นามปากกา :

รางวัลที่ได้รับ :

ประวัติส่วนตัว :

       ชุ่ม ณ บางช้าง เกิดวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 4 คนของนายเฉยและนางสาย ณ บางช้าง พออายุ 3 ขวบครอบครัวได้อพยพไปอยู่ที่ลพบุรีซึ่งเป็นถิ่นเดิมของมารดา

      ได้ไปเป็นครูที่วัดราชาธิวาส 1 ปี พระองค์เจ้าบวรเดช อุปราชมณฑลพายัพในขณะนั้นขอตัวไปเป็นครูโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จนเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2501 ได้บรรดาศักดิ์รองอกมาตย์โท แต่การเป็นครูไม่ได้หยุดต่อมาได้ไปเป็นอาจารย์พิเศษให้แก่โรงเรียนวัฒโนทัยพยัพ โรงเรียนเรจินาเสรีและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้กรมศิลปากรได้ขอตัวไปช่วยงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ล้านนาไทย ระหว่างพ.ศ. 2514-2519

      การแต่งงานได้เกิดขึ้นในช่วงที่เริ่มเป็นครูที่วัดราชาธิวาส กรุงเทพฯภรรยาได้ติดตามไปอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่หลายปี มีบุตรชาย 2 คน แต่ต้องมีอันต้องแยกทางกัน และได้แต่งงานใหม่กับนางแหวน(ซำถละ) ณ บางช้าง เมื่อ พ.ศ. 2482 มีบุตรสาวทั้งหมด 5 คน โดยพำนักอยู่ที่ “กระท่อมลพบุรี” บ้านเลขที่ 17 ถนนอินทวโรรส ซอย 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

       งานประพัมธ์นั้นเริ่มตั้งแต่ครั้งที่ยังเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพราะในขณะนั้นบรรยากาศการประพันธ์และการแปลเรื่องจากต่างประเทศกำลังคึกคักมาก โดยร่วมกับเพื่อนทำหนังสือในชั้นเรียนซึ่งเป็นที่มาของนามปากกา “ลพบุรี” เพราะมีเพื่อนคนหนึ่งใช้นามปากากาตามชื่อเมือง “ศรีเชียงใหม่” แต่จุดเริ่มต้นของการประพันธ์อย่างจริงจังเป็นเพราะได้ไปเรียนหนังสือกับ หลวงสารานุประพันธ์ ที่ตอนนั้นเป็นคนที่กำลังมีชื่อเสียงในด้านการแต่งและแปลนวนิยายต่างประเทศในขณะนั้น ระยะแรกได้เข้าไปมีส่วนช่วยแปลบางเรื่องเป็นการแก้ขัดในช่วงี่หลวงสารานประพันธ์มีธุระจำเป็น จนพ.ศ.2458 ตอนนั้นกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6 จึงได้เริ่มแปลเรื่อง “ภัยแห่งประเทศอังกฤษ” เป็นผลงานของวิเลียม เลอเคอ ซึ่งเนื้อเรื่องมีความยาว 8 เล่มจบ จัดพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพฯ เดลิเมล์” ได้ค่าเรื่องครั้งแรก 90 บาท ทำให้ตั้งใจสร้างผลงานอย่างจริงจัง ถึงกับย้ายไปอยู่ที่บ้านหลวงสารานุประพันธ์ และช่วยแปลหนังสือ เขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ไปลงหนังสือพิมพ์ “ศรีกรุง” เคยได้แปลบทภาพยนตร์ที่โรงพัฒนาการ แล้วยังเคยแต่งบทละครให้คณะปราโมทัย

        ต่อจากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่ไปรับราชการ ในขณะที่รับราชการอยู่นั้นก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติของอาณาจักรล้านจากตำรา ตำนาน พงศาวดาร และได้เคยเป็นเจ้าหน้าที่นำทางพาพวกญี่ปุ่นไปหาที่ตั้งค่ายตอนที่เกิดสงคราม จนเจอสถูปพระนเรศวรที่ทุ่งแก้ว ท้องที่เมืองหาง เขตไทยใหญ่ เป็นบริเวณที่พระเนรศวรมหาราชสวรรคตตอนยกทัพไปปราบเมืองตองอู มีการจารึกไว้หลายภาษา เช่น ภาษาไทยเหนือ ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ จึงทำให้ได้รับเกียรติมห้เป็นมัคคุเทศก์ประจำเมืองเชียงใหม่ เคยถวายคำบรรยายในการตามเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 ของประเทศอังกฤษ เคยถวายการต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าโบดวงแห่งเบลเยี่ยม และเคยนำเสด็จสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัยกาลที่ 7 ทอดพระเนตรวัดพระสิงห์รมหาวิทยาร ประกอบกับมีความตั้งใจจะลบล้างคำคนทั่งไปที่มักเข้าใจว่าคนเชียงใหม่เป็นลาวจึงได้ทดลองเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ล้านนาไทยเรื่อง ”เลือดโยน” ในนามปากกา “ลพบุรี” เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2462 พิมพ์ในหนังสือ “สารานุกูล” มีความยาว 100 หน้า เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องแรกๆ ของไทยได้รับความสำเร็จดีจึงได้ทำอีกเรื่อง “เศวตฉัตรน่านเจ้า” โดยสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ของนายเวช กระตุฤกษ์ จัดพิมพ์เป็นแบบปกแข็ง มีความยาว 19 เล่มจบ ผลที่ได้รับเป็นที่นิยมมากจึงต้องพิมพ์เป็นครั้งที่สอง ทำให้นามปากกา “ลพบุรี” ได้เขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่วกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรแสนหวี และอาณาจักรโยนกทยอยออกมาไม่ขาดระยะทั้งที่พิมพ์เป็นเล่ม “ฉบับกระเป๋า” แล้วยังเคยใช้นามปากกาอื่น คือ พรหมมาศ เมืองละโว้ และศรทอง จนกระทั่งพ.ศ. 2507 เมื่อนายเวช กระตุฤกษ์ ได้เลิกล้มกิจการสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ “ลพบุรี” จึงหยุดเขียนนนิยายไปด้วย หลังปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมาได้เขียนหนังสือประวัติวัด และเรื่องราวทางพุทธศาสนาในบ้านนาไทยเพื่อเป็นวิทยาทานแก่วัดต่างๆ

       นวนิยายของ “ลพบุรี” ที่มีอยู่มากมายนั้นนอกจากนวนิยายลึกลับเรื่อง “มือมฤตยู” และ “นางในวนา” ที่เหลือเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์โดยอาศัยเค้าเรื่องมาจากข้อมูลในตำนานและพงศาวดารฉบับต่างๆ โดยเฉพาะเรื่อง “ขุนพลกาฬสิงห์” ซึ่งอาศัยเค้าเรื่องจากตำนานสิงหนวัตินับเรื่องเอกมีความยาวถึง 9,497 หน้า ได้พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือฉบับกระเป๋าโดยสำนักพิมพ์เพลินจิตต์รวม 138 เล่ม และเนื่องจากนวนิยายของ “ลพบุรี” ส่วนใหญ่ตัวละครจะเป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีทีเก่งกล้าสามารถ มีการใช้เวทมนตร์คาถาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คล้ายนวนิยายจีนกำลังภายใน สำนักพิมพ์เพลินจิตต์จึงเรียกว่า “จินตนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย” แต่เรื่องประวัติศาสตร์นั้นมีความแม่นยำมากในเรื่องตำแหน่งและที่ตั้งของอาณาจักร

      รองอำมาตย์โทชุ่ม ณ บางช้าง เข้าของปากกา “ลพบุรี” นำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่องแต่ด้วยความเป็นคนที่เก็บตัวจึงได้ใช้ชีวิตในวัยชราเงียบๆ อยู่กับบ้านที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อตันปี 2524 และได้กลับมาเขียนนวนิยายอีกครั้งจากที่ไม่ได้เขียนมานานถึง 20 ปี และเรื่องที่เขียนคือ “ลุยตะเลง” และได้เขียนหนังสือเรื่อยมาจนอายุ 89 ปี