เทพ มหาเปารยะ : 1 ใน 5 นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น วาระครบรอบ 100 ปีเรื่องสั้นไทย

เทพ มหาเปารยะ

ประวัติย่อ
เกิดเดือน เมษายน พ.ศ.2447 เป็นบุตรคนที่ 2 ของมหาอำมาตย์ตรี พระยาศิริธรรมบริรักษ์(ทับ มหาเปารยะ) และคุณหญิงแพว เมื่ออายุ 8 ขวบ บิดาได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นได้ไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาจนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ตอนเด็กได้ไปเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพรกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ตำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ ได้ทรงพระกรุณารับอุปการะให้เข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง(วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) แต่ไม่ทันเรียนจบก็ต้องย้ายไปเรียนที่ปีนัง 5 ปี แล้วจึงได้กลับมาเมืองไทย

เริ่มจากการทำงานที่ห้างมิสหลุยส์ (บริษัทหลุ่ยส์ ที.เลียวโนเวนส์) ย.ร.อันเดร เป็นข้าราชการที่กรมตรวจคนเข้าเมือง แล้วลาออกมาทำที่หนังสือพิมพ์ Bangkok Daily Mail ได้ช่วงหนึ่งแล้วไปเป็นผู้จักการโรงภาพยนตร์พัฒนาการ ซึ่งทันสมัยที่สุด ในช่วงนี้เองมิตรภาพระหว่างเขากับถนอม อรชุนกะ ได้รู้จักกันตั้งแต่อยู่ที่ห้างมิสหลุยส์ และได้รักกันจนแต่งงานกันในที่สุด

ได้มาเป็นผู้จักการบริษัทป่าไม้ศรีมหาราชาและใช้ชีวิตครอบครัวที่นั้นอย่างสงบ ต่อมาไม่นานได้เกิดกบฏขึ้นและได้ถูกจับกุมไปสอบสวนอยู่ 2-3 สัปดาห์ด้วยข้อหาพัวพันกับกบฏ อาจมาจากสาเหตุที่ว่าได้เคยทำที่ Bangkok Daily Mail ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ในเครือบริษัทสยามปรีเปรสที่มีพระยาศราภัยพิพัฒน์เป็นผู้จัดการ ผลการสอบสวนไม่พบหลักฐานจึงได้รับการปล่อยตัวมาแต่ก็ต้องเสียตำแหน่งผู้จัดการบริษัทป่าไม้ หลังจากนั้นก็ได้ไปทำงานในแผนกโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จากการเชิญชวนของผู้ก่อการคนสำคัญในคณะราษฏร ซึ่งเป็นอธิบดีกรมรถไฟ แต่ทำได้ไม่นานเท่าไรก็ต้องออกเพราะจากสุขภาพทรุดโทรมด้วยวัณโรคกำเริบ จึงออกมาในปีพ.ศ.2484 แล้วกลับมารักษาตัวอยู่ที่บ้าน

งานแปลงได้เริ่มเรื่อง “ปรโลก” ในไทยเขษม รายเดือนตั้งแต่ปลายปี 2468 ระยะที่เพิ่งกลับจากปีนัง ได้แต่งเรื่องไว้ในศรีกรุงรายเดือน เริงรมย์รายปักษ์ และไทยเขษม ช่วงปี 2469-2470 ได้มี 9 เรื่อง หลังจากนั้นได้แปล “บาปของพ่อ” จากเรื่องของแซปเปอร์ ซึ่ง “ยาขอบ” ได้กล่าวย่อย่องการแปลงไว้ว่าเยี่ยมมาก และแปลร่วมกับ ทวี มหาเปารยะผู้เป็นน้องชายอีก 2 เรื่องคือ “กัปตันแครช” และ”บันเทิงคดีอุกฉกรรจ์” ของ เอชตัน-วูลฟ์ แต่เนื่องจากสุขภาพไม่ค่อยดีเท่าไรจึงต้องออกจากงานมารักษาตัว ทำให้ที่บ้านนั้นเป็นเหมือนที่นัดพบของนักหนังสือพิมพ์ และกำลังใจของภรรยาที่เป็นนักประพันธ์ จึงทำให้หวนกลับมาเขียนหนังสืออีกครั้ง โดยเขียนเรื่อง “จำปูน” ลงพิมพ์ในศิลปินรายเดือน เมื่อ พ.ศ.2485 และได้เขียนเรื่อง ค่าไถ่ชีวิต ดงจระเข้ และลูกชายสรั่งโต แต่เรื่องยังไม่ทันจบสมบูรณ์ภรรยาก็ได้แต่งเติมจนจบบริบูรณ์นอกจากนี้ยังได้แปลเรื่อง “รมณียนิยาย” ของบอกกาจจิโอและ “อินทิราเยื่ยมสกล” และถึงแก่กรรมเมื่อปี 2485

ผลงานประพันธ์ของเทพ มหาเปารยะ จะไม่มีมากแต่เรื่องที่ได้รับความนิยมคือ เรื่องสั้น “จำปูน” ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูง ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณแปลเป็นภาษาอังกฤษ ลงพิมพ์ในนิตยสารเอเซียแมกกาซีน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2525 และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบห้านักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น ในวาระครบรอบ 100 ปี เรื่องสั้นไทย

นามปากกา
- เทพ มหาเปารยะ

ผลงานรวมเล่ม
เรื่องสั้น

  • จำปูน
  • ค่าไถ่ชีวิต
  • ลูกชายสรั่งโต
  • ผิดกลายถูก
  • เคราะห์ยังดี กรรม!
  • จดหมายเก็บจากศพผู้ฆ่าตัวตาย
  • เงินกับความรัก
  • จะโทษใคร
  • คบเด็ก
  • อวสานแห่งนิทาน
  • ขออนุญาตคุณพ่อ

เรื่องแปล

  • บาปของพ่อ
  • ปรโลก
  • กัปตันแครช ฯลฯ

สารคดี

  • ดงจระเข้

เกียรติยศทีได้รับ
- เดือนกุมภาพันธ์ 2525 และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบห้านักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น ในวาระครบรอบ 100 ปี เรื่องสั้นไทย