ขยะอาหาร ตัวก่อปัญหาภาวะโลกร้อน : เรื่องอันตรายที่ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม

ขยะอาหาร ตัวก่อปัญหาภาวะโลกร้อน

      ถ้าพูดถึง “ขยะอาหาร” หลายคนอาจเข้าใจว่าคือขยะที่เกิดจากเศษอาหารเหลือทิ้งจากการประกอบอาหารหรือการบริโภคเท่านั้น แต่ความจริงแล้วขยะอาหารเกิดขึ้นในทุกกระบวนการ เริ่มต้นตั้งแต่การเพาะปลูก การผลิตและแปรรูป การขนส่ง การประกอบอาหาร ไปจนถึงการบริโภค 


     ขยะอาหารถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือหนึ่ง Food Loss เป็นอาหารที่เกิดการสูญเสียที่ต้นทางของห่วงโซ่อาหาร (food chain) จากกระบวนการผลิตในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น ผลผลิตที่ถูกทิ้งเพราะคุณภาพต่ำไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้ วัตถุดิบเหลือใช้จากกระบวนการผลิตและแปรรูป สองคือ Food Waste ขยะอาหารจากปลายห่วงโซ่อาหารที่เกิดจากผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค เช่น อาหารที่เหลือทิ้งจากการบริโภค อาหารหมดอายุ อาหารส่วนเกินจากธุรกิจร้านอาหาร เป็นต้น 
 

ขยะอาหาร

 

      ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ทั่วทั้งโลกจะมีอาหารที่ถูกทิ้งเป็นขยะราว 1.3 พันล้านตัน/ปี โดยประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นประเทศที่สร้างขยะสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ในแต่ละวันจะมีขยะอาหารเกิดขึ้นถึง 4,284 ตัน ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบหรือถมกลางแจ้ง เมื่อปริมาณขยะสะสมทุกวันก็กลายเป็นหมักหมมส่งกลิ่นเหม็นแถมยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และขยะที่เน่าเสียยังปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งมีฤทธิ์ในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่รุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าออกมา ส่งผลให้อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้น!
 

ขยะอาหาร

 

      บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลต่อระบบห่วงโซ่การผลิตอาหาร เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้ริเริ่มนำหลักการ 3R ได้แก่ Reduce, Reuse, Recycle มาเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยควบคุมทุกกระบวนการผลิตของทุกผลิตภัณฑ์ให้ใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดการสูญเสียอาหารและของเสียจากการเหลือทิ้งให้ได้มากที่สุด อีกทั้งยังควบคุมการขนส่งตลอดกระบวนการเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์จนถึงมือลูกค้า ทำให้ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ ประเทศไทย สามารถลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารลงได้แล้วถึง 43% หรือ 843 ตัน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50% ภายในปี 2568 


     ไม่เฉพาะในสายงานผลิตเท่านั้น แต่อายิโนะโมะโต๊ะยังส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการลดขยะอาหาร ด้วยการให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมแก่พนักงานผ่านกิจกรรม ISAVE & GREEN OFFICE โดยรณรงค์ให้พนักงานทุกคนกินอาหารให้หมดจาน และแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อลดการปนเปื้อนและง่ายต่อการนำไปกำจัด ซึ่งในส่วนของขยะเศษอาหารที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปทำปุ๋ย หรือนำไปเป็นอาหารสัตว์ 

 

ขยะอาหาร
 


     ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมเพียงบางส่วนที่บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะมุ่งมั่นทุ่มเททำเพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ในการช่วยแก้ปัญหาสังคมและสร้างคุณค่าผ่านการดำเนินธุรกิจของบริษัท ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่บริษัทฯ ตั้งใจทำเพื่อหวังสร้างความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม ท่านสามารถเข้าไปติดตามกิจกรรมดีๆ ของบริษัทฯ เพิ่มเติมได้ที่ www.ajinomoto.co.th  


     รักษ์โลกไม่ใช่เรื่องยาก อายิโนะโมะโต๊ะเริ่มแล้ว ท่านเองก็เริ่มได้ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการกินอาหารให้หมดจาน ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะเพื่อลดภาระสังคมและสร้างความยั่งยืนให้กับโลกของเรา 

 

แหล่งข้อมูล
1. รายงานตัวชี้วัดปริมาณขยะมูลฝอย (2553-2564): http://env_data.onep.go.th/reports/subject/view/117
2. UNEP Food Waste Index Report 2021: https://www.unep.org/resources/report/unep-food-waste-index-report-2021
3. ขยะอาหาร (Food Waste) และการสูญเสียอาหาร (Food Loss): https://ngthai.com/science/40756/food-waste-food-loss/
4. การสูญเสียอาหาร: https://shorturl.asia/Au47O

 

Writer

Au Thitima

Content Creator ผู้รักในการอ่าน ชอบในการเขียน และคลั่งไคล้สัตว์สี่ขาที่เรียกว่าแมว