ขวัญยืน ลูกจันทร์ : เจ้าของรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ปี 2546

ขวัญยืน ลูกจันทร์

ขวัญยืน ลูกจันทร์

การศึกษาสูงสุด วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน

ประเภทงานเขียน เรื่องสั้น

ผลงานเด่น เรื่องสั้น “งานเลี้ยงหมูป่า” ในนิตยสารวรรณกรรมและเรื่องสั้นไทย “ช่อการะเกด”, “ในโอบกอดของความตาย” ในนิตยสารวรรณกรรมและเรื่องสั้นไทย

ผลงานรวมเล่ม รวมเรื่องสั้น “ฝังราก” หนังสือทำมือ สนพ.บ้านเขาน้อย ปี พ.ศ. 2548, รวมเรื่องสั้น “เกาะที่มีมนุษย์ล้อมรอบ” สำนักพิมพ์เมธีแมว ปี พ.ศ. 2554

 

รางวัลที่ได้รับ รางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ของสมาคมนักเขียนไทย จากเรื่อง “เข้าถึงธรรม” ปี 2546, รางวัลรองชนะเลิศ รางวัลพานแว่นฟ้าของรัฐสภาไทย ปี 2547 จากเรื่อง “ปัจจัยแห่งชีวิต”, รางวัลเรื่องสั้นชมเชย ของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จากเรื่อง “ปัจจัยแห่งชีวิต” ในปี 2548

 

ประวัติ นอกจากเป็นนักเขียนแล้ว ขวัญยืน ยังเป็นบรรณาธิการให้กับหลายสำนักพิมพ์ อาทิ สำนักพิมพ์เรไร, สำนักพิมพ์คนทุ่งคา, สำนักพิมพ์บ้านเขาน้อย, หนังสือภูเก็จลายพาดกลอน (ฉบับยังไม่สิ้นลาย) เป็นผู้ประสานงานของเครือข่ายนักเขียนฟื้นฝั่งอันดามัน (WACR) เพื่อช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ ปี พ.ศ. 2547 - 2550 เป็นตัวแทนนักเขียนไทยไปร่วมอภิปรายในการสัมมนา World Cultural Forum 2006, Ginza, Tokyo ในหัวข้อ “ภัยพิบัติกับวรรณกรรม” (Literature and Disasters- Grief and Rebuiding) เป็นตัวแทนนักเขียนไทยไปนำเสนอผลงานเรื่องสั้นเกี่ยวกับสึนามิ เรื่อง “หินนางทอง” ในการสัมมนา World P.E.N. Forum 2008, Shinjuku, Tokyo ในประเด็นเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติและวัฒนธรรม” (Natural Disaster & Culture Screamed, Survived, Start Anew) นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสั้นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น และตีพิมพ์ในหนังสือวรรณกรรมญี่ปุ่นอีก 5 - 6 เรื่อง เช่น เรื่อง “ปัจจัยแห่งชีวิต” เรื่อง “งานเลี้ยงหมูป่า”, เรื่อง “หินนางทอง” เป็นต้น