ปกติหนังสือในอินโดนีเซียจะมีประมาณ 120-150 หน้า เขาก็ประมาณให้ดูว่า สมมติว่าเราจะเขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ 120 หน้า หนึ่งปีมีสิบสองเดือน แสดงว่าหนึ่งเดือนเราเขียนทั้งหมดแค่ 10 หน้า หนึ่งเดือน 10 หน้า ถ้าเรารู้สึกมันเยอะ เราก็หารไปอีก หนึ่งเดือนมี 4 อาทิตย์ เพราะฉะนั้นหนึ่งอาทิตย์ เราจะเขียนทั้งหมดแค่ 2.5 หน้าเท่านั้น แล้วเราก็ยังมีเสาร์อาทิตย์อีก สมมติว่าตัดเสาร์อาทิตย์ออก หาร 5 ดู สรุป วันหนึ่งเราเขียนไม่ถึง 1 ส่วน 3 ของหน้าด้วยซ้ำ เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนในนี้คงเล่นโซเชี่ยลมีเดียมากกว่า 1 ส่วน 3 ของหน้า ในหนึ่งวัน

 

                นอกจากนี้ จะมีสักกี่อาชีพบนโลกที่ทำงานครั้งเดียวได้เงินหลายครั้ง ลองคิดดู สมมติว่าเราเขียนเรื่องสั้นในหนังสือพิมพ์หนึ่งครั้ง เดือนละครั้งก็ได้ หนึ่งปีได้ 12 ครั้ง พอครบหนึ่งปีเราก็รวบรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นเล่ม ตีพิมพ์ออกมาขาย ได้เงินอีกครั้งหนึ่ง สมมติว่ามีชาวต่างชาติสนใจหนังสือของเราไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศ เราก็ได้เงินอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น พอแปลเสร็จแล้ว มีคนทำภาพยนตร์เห็นหนังสือของเรา อยากจะทำเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับหนังสือของเรา เราก็ได้เงินอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น จะมีสักกี่อาชีพในโลกนี้ที่เขียนครั้งเดียวแต่ว่าได้เงินหลายครั้ง

 

                การเขียนหนังสือของดิฉัน ทำให้ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก 360 กว่าเมืองแล้ว แล้วก็ทำให้ดิฉันมีคอมมูนิตี้ของนักเขียนที่รู้จักกัน ทำให้ได้เผยแพร่วัฒนธรรมในการเขียนของประเทศตัวเอง เพราะว่าการเขียนของแต่ละประเทศก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน การที่ดิฉันได้รู้จักกับคนเหล่านั้นก็คือการได้แชร์วัฒนธรรม-ความรู้จากนักเขียนรอบโลกเหล่านั้น มันสามารถเปิดโอกาสของน้องๆ ให้มากขึ้นจากการเป็นนักเขียน

 

                เคยมีคนบอกดิฉันว่าขอบคุณที่เขียนหนังสือเล่มนี้เล่มนั้นออกมา มันทำให้ดิฉันรู้สึกอบอุ่นหัวใจว่าการเขียนของดิฉันสามารถช่วยให้คนเหล่านั้นผ่านอุปสรรคในชีวิตไปได้ในช่วงเวลานั้นๆ

 

                ตอนเด็กๆ ดิฉันมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปอด ประมาณห้าอวัยวะในร่างกาย ดิฉันก็เลยแชร์เรื่องราวของดิแนลงในหนังสือด้วย อยู่มาวันหนึ่งก็มีผู้หญิงคนหนึ่งเดินมากอด ก็บอกว่าคุณทำให้ฉันรู้สึกเข้มแข็งมากขึ้น เพราะว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นมะเร็งที่หน้าอก ดิฉันก็เลยรู้สึกได้ว่าเรื่องราวของเขาเป็นเรื่องเล็กมากเมื่อเทียบกับผู้หญิงคนนั้น

 

                การที่น้องๆ ทุกคนเป็นนักวิจารณ์ก็จะสามารถช่วยทำให้นักเขียนในประเทศนี้พัฒนาได้มากขึ้น แล้วก็ทำให้พวกเขาเป็นนักเขียนที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต ทำให้ผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ดิฉันขอบคุณทุกคนที่ฟังเขา แล้วก็เรียนรู้ที่อยากจะเป็นนักวิจารณ์ในวันนี้

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ