สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย : เจ้าของรางวัลศรีบูรพา ปี 2562

สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย


     นายสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย เป็นศิลปิน นักคิด นักอุดมคติ และนักเขียนที่สร้างสรรค์งานมานานกว่า ๔๐ ปี เขาใช้งานด้านศิลปะตามแขนงที่เขาถนัดได้อย่างสอดคล้องกับความคิดและอุดมคติ ที่มีในแนวทางเดียวกับกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ "ศรีบูรพา" นั่นคือ เขาทำเพื่อคนอื่นมาตลอดชีวิต


      สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย เกิดเมื่อวัน เสาร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชาย คนสุดท้องของนายมนูญ (บุญลัง) ยอด บางเตย กับนางสมถวิล ยอดบางเตย (สอางค์ วิมลพันธุ์) พ่อเสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๔ ปี แม่เสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๑๓ สินธุ์สวัสดิ์ จึงอยู่ในการเลี้ยงดูของมนตรี ผู้เป็นพี่ชาย
 

      เขาเรียนจบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนศิริทรัพย์วิทยา จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสิงหราชพิทยาคม (โรงเรียนวัดสิงห์ บางขุนเทียน) จบการศึกษา - ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศิลปหัตถกรรม และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น สูง (ปวส.) วิจิตรศิลปกรรม จากวิทยาลัย เพาะช่าง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัย เพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์)
 

      สินธุ์สวัสดิ์มีแนวคิด “เพื่อคนอื่น” ตั้งแต่เรียนชั้นประถม โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการ์ตูนซันเหมาพเนจร ดาบโบราณ และภาพยนตร์จีนของซินแสเนีย ผู้มาเช่าบ้านของแม่สินธุ์สวัสดิ์ เมื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง (ชื่อเรียกในสมัยนั้น) เขาได้เป็นศิษย์อาจารย์กําจร สุนพงษ์ศรี ซึ่งเป็นสอนที่เพาะช่าง อาจารย์เป็นศิษย์ เอกของจิตร ภูมิศักดิ นักคิดนักเขียนคน สำคัญของสังคมไทย เขาได้อ่านหนังสือ และ ได้เรียนรู้ความลึกซึ้ง ความสัมพันธ์ของ สรรพสิ่ง ระหว่างศิลปะ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความไม่เป็นธรรม
 

     ในปี ๒๕๑๕ กมล ทัศนาญชลี ศิษย์เก่าเพาะช่างที่ไปศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ใน สหรัฐอเมริกา ได้นําผลงานศิลปะสร้างสรรค์ ของเขามาแสดงที่เพาะช่างเป็นแรงบันดาลใจให้สินธุ์สวัสดิ์ เปิดการรับรู้ทางโลกทัศน์ ได้เห็นการผสมผสานงานศิลปะร่วมสมัยเข้า กับเนื้อหาของสังคม และได้เห็นถึงเทคนิค กลวิธีในการสร้างงานศิลปะอีกด้วย หลังจากนั้น เขาได้ตระเวนไปศึกษางานศิลปะ ของศิลปินอีกหลายคน อาทิ จ่าง แซ่ตั้ง ประเทือง เอมเจริญ ชาญอาศรมสาธนา จน เป็นแรงบันดาลใจให้เขากับเพื่อน ๆ ร่วมกัน ก่อตั้งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ชื่อว่า “แนวประสาน ศิลปกรรม” เพื่อทํากิจกรรม และต่อมาได้ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กรณีเรียกร้องให้รัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร ปล่อยตัว ๑๓ ผู้ต้องหา ซึ่งถูกจับกุมเพราะแจกใบปลิว เรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนนําไปสู่เหตุการณ์ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๖
 

      ในเหตุการณ์ดังกล่าว สนธุ์สวัสดิ์ (ร่วมกับกลุ่มกนกหกสิบ) เข้าร่วมเป็นหน่วย รักษาความปลอดภัยให้รถนําขบวนของ ประชาชน หลังจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เขากับเพื่อนนักศึกษาเพาะช่างได้ ร่วมกันทํากิจกรรมเพื่อสังคมและการเมือง ในนาม “แนวร่วมเพาะช่าง”
 

      ปี ๒๕๑๘ สินธุ์สวัสดิ์ได้เป็นสมาชิก แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ทําหน้าที่ ผู้ประสานงาน รับผิดชอบโครงการภาพ ศิลปะคัตเอาท์การเมืองเดือนตุลาคม ๒๕๑๘ โดยมีอาจารย์ถกล ปรียาคณิตพงศ์ เป็นผู้คิดค้นโครงการ นิทรรศการภาพนี้จัด แสดงบริเวณเสาไฟกินรี บนเกาะกลางถนน ราชดําเนินตลอดสาย สินธุ์สวัสดิ์มีผลงาน ศิลปะร่วมแสดงด้วย
 

      ต่อมาในเดือนมีนาคม ๒๕๑๙ สินธุ์ สวัสดิ์ ทําหน้าที่ผู้ประสานงานอีกครั้งในงาน นิทรรศการภาพศิลปะคัตเอาท์การเมืองต่อ ต้านจักรวรรดินิยม ติดตั้งบริเวณรอบสนาม หลวง และหน้าสถาบันการศึกษาในกรุงเทพฯหลายแห่ง สินธุ์สวัสดิ์มีผลงานร่วม แสดงด้วยเช่นกัน
 

      เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ๒๕๑๙ สินธุ์สวัสดิ์เป็นผู้ที่รอดชีวิตมาได้จาก การสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท้องสนามหลวง และบริเวณใกล้เคียงได้ เพราะเพื่อนที่เป็น ลูกเสือชาวบ้านช่วยชีวิตไว้หลังเหตุการณ์ 5 ตุลาคม ๒๕๑๙ สินธุ์สวัสดิ์ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อร่วมต่อสู้กับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บริเวณเทือกเขาดอยยาว ดอยผาหม่น จังหวัด เชียงราย ตะเข็บชายแดนไทย-ลาว ประจํา หน่วยโรงเรียนการเมืองทหาร ๗ สิงหา ทํา หน้าที่ผู้รายงานข่าว พิธีกร ฝ่ายศิลปกรรม และบรรณาธิการร่วมวารสารไฟเหนือ ของ ฐานที่มั่นปฏิวัติ เขต ๔
 

      เมื่อสถานการณ์ทางการเมือง เปลี่ยนแปลงไป พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ เรื่องนโยบายการต่อสู้เพื่อ เอาชนะคอมมิวนิสต์ ซึ่งกําหนดนโยบาย ใหม่ในการปฏิบัติต่อนักศึกษาและ ประชาชนที่เข้าป่า ให้สามารถมีชีวิตใหม่ใน สังคมได้ สินธุ์สวัสดิ์จึงเดินทางกลับเข้าเมือง ประกอบอาชีพอิสระร่วมกับเพื่อน ๆ โดย เปิดโปรดักชั่นเฮาส์และซิลค์สกรีน โดยจัด เวลาส่วนหนึ่งไว้ทําโปสเตอร์เพื่อสังคมด้วย
 

      ปลายปี ๒๕๒๕ เขาได้เข้ามาอาศัยใน บริเวณพื้นที่บ้านของครูองุ่น มาลิก อดีต อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีแนวคิด “เพื่อคนอื่น” เช่นกัน จากนั้นปี ๒๕๒๗ จึง ได้ทํางานเป็นเลขานุการครูองุ่น และเป็นผู้ ช่วยจัดโครงการละครหุ่นคณะศิษย์ครูองุ่น มาลิก จนกระทั่งปี ๒๕๓๓ ครูองุ่นถึงแก่ กรรม เขาได้เป็นผู้จัดการศพและเป็นผู้ จัดการมรดกร่วมตามพินัยกรรมครูองุ่น มาลิก
 

       สินธุ์สวัสดิ์ไม่เคยหยุดทํางานเพื่อ สังคม ปี ๒๕๓๕ เขาเป็นประธานกลุ่มสื่อ ประชาธิปไตย ปี ๒๕๓๖ เป็นกรรมการและ เลขานุการมูลนิธิไชยวนา และในปีเดียวกัน นี้เขารับตําแหน่งผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์ และได้ทํางานต่อเนื่องไปจนกระทั่งปี ๒๕๕๙

 

สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย รับรางวัลศรีบูรพา


       “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง และมีผลงานสาธารณะดีเด่นคือ ภาพคัตเอาท์การเมืองเดือนตุลา ได้รับการคัดเลือกนำไปเป็นต้นแบบสร้างประติมากรรมประดับสถูปวีรชน อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มูลนิธิ 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว และได้รับโล่เกียรติคุณบุคคลทำคุณประโยชน์ ให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2550
 

        นอกจากผลงานด้านศิลปะ ทั้งการจัดแสดงเดี่ยว และกลุ่ม รวมถึงการเป็นผู้จัดนิทรรศการแสดงศิลปะจำนวนมาก ทั้งก่อนหน้าและในช่วงที่รับตำแหน่ง “ผู้จัดการสถาบันปรีดี พนมยงค์” อาทิ การแสดงสด “สันติภาพในใจเรา” 11 พฤษภาคม 2553 ในงานศิลปกรรมกลางแจ้ง “ประชาธิปไตยในแง่งาม” 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ กับสังคมไทย ริมทางเท้าถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร “ขับขานฉัน” 31 ตุลาคม 2551 ในงานศิลปะกับสังคมเทศกาลศิลปะนานาพันธุ์ ครั้งที่ 1 ณ ลานน้ำพุ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร


          แสดงกลุ่มชุด “เสียงเพรียกจากอดีต” เบิกฟ้า 25 ปี 6 ตุลาคม 2519-2544 จากลานโพธิ์สู่กำแพงประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร แสดงกลุ่มชุด “นาฏกรรม-คำกวี: ลมใต้ปีกนกสีเหลือง” 30 ปี 6 ตุลาคม 2519-2549 จากลานโพธิ์สู่กำแพงประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
 

          ผลงานแสดงนิทรรศการศิลปะ (เดี่ยว) ของ “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” 2547 นิทรรศการภาพศิลปะชุด “สะบัด” สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร 2548 นิทรรศการศิลปะกับความคิดชุด “สันติภาพคืออะไรในใจเรา” สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร 2550 นิทรรศการศิลปะชุด “เส้น เสียง ศิลป์” สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร 2550 นิทรรศการย่อย “ศิลปะกับการเมือง” ชุด “เจ้าแกละกับเมืองไทยวันนี้” สถาบันปรีดี พนมยงค์กรุงเทพมหานคร 2553 นิทรรศการย่อยขนาดเล็ก “ศิลปะกับการเมือง” ชุด “เจ้าแกละสันติกับความรุนแรงเดือนเมษายน-พฤษภาคม”


          สำหรับงานวรรณกรรม “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” มีผลงานการเขียนหนังสือเล่ม อาทิ บันทึกความทรงจำ “ชีพนี้เพื่อประชาธิปไตย” รวมบทกวี-ลำนำ “ทางและเวลาของความหวัง” บันทึกของฉันสีสันไปสู่ดวงดาว บันทึกความทรงจำบางเรื่อง พ.ศ.2497-2550 รวมบทรำพึงรำพันและเล่าเรื่อง “ลมที่พัดพาไป”


          นอกจากนี้ “สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย” ยังมีผลงานด้านอัลบั้มเพลง เช่น สานเสียงสำเนียงศิลป์ แม่หญิง รวมบทเพลงคัดสรร ชุดที่ 1 “สะบัดเสียง” รวมบทเพลงคัดสรร ชุดที่ 2 “หยิบรุ้งมาถักทอเป็นสายใยจากขั้วหัวใจ” รวมบทเพลงคัดสรร ชุดที่ 3 “ศิลป”

           
          ทั้งหมดเพื่อเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาคจักบังเกิดแก่มวลมนุษยชาติ