14 ความผิดปกติทางจิตและร่างกาย : ตั้งชื่อตามตัวละครในโลกวรรณกรรม

14 ความผิดปกติทางจิตและร่างกาย

HUCKLEBERRY FINN SYNDROME

                มาจากหนังสือ การผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รีฟินน์ โดย มาร์ก ทเวน ท่ามกลางการผจญภัยอันน่าตื่นเต้น การพลิกพลิ้วเอาตัวรอดการคดโกงหลอกลวงและอารมณ์ขันอันชาญฉลาด ฮักเกิลเบอร์รีฟินน์ กลับบรรจุไว้ด้วยประเด็นปัญหาสำคัญมากมาย ตั้งแต่เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเหยียดผิว ชนชั้นวรรณะ การศึกษา ศาสนา ฯลฯ สอดแทรกไว้ในตลกร้ายอันเป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของ มาร์ค ทเวน 

                และบทของเรื่องนี้ทำให้เป็นที่มาของชื่อโรคผิดปกติทางจิต ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ ซินโดรม (Huckleberry Finn Syndrome)  มีชื่อทางการแพทย์ว่า "Truancy Syndrome" มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ดูสดใสและเฉลียวฉลาดเกินตัว แต่ถูกผู้ปกครองละเลยความใส่ใจ ซึ่งส่งผลให้เด็กเหล่านั้นกลายเป็นคนหลีกหนีปัญหาและปัดความรับผิดชอบอยู่เสมอ เพื่อเป็นกลไกการป้องกันความรู้สึกของตัวเองจากการถูกปฎิเสธโดยผู้ปกครอง  หากไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อาจทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้แม้จะเป็นคนเก่งก็ตาม และอาจมีความรู้สึกนับถือตัวเองต่ำและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย

 

Othello, Moor of Venice

 

OTHELLO SYNDROME - โรคขี้หึง

                กลุ่มอาการของโรคนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเพ้ออิจฉา monosymptomatic ได้รับชื่อจากละคร "Othello, Moor of Venice" โดย William Shakespeare. ในนั้นโอเทลโลตัวละครหลักสานเครือข่ายของความสงสัยเกี่ยวกับการนอกใจที่ถูกกล่าวหาของเดสเดโมน่าหุ้นส่วนของเขาที่จะฆ่าแล้วตกอยู่ในการฆ่าตัวตาย.

                ว่ากันว่า ผู้ที่เป็นโรค Othello syndrome ต้องเผชิญกับความหึงหวง  เรียกอีกอย่างว่า delirium celotypic ความผิดปกตินี้ทำให้บุคคลนั้นมีความหึงหวงที่ต่อคู่ของเขาและ มีความระแวง สงสัยอย่างไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ ในอีกฝ่าย

                ความสัมพันธ์กับผู้คนประเภทนี้ย่อมเป็นความทุกข์ สำหรับทั้งสองฝ่าย และตราบใดที่ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถหาทางออกได้ ก็ยากที่จะเกิดความสัมพันธ์ที่มั่นคงได้

 

POLLYANNA SYNDROME - มองโลกในแง่บวก

                อาการ พอลลีแอนนา มาจากชื่อตัวเอก ในหนังสือ Pollyanna โดย Eleanor H. Porter ก่อนที่พ่อผู้เป็นที่รักของ พอลลีแอนนา  จะจากไป เขาได้สอนเคล็ดลับการใช้ชีวิตให้กับพลอลีแอนนา นั่นคือ "เกมดีใจ" เป้าหมายของเกมนี้คือ ให้มองหาสิ่งดี ๆ ในทุกสถานการณ์ที่เลวร้าย เพียงไม่นานบุคคิกที่ร่าเริงแจ่มใสของพลอลีแอนนาก็ทำให้ผู้คนรายรอบและทั้งเมืองสดใสขึ้น ซึ่งสามารถส่งผลเสียได้เช่นกัน หากเกิดสถานการณ์เลวร้าย

 

 

DORIAN GRAY

 

DORIAN GRAY SYNDROME - วิตกกังวลในรูปลักษณ์

                “ดอเรียน เกรย์ ซินโดรม” มาจากชื่อของ ดอเรียน เกรย์ หนุ่มน้อยหน้ามนใสซื่อหน้าตางดงามและยังเยาว์ และเขาได้รับค่านิยมจากท่านลอร์ด ตาลอร์ด ให้มีความหลุ่มหลงสิ่งสวยงามในรูปลักษณ์ ผลงานของ ออสการ์ ไวดล์ ทำให้กลายเป็นชื่อโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยลุ่มหลงอยู่กับความงามในอุดมคติ จนต้องขวนขวายหาวิธีดึงรั้งความงามนั้นไว้ ไม่ให้เสื่อมหรือหายไปกับกาลเวลา คนไข้เหล่านี้มักคิดวิตกกังวลว่าตนไม่สวย ผิวไม่ดี จมูกไม่โด่ง ตาไม่โต ปากไม่อิ่ม ขาไม่เรียว เรียกว่ามีข้อตำหนิไปเสียทุกอย่าง และยังกังวลว่าคนรอบข้างจะคิดเหมือนกัน จนทำให้ซึมเศร้า เก็บตัว หมกมุ่นอยู่หน้ากระจกและใช้เวลาไปกับการสร้างความสวยงาม ทั้งการใช้เครื่องสำอางมากมาย การแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเครื่องประดับเยอะแยะ การทำศัลยกรรมตกแต่งที่ไม่มีวันจบสิ้น จนเกิดปัญหาในการเข้าสังคม

 

CINDERELLA COMPLEX - คาดหวังสูง

                อาการ ซินเดอเรลลาร์คอมเพล็กซ์ แน่นอนว่ามาจากชื่อ เทพนิยายที่เรารู้จักกันดี ใช้เรียกผู้มีพฤติกรรมที่คอยหวังพึ่งพาคนอื่นอยู่เสมอทั้งคนรอบข้าง หรือแม้แต่คู่ชีวิต มีความฝัน ความคาดหวังสูงในการดำเนินชีวิตและความรักที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าความสมบูรณ์แบบนั้นมันมีแต่ในนิยายเท่านั้น

 

SUPERMAN COMPLEX 

                คืออาการที่ไม่ยอมรับในความไม่สมบูรณ์พร้อมและศักยภาพของผู้อื่น อาจจะมีแนวคิดแบบซาดิสต์ ยืนมองผู้อื่นถูกลงโทษซ้ำแล้วซ้ำอีก ในขณะที่ตนเองอยู่ในที่ปลอดภัย

 

SLEEPING BEAUTY SYNDROME

                อาการ เจ้าหญิงนิทรา เป็นอาการผิดปกติของสมองที่มีคนเป็นค่อนข้างน้อย (ในกรณีที่นอนหลับนานเป็นสัปดาห์) ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยเด็กจนถึงวัยรุ่น มีการค้นพบผู้ป่วยมีอายุน้อยที่สุดคือ 4 ขวบ ซึ่งโรคนี้ถือได้ว่าเป็นโรคที่พรากวันเวลาในการเรียนรู้ไปจากเด็กๆ ทำให้เรียนรู้ค่อนข้างช้า เสียโอกาสในการเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น

 

OEDIPUS COMPLEX

                คือการที่เด็กผู้ชายรักแม่มากๆ เลยอิจฉาพ่อเพราะรู้ว่าแม่รักพ่อ จึงพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อเพื่อให้แม่รักบ้าง

                มาจากหนังสือ Oedipus Rex  โดย Sophocles เล่าเรื่องราวของ Oedipus ผู้เกิดมาพร้อมคำทำนายที่ว่า วันหนึ่งเขาจะเติบโตขึ้นมาฆ่าบิดาของตัวเอง และสมรสกับมารดาของตัวเอง แต่ในทางจิตวิทยานั้น ปม Oedipus หรือ Oedipus Complex คือทฤษฎีที่เสนอขึ้นโดย Sigmund Freud นักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรีย ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า เด็กชายจะเก็บความหลงใหลในแม่ตัวเองไว้ที่ระดับจิตไร้สำนึก (unconcious) และจะนึกอิจฉาพ่อที่ได้ครอบครองความรักจากแม่ไป เขาจะพยายามจะเป็นให้ได้เหมือนพ่อของเขาครับ

 

PETER PAN SYNDROME

                คือ โรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ ไม่อยากรับผิดชอบ อยากเป็นเด็ก พบในผู้ใหญ่ที่ใหญ่แต่ตัว แต่จิตใจยังเป็นเด็ก ชอบแต่งตัวและสนุกแบบเด็กๆ ไม่อยากรับผิดชอบอะไรเลย สาเหตุเกิดจากพ่อ แม่ ครอบครัวเลี้ยงลูกแบบปกป้องมากเกินไป กลัวลูกจะหกล้ม บาดเจ็บ เลยไม่ปล่อยให้ลูกฝึกคลาน เดิน หรือทำอะไรหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทำให้ลูกต้องพึ่งพ่อ แม่ คนเลี้ยงตลอดเวลา กลัว ไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ ทำอะไรหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม และไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

 

MUNCHAUSEN SYNDROME

                โดยโรคนี้มีการวินิจฉัยครั้งเเรกจาก Dr Roy Meadow ในปี 1977 โดยพบว่า อาการของโรคคือ คนดูเเลเด็ก (ปรกติเเล้ว เกิดกับเเม่ของเด็กค่ะ) จะทำร้ายลูกตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น โดยที่สถานการณ์ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้
1. เด็กถูกทำร้าย(โดยไม่รู้ตัว) จากผู้ปกครอง
2.เด็กจะถูกพามารักษาที่โรงพยาบาลตลอด (ไม่ใช่ทำร้ายเเล้วปล่อยให้เด็กตาย)
3. เเม่เด็กจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นว่าทำไมลูกตัวเองป่วย
4.ถ้าเด็กเเละเเม่ถูกเเยกออกจากกัน อาการของเด็กจะดีขึ้นมาก

                โรคนี้มาจาก ตัวละครที่ชื่อว่า Baron Munchausen แต่งโดย Rudolf Erich Raspe ได้รับแรงบันดาลใจจากชายคนหนึ่งซึ่ง เป็นคนที่ชอบเอาเรื่องราวจากประสบการณ์ของตนมาเล่าในระหว่างพบปะสังสรรค์ในวงสังคมต่างๆ และจะเล่าให้เกินความเป็นจริงด้วยเจตนาเสียดสีและให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินต่อผู้ฟัง   ถือว่าเป็นศิลปการเล่าเรื่องและเรียกร้องความสนใจจนเป็นทีติดอดติดใจและเล่าขานกันปากต่อปากในความสามารถการเล่าเรื่องที่เกินความเป็นจริงของ Baron Münchhausen

 

ALICE IN WONDERLAND SYNDROME

               ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ จะมีอาการผิดปกติคือมองเห็นภาพบิดเบี้ยว ผิดสัดส่วน คล้ายๆ กับเวลาเข้าสวนสนุก แล้วเจอบ้านกระจก ที่กระจกบิดๆ เบี้ยวๆ เห็นตัวเองบิดไปบิดมาน่ะแหละ คุณอาจจะมองเห็นนิ้วเท้าบวมออกมา หรือเห็นมือตัวเองใหญ่โตกว่าส่วนอื่นๆ ประตูที่เคยอยู่ใกล้แค่ไม่กี่ก้าว พอมองจากสายตาคุณ กลับอยู่ไกลเป็นโยชน์ ผู้ป่วยต่างบอกว่า ต้องทรมานกับการวิงเวียน ไม่แน่ใจ และไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บางวันเห็นเก้าอี้ทำงานใหญ่โตเท่าช้าง รถคันเล็กเท่ามด พวกเขาต้องเดินโซซัดโซเซไปมา บางที อาการก็กำเริบขึ้นในช่วงที่อยู่นอกบ้าน ทำให้ทำอะไรไม่ถูก ได้แต่นั่งอยู่เฉยๆ เพราะกลัวจะเกิดอันตราย

 

OPHELIA SYNDROME

                โอฟีเลีย เป็นชื่อตัวละครในเรื่อง Hamlet โศกนาฏกรรมเช็คสเปียร์ และนำมาใช้ตั้งชื่ออาการหนึ่งโดย ดร. เอียนคาร์ยืมชื่อของเธอสำหรับความผิดปกติ neuropsychiatric เขาค้นพบในลูกสาววัยรุ่นของเขาเอง ครั้งแรกที่เขาสังเกตเห็นว่าบางส่วนของ "ความแม่นยำเป็นประกายของการสนทนาของเธอ" ได้หายไป จากนั้นเธอเริ่มประสบกับการสูญเสียความจำภาพหลอนและความซึมเศร้า พวกเขาค้นพบความผิดปกติทางจิตได้รับการกระตุ้นโดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของ Hodgkin การรักษาประสบความสำเร็จในการบูรณะลูกสาวของคาร์ระบบประสาท, ให้มากที่สุดส่วนยกเว้นเธอมีช่องว่างขนาดใหญ่ของเดือนที่หายไปจากความทรงจำของเธอ ภายหลังการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง Hodgkin เกิดอาการในลักษณะที่คล้ายกัน

 

RAPUNZEL SYNDROME

                ที่ถูกตั้งชื่อตามตัวละครผมยาวราพันเซลแห่งเทพนิยาย โดยผู้ป่วยที่มีอาการนี้จะเคี้ยวและกินผมของตัวเองและของผู้อื่น ซึ่งภายหลังจะไปสะสมอยู่ในกระเพาะอาหาร

 

Mowgli Syndrome

                เมาคลี ซินโดรม ตั้งชื่อตามตัวละครในหนังการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์เรื่อง ‘เดอะ จังเกิล บุ๊ก’ ที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยสัตว์ป่า และไม่สามารถพูดจาภาษาคนได้ โดยส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ ที่ถูกพ่อแม่ทำร้ายร่างกายด้วยความรุนแรง หรือถูกปล่อยปละละเลย  พวกเขาอาจเก็บกดทางอารมณ์  เจ็บป่วยทางจิตใจ หรืออาจจะเจ็บป่วยที่ร่างกายหากถูกทำร้ายอย่างรุนแรง และอาจมีภาวะทางอารมณ์ไม่ปกติ  ดุร้ายหรือซึมเศร้าจนควบคุมไม่ได้  บางครั้งเด็กที่ไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่อย่างเหมาะสมก็ไม่สามารถใช้ชิวตแบบมนุษย์ทั่วไปได้เลย  เช่น กินข้าวเองไม่ได้ หรืออาจไม่เข้าใจภาษาพูดในการสื่อสารเลย


       

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ