นามปากกา :

รางวัลที่ได้รับ :

  รางวัลดีเด่นและชมเชย สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ, เซเว่นบุ๊คอวอร์ด, รางวัลวรรณกรรมไทยบัวหลวง, รางวัลครูภาษาไทยดีเด่น คุรุสภา, รางวัลนักกลอนตัวอย่าง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยปี 2537 ฯลฯ

ประวัติส่วนตัว :

     ศิวกานท์ ปทุมสูติ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๙๖ ที่บ้านวังหลุมพอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นฐานครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชีวิตในวัยเด็ก หลังจากจบ ป.๔ แล้วไม่ได้เรียนต่อ ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา เลี้ยงควาย อยู่กับธรรมชาติท้องทุ่งและป่าเขา ชีวิตวัยเยาว์คลุกคลีกับวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านชนบท ชอบเที่ยวป่า ครั้งหนึ่งเคยได้มีโอกาสเดินทางเข้าป่าลึกไปกับกองเกวียนของตา และได้เก็บบันทึกเรื่องราวครั้งวัยเยาว์เหล่านั้นมาเขียนสารคดีชีวิตเรื่อง “ครั้งหลังยังจำ” เมื่ออายุย่าง ๑๔-๑๕ ปี ได้ฝึกหัดเป็นช่างตัดผม เปิดร้านตัดผมอยู่ในหมู่บ้านถิ่นเกิด และฝึกเป็นช่างปะยาง รับจ้างปะยางรถจักรยานไปพร้อมๆ กัน ใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่น เที่ยวไปในเทศกาลลานรำละแวกถิ่นเกิด ๕-๖ เดือนก็ย้อนกลับมาตลาดเขตอีกครั้ง คราวนี้ได้เปิดร้านตัดผมเป็นได้ฝึกร้องเพลงเชียร์รำวงกับเพื่อนๆ และยังได้ฝึกร้องเล่นเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลงแม่เพลง ทั้งเพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อย เพลงอีแซว และเพลงพื้นบ้านอื่นๆ ของพื้นเพลงภาคกลาง ซึมซับไว้เป็นเพลงครูของชีวิตสืบต่อมา ปี ๒๕๑๑-๒๕๑๒ ได้ออกจากหมู่บ้าน ไปเป็นช่างตัดผมที่ร้านช่างประเทือง ตลาดเขต อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ช่วงนี้ได้เริ่มฝึกเขียนกลอน ทั้งที่ยังไม่เคยรู้จักฉันทลักษณ์ อยู่ทีท่าม่วงประมาณ ของตนเอง อัตราค่าตัดผมครั้งนั้น ผู้ใหญ่ ๓ บาท เด็กโต ๒ บาท และเด็กเล็ก ๑.๕๐ บาท ปี ๒๕๑๓ มุ่งหน้าเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเดินทางต่อไปภูเก็ต การเดินทางครั้งนั้น ต่อมาได้เขียนนิราศย้อนบันทึกเรื่องหนึ่ง คือ “นิราศภูเก็ต” (รางวัลกรมศิลปากร เนื่องในงานเปิดหอวชิราวุธานุสรณ์) เมื่อไปถึงภูเก็ตกลับไม่ได้บวชเป็นสามเณรดังที่ตั้งใจไว้ พระอาจารย์เยื้อน ทิมทอง ได้ให้ความอนุเคราะห์ที่พักพิงในวัดมงคลนิมิต พัฒนาการเขียนกลอนจนผลงานได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ “มหาราษฎร์” เมื่อปี ๒๕๑๕ และได้รับการตีพิมพ์ต่อๆ มาในหนังสือและนิตยสารต่างๆ อาทิ ไทยรัฐ (เมื่อครั้งยังมีคอลัมน์ “ประกายเพชร” และ “เกล็ดดาว”) วิทยาสาร ชัยพฤกษ์ และสตรีสาร หลังเรียนจบศึกษาผู้ใหญ่ระดับ ๔ (ม.ศ.๓) ได้สอบเข้าทำงานเป็นบุรุษไปรษณีย์ที่ไปรษณีย์กลาง บางรัก พร้อมกับเข้าเรียนครูภาคค่ำที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ในปี ๒๕๑๖ งานเขียนระหว่างที่เป็นครูอยู่กลางป่าเขาครั้งนั้น ส่วนใหญ่ยังเขียนกาพย์กลอน เขียนเรื่องสั้นบ้าง ลงพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย และสตรีสาร นักเขียนคนโปรดในเวลานั้น คือ นิมิตร ภูมิถาวร ปี ๒๕๒๓ ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีกับโครงการศึกษาอบรมครูประจำการ (อ.คป.) ของวิทยาลัยครูกาญจนบุรี เรียนเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ และภาคฤดูร้อน กระทั่งจบปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) ในปี ๒๕๒๕ ขณะอยู่ที่โรงเรียนวัดปทุมวนาราม การเขียนกาพย์กลอนได้พัฒนาขึ้นมาก ได้สร้างสรรค์วรรณกรรมสำคัญสองเรื่อง เรื่องแรกเขียนขึ้นในปี ๒๕๒๔ คือเรื่อง “สมเด็จพระภัทรมหาราชคำฉันท์” ได้รับรางวัลชั้นที่ ๑ วรรณกรรมไทยบัวหลวง และปี ๒๕๒๗ เรื่อง “เพื่อนแก้วคำกาพย์” ได้รับรางวัลชั้นที่ ๑ วรรณกรรมไทยบัวหลวงอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งได้เริ่มเขียนเพลงพื้นบ้านโต้ตอบกับนักเพลงคนอื่นในเวทีเพลงสตรีสาร เขียนบทความและบทกวีลงในมิตรครู และฟ้าเมืองไทย งานเขียนนอกจากบทกวี บทความ และสารคดีลงในนิตยสารต่างๆ เพิ่มขึ้น (เช่น มาตุภูมิ แพรวสุดสัปดาห์ เนชั่นสุดสัปดาห์) แล้ว ยังได้เขียนกวีนิพนธ์เล่มสำคัญขึ้นระหว่าง ๑๔ ปีในสถาบันราชภัฏ คือ กำไรจากรอยเท้า (รางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ,๒๕๓๔), หลังลาออกจากราชการ ใช้ชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับการเขียนบทกวี ปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ ได้เขียนกวีนิพนธ์ “กว่าจะข้ามขุนเขา : ด้วยปลายมีดของเธอและฉัน” ในนาม ธมกร : ศิวกานท์ ปทุมสูติ (พิมพ์เผยแพร่ปลายปี ๒๕๔๙ เข้ารอบ 15 เล่มรางวัลซีไรต์ ปี 2550) เป็นกวีนิพนธ์ที่หยั่งลึกลงในปรัชญาชีวิตแห่งการต่อสู้กับตัวตนภายในและ ผัสสะที่กระทบกระทำจากภายนอก ผ่านประภัสสรปัญญาและจิตวิญญาณ เล่มนี้ก้าวเดินจากกวีนิพนธ์เล่มอื่นๆ ที่เขียนขึ้นก่อนหน้านี้เป็นอย่างมาก สืบเนื่องต่อมายังผลงานเล่มสำคัญๆ เช่น ต่างต้องการความหมายของพื้นที่ (พิมพ์ 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ 2555, เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี 2556), นัยตากวี (2555) และ เมฆาจาริก (ในนามปากกา ธมกร 2556, เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี 2556) ... นอกจากที่กล่าวแล้ว ที่สำคัญคือ เป็นผู้เขียนหนังสือเรียน “ภาษาพาที” ชั้น ป.๒ และ ป.๕ ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็น กกต.จังหวัดกาญจนบุรี เป็นกรรมการสมาคมภาษาและหนังสือในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นอุปนายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย เป็นบรรณาธิการวารสารแควใหญ่