ความหมายของ นวนิยาย : โดย อ.สกุล บุณยทัต

ความหมายของ นวนิยาย

โดย อ.สกุล บุณยทัต

 

     บ่อเกิด ในประเทศไทยเรายังไม่มีตัวเลขที่แน่นอน ว่าเราได้ใช้เงิน ในการซื้อเรื่องอ่านเล่นปีหนึ่ง ๆ เป็นจํานวนเท่าใด แต่คะเนดูเห็นจะหลาย ล้านบาท ส่วนในอังกฤษ อเมริกา นั้นต้องนับกันด้วยจํานวนร้อยล้าน ตาม สถิติของอเมริกาใน ค.ศ.๑๙๓๓ เงินค่าใช้จ่ายในเรื่องการพิมพ์หนังสือ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ด้วย เป็นจํานวนถึงพันล้านเหรียญเศษ การแต่งและจําหน่าย เรื่องอ่านเล่นนับเป็นศิลปะอุตสาหกรรมที่แพร่หลายยิ่ง ก็เหตุใดคนจึงชอบ หนังสืออ่านเล่น เหตุที่จะยกมาอ้างนั้นมีอยู่หลายประการ แต่ต้นเหตุสําคัญ ก็คือ ความอยากฟังเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุด ความอยากฟังเรื่องเป็นสิ่งที่ติดอยู่ ในสายเลือดของมนุษย์ เรื่องอ่านเล่นหรือนิทานนี้เป็นของคู่มากับมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์มาทีเดียว เรามีอะไรก็อยากเล่าให้คนอื่นฟัง คนอื่นก็อยาก ฟังเรื่อง จึงเกิดเป็นนิทานขึ้น
 

     นิทานของคนโบราณเป็นเรื่องสั้น ๆ ง่าย ๆ อย่างเราเล่านิทานยาย กะตาให้เด็กฟัง ต่อมานักคิดเห็นว่า นิทานเป็นข้ออุปมาอุปไมยให้เห็นความ ประพฤติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ จึงแถมสุภาษิตเข้าข้างท้าย เกิดเป็น นิทาน เทียบภาษิต เข้าใจว่าแต่เดิมนิทานคงเล่ากันตรงไปตรงมา เมื่อเล่าจืดเข้าก็ ประดิษฐ์ตกแต่ง เสริมความให้พิสดารขึ้น บางทีก็คิดเขียนเป็นกาพย์กลอน จะเห็นตัวอย่างได้มากในนิทานไทยของเรา นิทานนี่แหละเป็นบ่อเกิดของ
 

     คําว่า “นวนิยาย” ตามรูปศัพท์ คํานี้มีคํารวมกันสองคํา คือ นว แปลว่า ใหม่ นิยาย แปลว่า เรื่องเล่า ที่จริงเรื่องเช่นนี้เราเคยเรียกกันว่า เรื่องอ่านเล่นบ้าง เรื่องประโลมโลกบ้าง คํา นวนิยาย เป็นคําที่ผูกขึ้นใหม่ เพื่อให้ตรงกับศัพท์ โนเวล (Novel) คํา โนเวล นี้เดิมเป็นภาษาอิตาเลียนว่า โนเวลลา (Novella) คือ เมื่อราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ มีนักเขียน อิตาเลียนคิดแต่งเรื่องให้แปลกไปจากนิทานที่เคยเล่ากัน ให้มีเนื้อเรื่องเหมือน อย่างชีวิตที่เป็นอยู่ของคนจริง ๆ ต่อมานักเขียนในอังกฤษ แปลเรื่องอิตาเลียน เป็นภาษาของตน มีคนชอบอ่านมาก นักเขียนอังกฤษจึงคิดเขียนเรื่องตาม แบบนักประพันธ์อิตาเลียนบ้าง จึงเอาคํา Novella ของอิตาเลี่ยนมาเปลี่ยน เป็น Novel ซึ่งตามศัพท์ก็แปลว่า ของใหม่ เพราะเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคย มีมาก่อน แต่บัดนี้นวนิยายไม่ใช่ของใหม่มิได้
 

     นวนิยายนี้เจริญมากในอังกฤษในศตวรรษที่ ๑๘ และพอถึงศตวรรษ ที่ ๑๙ นวนิยายก็เป็นวรรณคดีที่มีคนนิยมมากกว่าแขนงอื่น บรรดาพวก นักวิจารณ์และนักศึกษา ก็พากันวิเคราะห์นวนิยายต่าง ๆ และวางเป็นหลัก เกณฑ์ขึ้น สําหรับในเมืองเรา อาจพูดได้ว่า นวนิยายเพิ่งตั้งต้นเท่านั้น ตั้งแต่ เริ่มบันเทิงคดีร้อยแก้วในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา เรามีนวนิยายที่เป็น ของเราเองไม่กี่เรื่อง
 

     นวนิยาย กับ นักประพันธ์ นวนิยาย นับเป็นงานใหญ่ยิ่งของนัก ประพันธ์ เป็นงานที่จะเป็นอนุสาวรีย์ที่จะพาชื่อผู้แต่งพุ่งขึ้นสู่ชื่อเสียงใน พริบตาเดียว แต่มันเป็นงานที่ต้องอาศัยอุตสาหะวิริยภาพมิใช่น้อย เวลา ในการเขียนนวนิยายนี้อาจเป็นได้ระหว่างหนึ่งเดือนถึงสิบปี เขาต้องก้มหน้า ก้มตาเขียน เขียนไป เขียนแล้วแก้ ตกเติม เปลี่ยนแปลง จนกว่าจะเป็น “ฝีมือศิลปะ” ที่เขาพอใจ นักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงเขียนนวนิยาย โดยใจรัก เพื่อฝีมือและเพื่อศิลป์ แต่เมื่อสําเร็จ เขาจะได้รับผลอันน่าชื่นใจ มีนักนวนิยายมีชื่อเสียงหลายท่านที่ได้รับการศึกษาเล็กน้อย ไม่เคยผ่าน มหาวิทยาลัย ไม่เคยรู้หลักการประพันธ์ เช่น ชาร์ล ดิกเก้นส์ (Charles Dickens) มิสซิส สโตว (Mrs. Stowe) ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง “กระท่อม น้อยของลุงทอม” การศึกษาของนักนวนิยายพวกนี้คือความจัดเจนในชีวิต
 

     ประกอบด้วยมีนิสัยทางเขียน ฉะนั้นจึงมีบางคนเห็นว่าการที่จะเป็นนักประพันธ์นั้น ไม่ต้องเล่าเรียน เมื่อมีนิสัยแล้วก็เป็นเอง เขียนเองได้ การกล่าวดังนี้ ถ้าฟังเผิน ๆ แล้วก็น่าจะถูกต้อง แต่ความจริงแล้วนักเขียนย่อมเป็นนักศึกษา พยายามค้นคว้าหลักในการเขียนโดยตนเองอยู่เสมอ คือ เขียนไป และรู้ไป นักประพันธ์เหล่านี้บางท่าน มหาวิทยาลัยยังได้เชื้อเชิญไปบรรยาย หลักแห่งการเขียนแก่นิสิตนักศึกษาอีกด้วย

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ