หนังสือเล่มโปรดของ วูดดี้ อัลเลน : นักแสดง ผู้กำกับ มือเขียนบทของฮอลลีวูด

หนังสือเล่มโปรดของ วูดดี้ อัลเลน

               วูดดี้ อัลเลน นักแสดง ผู้กำกับ มือเขียนบทคนเก่งของฮอลลีวูด ผ่านการทำงานมาถึงครึ่งศตวรรษแล้ว เขาทำงานเป็นนักเขียนบทคอเมดี้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เขียนบทตลกและสคริปสำหรับทางโทรทัศน์และเผยแผร่หนังสือตลก , กลางคริสต์ทศวรรษ 1960 อัลเลนเริ่มแสดงแสตนอัพคอเมเดียนโชว์ เน้นการพูดคนเดียวแทนที่มุขตลกที่เคยใช้ ในฐานะนักแสดงตลก เขาแสดงบุคลิกภาพอย่างคนที่เชื่อถือไม่ได้และดูมีสติปัญญา หดหู่ และขี้กังวล ซึ่งบุคลิกภาพแตกต่างจากตัวจริงในบทบาท.ในปี 2004 Comedy Central จัดลำดับอัลเลนอยู่ที่สี่จากลิสท์ 100 สแตนอัพคอเมดี้ที่ยอดเยี่ยม ขณะเดียวกัน UK Survey ได้ให้ลำดับอัลเลนอยู่ที่ลำดับสามสำหรับคอเมดี้ที่ยอดเยี่ยม

               ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 อัลเลนเขียนบทและกำกับภาพยนตร์จำนวนมาก โดยใช้ความเชี่ยวชาญจากการแสดงคอเมดี้ก่อนจะเปลี่ยนแนวหนังเป็นดราม่า โดยได้อิทธิพลจาก European art cinema ในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 และสลับไประหว่างคอเมเดี้ยนกับดราม่า เขามักจะถูกระบุจากทาง New Hollywood โดยกล่าวว่าเป็นผู้กำกับหน้าใหม่ที่มีอิทธิพลในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970

                เราลองไปดูหนังสือเล่มโปรดของเขา แน่นอนว่าถ้าเขาไม่รักการอ่าน เขาคงไม่สามารถเขียนบทภาพยนตร์ได้แน่นอน

 

 

"Epitaph of a Small Winner" เขียนโดย Machado de Assis 

               Machado de Assis   นักเขียนมากฝีมือที่ศึกษาภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันและกรีกด้วยตัวเอง! แม็คคาโดคือนักเขียนคนแรกในบราซิลที่ฉีกกฎการจับคู่ตัวละครแบบเดิมๆ ด้วยการให้ตัวละครต่างเชื้อชาติมารักกัน อย่างในหนังสือเรื่อง Epitaph of a Small Winner ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับช่างก่อสร้างผิวสีกับหญิงสาววชาวโปรตุเกสค่ะ นอกจากนี้วูดดี้ อัลเลน ผู้กำกับชื่อดังชาวอเมริกาที่เคยอ่านงานของแม็คคาโด ได้เรียกนักเขียนชาวบราซิลผู้นี้ไว้ว่าเขาเป็นนักเขียนที่ “มีไหวพริบ, ชาญฉลาด, ยอดเยี่ยม, และ... ทันสมัย” เพราะงานเขียนของเขานั้นมีความโมเดิร์นทั้งที่หนังสือได้ตีพิมพ์เมื่อเกือบๆ ร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งก็คือปี ค.ศ. 1881 นั่นเองค่ะ

 

 

 

“Catcher in the Rye” เขียนโดย J. D. Salinger

                ผลงานชิ้นเอกของ เจ.ดี. ซาลินเจอร์ บอกเล่าเรื่องราวของโฮลเดน คอลฟีลด์ เด็กหนุ่มผู้ถูกไล่ออกจากโรงเรียน และไม่อยากให้พ่อแม่รู้ จึง 'เตร็ดเตร่' อยู่ในนิวยอร์กใกล้กับอพาร์ตเมนท์ของครอบครัว รอเวลาจนถึงวันหยุดคริสต์มาส แล้วจึงค่อยบอกให้พ่อแม่รู้

                จากเนื้อเรื่องที่ดูแล้วแสนธรรมดา แต่ทำไมผลงานเรื่องนี้จึงเป็นที่โต้เถียงอย่างมาก จนเคยถูกจัดให้เป็นหนังสือ 'ต้องห้าม' สำหรับนักเรียนในสหรัฐอเมริกา? และในทางกลับกัน ก็เป็นหนังสือที่มีผู้อ่านมากที่สุดเรื่องหนึ่ง?

 

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ