(30 มีนาคม 2560)
วันนี้วันที่ 2 แล้วกับงานสัปดาห์หนังสือ เงินเดือนออกแล้ว อย่าลืมแวะมาสอยหนังสือ ติดไม้ติดมือกลับบ้านกันนะฮ้า
สิ่งที่เราสังเกตได้จากงานครั้งนี้ ปกหนังสือสวยขึ้นมาก การออกแบบและเลือกปกเปลี่ยนไปจากเดิม เกิดขึ้นพร้อมนักออกแบบเก่งๆ และหนังสือกลายเป็นงานคราฟต์มากขึ้น กระดาษและเทคนิคการพิมพ์เป็นเรื่องน่าสนใจ มีสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่ช่วยจัดลิสต์หนังสือน่าสนใจมากขึ้น และคิดว่าเทรนด์การอ่านกำลังจะเปลี่ยนไป ถึงแม้ปริมาณการผลิตจะน้อยลง หากบรรดาสำนักพิมพ์น้อยใหญ่เน้นใจใส่ ในหนังสือแต่ละเล่ม รับรองว่าการอ่านหนังสือเล่ม ไม่มีวันตายแน่นอน
(28 มีนาคม 2560)
พรุ่งนี้แล้วนะฮ้ากับงานสัปดาห์หนังสือวันแรก ฮันแน่ะ หลายคนคงเงินเดือนยังไม่ออกใช่ไหมฮ้า ยังมีเวลาเหลืออีกหลายวัน อย่ามัวแต่ไปถ่ายพริตตี้ที่งานมอเตอร์โชว์ แวะมางานหนังสือกันด้วยนะ แซวๆ ปีนี้บูธประพันธ์สาส์น เลขดี M13 โซน C1 เหมือนเดิมนะจ๊ะ
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ขอเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนาในโครงการบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่ ปี ๒๕๖๐ หัวข้อ กว่าจะเป็น “นครคนนอก” โดย พลัง เพียงพิรุฬห์ กวีซีไรต์ ประจำปี ๒๕๕๙ และ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ศิลปินศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๗ และกวีซีไรต์ ประจำปี ๒๕๔๗ในวันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๐ เริ่มเวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น ๑ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินสอบถามได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๒๘-๙, ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๒๓
(27 มีนาคม 2560)
มีเรื่องให้น่าตกใจรับวันทำงานวันแรกของสัปดาห์ ธุรกิจสื่อไม่มีมิตรแท้ บก.บห. เว็บไซต์เดอะโมเมนตัม พาทีมงานและคอลัมนิสต์ลาออกแล้ว มีผล 1 เม.ย. นี้ อ้างทัศนคติไม่ตรงกัน หลังก่อนหน้านี้ “วงศ์ทนง” ก็ลาออก ทิ้งอะเดย์ไปให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ วันนี้ (27 มี.ค.) นายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร เว็บไซต์เดอะโมเมนตัม ได้เขียนบทบรรณาธิการ ระบุว่า ตนพร้อมทีมงานทุกคน รวมถึงคอลัมนิสต์ และผู้จัดพอดแคสต์ ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในเว็บไซต์เดอะโมเมนตัม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นไป หลังก่อตั้งเว็บไซต์เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2559 ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลหลัก คือ ทัศนคติที่ไม่ตรงกับผู้บริหาร ส่วนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บริหาร บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด หลังจากที่ขายหุ้นไปเพียงหนึ่งเดือน ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน ทีมงานทั้งหมดจะไปเปิดเว็บไซต์ใหม่ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้ งานนี้คงต้องติดตามกันต่อไปว่าเว็บเดอะโมเมนตัมจะเดินหน้าไปทางไหน และทีมงานก่อตั้ง จะไปก่อตั้งเว็บไซต์อะไร บอกเลยว่าเดายากมากๆ เชื่อว่าถ้าของดีมีคุณภาพแบบนี้ อยู่ที่ไหนก็ไปรอดแน่นอน
(24 มีนาคม 2560)
เผลอแปปเดียว จะสิ้นเดือนมีนาแล้ว เดือนมีนากำลังจะผ่านไป คนมีใจเมื่อไหร่จะผ่านมา แอ่แฮ้ วันศุกร์สิ้นเดือนใครพอมีเวลาว่าง ขอเชิญร่วมงานเสวนาด้านการแปล ฟรีตลอดรายการพร้อมอาหารกลางวันและอาหารว่าง โครงการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันครบรอบ 51 ปี คณะภาษาและการสื่อสารสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เสนอการเสวนาในหัวข้อย่อย เรื่อง “ศาสตร์และศิลป์ในการใช้ภาษาเพื่อการพัฒนา” (The Science and Art of Using Language for Societal Development) ห้อง 5002 อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 5 วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.30 น. (ลงทะเบียนงานประชุม 51 ปีนิด้า พร้อมรับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่าง ฟรีตลอดรายการ) บทความจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแปล 1. พระอัจฉริยภาพด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและการแปลวรรณกรรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย ผศ.ดร.อรองค์ ชาคร คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2. การสื่อความหมายในหน่วยสร้างกริยาเรียงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดย รศ.ปรีมา มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. การถ่ายทอดความต่างทางวัฒนธรรมและไวยากรณ์เชิงสมมติในวรรณกรรมภาษาเยอรมันร่วมสมัยเป็นภาษาไทย ดำเนินรายการโดย ดร. ศิริรัตน์ ณ ระนอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์บทความ : ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล นายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย Link การประชุมเพื่อลงทะเบียน. http://conference.nida.ac.th/conference60/
(23 มีนาคม 2560)
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ขอเชิญนักเขียน นักอ่าน และผู้สนใจทั่วไป ร่วมฟัง-แสดงความคิดเห็นกับการเสวนาหัวข้อ “การเปลี่ยนโฉมหน้านักเขียนไทยในยุค 4.0” โดย พลัง เพียงพิรุฬห์ กวีซีไรต์ประจำปี 2559 อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียน-นักแปล ฝีมือเยี่ยม ปราปต์ นักเขียนรุ่นใหม่ไฟแรง เจ้าของงานเขียนหลายรางวัล และ เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม เลขาธิการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย สกุล บุณยทัต กรรมการบริหารสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 เวลา 13.00 น. ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 45 & สัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15 (29 มี.ค. - 9 เม.ย.) ณ Meeting Room 4 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฟรี! (มีชา-กาแฟ+อาหารว่างบริการ) สำรองที่นั่งได้ที่ : โทร. 08 - 1582 – 4670 อีเมล : writerassocentre@gmail.com
(22 มีนาคม 2560)
ฝันของพวกเราชาวหนอนใกล้จะเป็นจริงแล้ว หลังจากที่ดองโครงการมานาน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย น.ส.ปราณี สัตยประกอบ รองปลัด กทม. นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการเขตพระนคร และคณะผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดอย่างเต็มรูปแบบ นายจักกพันธุ์เปิดเผยว่า ขณะนี้การดำเนินงานคืบหน้ากว่าร้อยละ 90 ในส่วนของโครงสร้างและการตกแต่งภายในหอสมุดเมืองได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงการเก็บรายละเอียดเล็กน้อย ได้แก่ การทยอยจัดหนังสือเข้าชั้น การปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบอาคารเท่านั้น ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้จะแล้วเสร็จทั้งหมด และจะเริ่มเปิดทดสอบระบบซอฟต์แวร์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบบริการยืม-คืนหนังสือ ระบบสมาชิก ในวันที่ 1 เมษายนนี้ โดยขณะนี้ประชาชนสามารถเข้าไปอ่านหนังสือได้ แต่ยังไม่สามารถยืม-คืนหนังสือได้ เพราะจะทดสอบระบบในช่วงแรกก่อน "ในวันที่ 7 เมษายนนี้ จะเรียนเชิญ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.ลงตรวจความพร้อมอีกครั้ง โดยในวันนั้นจะเปิดให้บริการประชาชนอย่างเต็มรูปแบบด้วย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถมาใช้บริการหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครได้ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00-24.00 น. และในวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น."
(21 มีนาคม 2560)
จริงหรือไม่ ที่โลกของหนังสือในรูปแบบกระดาากำลังจะลดลง ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนาเรื่อง “กระดาษตาย ! ออนไลน์มา ?” ด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดงานเสวนาในหัวข้อเรื่อง “กระดาษตาย ! ออนไลน์มา ?” ภาค 2 ในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 เวลา 12.30 – 17.30 น. ณ ห้อง Meeting room 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นช่วงของการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมรวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมในยุคดิจิทัลซึ่งอาจส่งผลกระทบต่องานวรรณกรรมที่ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของผู้เข้ารับการเสวนา กรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นว่างานเสวนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมในยุคดิจิทัล อันจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเขียน นักแปล สำนักพิมพ์ รวมถึงผู้ที่ใช้งานลิขสิทธิ์ เพื่อลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งลดข้อพิพาทเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กรมทรัพย์สิน
(20 มีนาคม 2560)
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย เชิญนักเขียน – นักอ่าน ร่วมฟัง และแสดงความคิดเห็นการเสวนา “การเปลี่ยนโฉมหน้านักเขียนไทยในยุค 4.0” โดย พลัง เพียงพิรุฬห์ กวีซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2559 อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียน – นักแปล ฝีมือเยี่ยม ปราปต์ นักเขียนรุ่นใหม่ไฟแรง เจ้าของงานเขียนหลายรางวัล และ เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม เลขาธิการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย สกุล บุณยทัต วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560 เวลา 13.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 4 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำรองที่นั่งได้ที่ : โทร. 08 - 1582 – 4670 อีเมล : writerassocentre@gmail.com
(19 มีนาคม 2560)
มาแล้วค่ะ งานดีงานใหญ่ เพื่อคนรักวรรณกรรมทุกท่าน มหกรรมอ่านกวีอีสานครั้งที่2 พบกับกวี นักเขียนทั้งไทยและสปป.ลาว วันเสาร์ที่ 1 เมษายนนี้ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ ศูนย์เยาวชนและครอบครัวเทศบาลนครขอนแก่น พร้อมกับระดมทุนช่วยพ่อใหญ่หนิงหน่อง อดีตตลกคณะเพชรพิณทอง งานนี้ฟรีมาร่วมสร้างสรรค์สังคมการอ่านการเขียนและทำความดีกันค่ะ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดออกแบบอักษรประดิษฐ์ “รางวัลนริศรานุวัดติวงศ์ในด้านอักษรประดิษฐ์” แนวคิด “ย่านเก่า เล่าอดีต” เนื่องในงานวันนริศ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม ๖๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร และเหรียญที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ส่งผลงานตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศผลการตัดสินในวันศุกร์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ทาง Facebook : Silpakorn Public Relations และ Naris Day มอบรางวัลวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ในพิธีเปิดงานวันนริศ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ นะฮ้า
(17 มีนาคม 2560)
ซอกแซกต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว ของ ศ.ดร.ระวี ภาวิไล นักวิชาการด้านดาราศาสตร์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2549 ราชบัณฑิต นักเขียน-นักแปลรางวัลนราธิป และรางวัลสุรินทราชา ซึ่งเสียชีวิตแล้วเมื่อตีหนึ่งเศษของคืนที่ผ่านมา หลังหัวใจหยุดเต้น รวมอายุได้ 91 ปี ผลงานทางดาราศาสตร์เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ เคยร่วมประชุมและรับเชิญทำงานวิจัยในต่างประเทศเกือบ 20 ครั้ง มีผลงานค้นคว้าวิจัยสำคัญ ดังเช่นเรื่องโครงสร้างละเอียดของโครโมสเฟียร์ ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของบรรยากาศระดับโครโมสเฟรียร์ของดวงอาทิตย์ เรื่องบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นต้น มีความสนใจทางด้านศาสนาและปรัชญา เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม รวมทั้งงานแปลวรรณกรรมคลาสสิก และปรัชญาศาสนา ในด้านพุทธศาสนาได้คิดค้นแบบจำลองจิต-เจตสิก ใช้ในการช่วยศึกษาและเข้าใจพระอภิธรรม และอาจารย์ยังเคยเป็นกรรมการบริหารโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 อีกด้วย
(16 มีนาคม 2560)
สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญครู-อาจารย์ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป เข้าร่วมโครงการสัมมนา "จากอดีตสู่อนาคต การศึกษาภาษาบาลี-สันสกฤต และภารตวิทยาในประเทศไทย" ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560 เวลา 8.30 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ตลอดโครงการ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกคนจะได้รับ 1. กระเป๋าภาพวาดฝีพระหัตถ์ปีระกา สินค้าที่ระลึกของมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ 2. หนังสือรวมบทความวิชาการของคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ 3. เอกสารรับรองการเข้าร่วมโครงการสัมมนา ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ กรุณาระบุชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง สังกัดหน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ ให้ครบถ้วนในใบสมัครออนไลน์ตามลิงก์นี้เท่านั้น https://docs.google.com/…/1FAIpQLSedXb27EuynXEGEv…/viewform
(15 มีนาคม 2560)
"หลายชีวิต" จะมีการเสวนา post-show talk หลังละครรอบบ่ายของวันเสาร์ที่ 4 ก.พ.ค่ะ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังนะคะ วิทยากรรับเชิญได้แก่ ครูแดง อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน นักวิจารณ์ภาพยนตร์และละคร ผู้ถูกยกให้เป็น"ครู"ของนักวิจารณ์มากมาย ครูโม ผศ.นลินี สีตะสุวรรณ อาจารย์สอนเขียนบทและผู้เขียนบทมือทองของวงการ อาจารย์สมเกียรติ วิทุรานิช ผู้เขียนบทและผู้กำกับการแสดงมากประสบการณ์พี่ลิง คุณสุวรรณดี จักราวรวุธ ผู้กำกับละครเวทีคนสำคัญของเมืองไทย วิทยากรระดับปรมาจารย์ทั้งสี่ท่าน จะร่วมพูดคุยกับครูหนิง อาจารย์พันพัสสา ธูปเทียน ผู้กำกับการแสดง และครูบัว ผศ.ดร. ปริดา มโนมัยพิบูลย์ ผู้เขียนบทละคร โดยมีผู้ดำเนินรายการรับเชิญ คือ ครูโย อาจารย์อภิรักษ์ ชัยปัญหา จากคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้เป็นทั้งนักวิชาการ นักเขียน ผู้เขียนบทละคร และนักวิจารณ์ชื่อดังค่ะ จะเห็นได้ว่า เป็นการรวมตัวของบุคคลชั้นครูจนแน่นเวทีจริงๆค่ะ การเข้าฟังเสวนาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดใครที่จองบัตรดูรอบอื่นไปแล้ว ก็สามารถแวะมาฟังเสวนาได้นะคะ เวลา16.30 น.ของวันเสาร์ที่ 4 ก.พ.ค่ะ ส่วนใครที่ยังไม่ทันได้จองบัตร ตอนนี้บัตรรอบบ่ายของวันที่ 4 ก.พ. ยังพอมีที่นะคะ แต่ต้องขอเรียนว่าบัตรวิ่งเร็วมว้ากกก อย่ามัวใจเย็นนะฮ้า ติดต่อจองบัตรได้ที่ 081 559 7252, 02 218 4802, 094 931 3434 และที่ FB Message ของ Drama Arts Chula จองบัตรออนไลน์ได้ที่ www.BangkokStudio41.com
(14 มีนาคม 2560)
The Reading Room ห้องสมุดอิสระ ที่ให้บริการหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรม และวรรณกรรม เเบบไม่เสียค่าใช้จ่าย มากว่า 7 ปี ประกาศระดมทุนหลังประสบปัญหาพื้นที่ทรุดโทรม The Reading Room ห้องสมุดอิสระ ใจกลางพื้นที่ธุรกิจย่านสีลม ที่ให้บริการหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรม มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และวรรณกรรม สามารถยืมหนังสือได้โดยไม่มีระบบสมาชิก และเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กว่า 7 ปี ซึ่งห้องสมุดนี้ให้บริการหนังสือนับพันเล่ม จัดกิจกรรมกว่า 200 ครั้ง และมีนักอ่าน นักกิจกรรมเวียนวนเข้ามาใช้งานหลายพันคน โดย มี "เกี๊ยว" นราวัลลภ์ ปฐมวัฒน เป็นผู้ก่อตั้ง เเต่ ณ ปัจจุบัน The Reading Room ได้ประสบปัญหาในเรื่องอุปกรณ์และพื้นที่ซึ่งทรุดโทรมต้องซ่อมแซมตามกาลเวลา จึงขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา สามารถร่วมบริจาคระดมทุนได้ เพื่อผลักดันให้ “พื้นที่ของหนังสือ” ซึ่งเต็มไปด้วยการขับเคลื่อนของการแลกเปลี่ยนทางความคิดแห่งนี้ สามารถปรากฏตัวอยู่กลางถนนสีลม ต่อไป หากใครสนใจช่วยโครงการในปีนี้ของห้องสมุด คือการซ่อมระบบไฟฟ้า และพัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อต่ออายุให้ทางร้าน สามารถติดต่อไปทาง แฟนเพจ the reading room ได้เลยนะฮ้า
(13 มีนาคม 2560)
ทุกวันนี้การติดต่อสื่อสาร เราจะใช้ไลน์เป็นหลัก ไม่เว้นแต่วัยผู้ใหญ่อย่างรุ่นพ่อแม่ คุณตาคุณยายบางท่านก็อาจจะติดหนักจากที่เคยบ่นลูกหลาน ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน เปิดตัวหนังสือ และ E-book คุณย่าติดไลน์ คุณยายคิดเฟซ พร้อมอบรมการเขียน วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2560 (เป็นวันหยุดราชการ) ณ ห้อง Meeting Room 4 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ สำนักพิมพ์คมบาง ขอเชิญผู้สนใจ และสื่อมวลชนทุกท่านร่วมงาน เปิดตัวหนังสือ และ E-book คุณย่าติดไลน์ คุณยายติดเฟซ และเตรียมรับสังคมผู้สูงวัยด้วยสัมมนาและปฏิบัติการการเขียน เขียนอย่างไรให้เป็นวรรณกรรมโลกใสวัยสวยเพื่อคนสูงวัย วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2560 (เป็นวันหยุดราชการ) ณ ห้อง Meeting Room 4 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ลงทะเบียนล่วงหน้า ได้รับโค้ด E-book อ่านฟรี จาก Meb ลงทะเบียนได้ที่ช่องทางดังนี้ หน้าเพจเฟซบุ๊กสำนักพิมพ์คมบาง E-mail: combangweb@gmail.com โทร. 0841428932 เปิดตัวหนังสือ “วรรณกรรมโลกใสวัยสวยเพื่อคนสูงวัย” กว่าจะเป็น คุณย่าติดไลน์ คุณยายติดเฟซ และ สายาห์สาละวน โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ นรีภพ สวัสดิรักษ์ ดำเนินรายการโดย จรูญพร ปรปักษ์ประลัย “หนังสือชมัยภรออนไลน์ไปเป็น E-book” โดย คุณรวิวร มะหะสิทธิ์ จาก Meb ผู้นำด้าน E-book และ กว่าชื่น บางคมบาง จาก สำนักพิมพ์คมบาง “เขียนอย่างไรให้เป็นวรรณกรรมโลกใสวัยสวยเพื่อคนสูงวัย” โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง (นวนิยาย) เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ (บทกวี) ประชาคม ลุนาชัย (สารคดี) ดำเนินรายการโดย ธารา ศรีอนุรักษ์ การฝึกปฏิบัติการเขียน “วรรณกรรมโลกใสวัยสวยเพื่อคนสูงวัย” โดยวิทยากรคณะเดิม
(12 มีนาคม 2560)
“หาเรื่อง (MBU Story Pitching) ครั้งแรกของไทยกับการประกวดไอเดียเพื่อนำมาพัฒนาเป็นบทภาพยนตร์ โดยเจ้าของไอเดียที่ชนะเลิศจะได้รับความช่วยเหลือจากมืออาชีพในทุกขั้นตอน เพื่อพัฒนาไอเดียสู่บทภาพยนตร์ เทศกาลนี้จึง "ไม่ใช่แค่การประกวดบทภาพยนตร์พร้อมใช้" แต่เป็นเทศกาลที่จะเฟ้นหาและพัฒนานักเขียนบทหน้าใหม่ ส่งเสริมภาพยนตร์ไทยให้มีทั้งความหลากหลายและมีคุณภาพระดับสากล รูปแบบการประกวด เป็นการประกวดไอเดีย ผู้สนใจส่งผลงานออนไลน์ทาง www.facebook.com/mbustorypitching ประกอบด้วย ไอเดียตั้งต้น (Kick-off idea) ซึ่งเป็นก้อนความคิดที่มีคุณค่าและน่าสนใจสำหรับการต่อยอดเป็นเรื่องราวในบทภาพยนตร์ พล็อต ขนาดสั้นไม่เกิน 5 บรรทัดบทภาพยนตร์ 5 นาที เฉพาะช่วงเปิดเรื่องของฉากแรก กำหนดส่งผลงาน 16 ก.พ. – 31 มี.ค. 60 ทาง Facebook Page : mbustorypitching ประกาศผลการคัดเลือก (รอบ 10 คน) 16 เม.ย. 60 โดยทั้ง 10 คนที่ได้รับการคัดเลือกจะผ่านการสัมภาษณ์และนำเสนอผลงานเพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเลิศ 3 คน เข้าสู่กระบวนการพัฒนาบทภาพยนตร์ต่อไป สมัครและส่งผลงานออนไลน์ได้ที่ https://goo.gl/forms/j7Q45ulzWXe6ZIyr2
(10 มีนาคม 2560)
ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญสัมผัสประสบการณ์ความหลอนในนิทรรศการ "บ้านหลอน (Haunted House)" ที่งาน Chula Expo 2017 จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อบ้านซึ่งเป็นสถานที่อบอุ่นกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนของความรุนแรง ความแปลกแยก ความขัดแย้งในครอบครัวและสังคม ความหมายที่ซุกซ่อนอยู่จึงเปลี่ยนไปอย่างคาดไม่ถึง เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมผ่านการตีความเชิงสัญลักษณ์ ด้วยบทวิเคราะห์ฉบับย่อจากวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อาทิ ทวิภพ ของ ทมยันตี (กระจก), เส้นไหมสีเงิน ของ ว. วินิจฉัยกุล (เก้าอี้โยก), หน้าต่างบานแรก ของ กฤษณา อโศกสิน (หน้าต่าง), Narnia ของ C. S. Lewis (ตู้เสื้อผ้า), ศพใต้เตียง ของ สรจักร ศิริบริรักษ์ (เตียง), Pinocchio Revenge (ตุ๊กตา) ฯลฯ งานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 15 - 19 มีนาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 19.00 น. เปิดให้ชมสำหรับนักเรียนและประชาชนผู้สนใจทั่วไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ บริเวณสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(9 มีนาคม 2560)
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๖๐ ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่รางวัลพานแว่นฟ้า และเกียรติบัตร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งในเรื่องสิทธิ หน้าที่ ความเสมอภาค และความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นพื้นฐานสาคัญของความเป็นประชาธิปไตย ผ่านศิลปะงานวรรณกรรม เพื่อสนับสนุนและยกย่องผลงานวรรณกรรมไทยที่ทรงคุณค่าให้พัฒนาไปพร้อมกับสำนึกประชาธิปไตย เพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และความสามัคคีของประชาชนในประเทศชาติ ประเภทผลงานที่จัดประกวด ๑. เรื่องสั้น ๒. บทกวี ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าประกวด ๑. เป็นวรรณกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
(8 มีนาคม 2560)
ขอเชิญผู้ที่สนใจ กิจกรรมด้านการสร้างสรรค์งานศิลปะ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรการศึกษา ร่วมโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ : ศิลปินแห่งชาติสัญจร “ตามรอยพระยุคลบาทอัครศิลปิน สัญจรสอนศิลป์จังหวัดสงขลา” ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา เริ่มลงทะเบียน 08.30 น เข้าร่วมกิจกรรม ฟรี ภายในงานมีกิจกรรมถ่ายทอดงานศิลป์จากศิลปินแห่งชาติ ดังนี้ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ๑. ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ๒. ศาสตราจารย์ ดร.เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ ๓. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ ๔. นางสาววนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ ๕. นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ ๖. ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ ๗. นายปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ ๘. ศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ ๙. นายยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติ ๑๐. นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ ๑๑. นายเดโช บูรณบรรพต ศิลปินแห่งชาติศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ๑. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ๒. นายสถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ ๓. นางชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ ๔. นายไพวรินทร์ ขาวงาม ศิลปินแห่งชาติ ๕. นายกิตติศักดิ์ มีสมสืบ ศิลปินแห่งชาติ ๖. นายธัญญา สังขพันธานนท์ ศิลปินแห่งชาติศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ๑. นายชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) ศิลปินแห่งชาติ ๒. นายประยงค์ ชื่นเย็น ศิลปินแห่งชาติ ๓. นายควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ ๔. นางรัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ ๕. นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ แบ่งออกเป็นฐานศิลปะ ดังนี้ ฐานศิลปะเทคนิคจิตรกรรม, เทคนิคสร้างสรรค์สื่อผสม, เทคนิคภาพพิมพ์, เทคนิคประติมากรรม, เทคนิคศิลปะผ่านเลนส์, สถาปัตยกรรมศิลป์, การสร้างงานวรรณศิลป์, การสร้างงานศิลปะการแสดง (ลูกทุ่ง), การสร้างสรรค์ศิลปะนาฏศิลป์ – ละคร, การสร้างสรรค์ดนตรีสากล
(6 มีนาคม 2560)
กิจกรรมประกวดเรื่องสั้นสยองขวัญที่ทุกคนรอคอยกลับมาแล้ว!!! Short & Shock Story contest ครั้งที่ 6 หัวข้อ 'ชิงผีเกิด' รายละเอียดกติกาการส่งเรื่องสั้นเข้าประกวด เรื่องสั้นต้องมีชื่อเรื่อง ไม่ต้องแบ่งบท ไม่ต้องมีเรื่องย่อและคำนำ ไฟล์ประวัติส่วนตัวต้องมี ชื่อ-นามสกุล อายุ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ส่งต้นฉบับมาที่ shortandshockstory@gmail.com นักเขียน 1 คน สามารถส่งได้ 1 เรื่องเท่านั้น ไม่จำกัดอายุ นักเขียนที่เคยได้รับรางวัลนี้แล้วไม่สามารถส่งเรื่องเข้าประกวดได้ ประกาศผลการพิจารณาวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับการรวมเล่มและตีพิมพ์ มีการเซ็นสัญญาลิขสิทธิ์และจ่ายค่าลิขสิทธิ์แบบเหมาจ่าย เรื่องละ 6,000 บาท รวมทั้งได้รับเกียรติบัตรจากสำนักพิมพ์