พลังการตัดสินใจ และ การแสดงความคิดเห็นของลูก
เนื่องจากเหตุการณ์การแสดงความคิดเห็นของเยาวชนในปัจจุบัน แน่นอนอาจมีความไม่เข้าใจไม่ตรงกันกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แล้วจะรับมือหรือยอมรับกับความคิดเห็นของลูกได้อย่างไร?
ทำให้นึกถึงบทหนึ่งของหนังสือ 50 วิธีสอนลูกทั้งสามเข้าเรียนสแตนฟอร์ด ที่เขียนโดย แอกเนส ชาน หนังสือเล่มนี้ไม่ได้พูดถึงวิธีการที่ทำยังไงให้ลูกสอบติดมหาวิทยาลัยดี ๆ แต่เป็นหนังสือที่บอกวิธีปฏิบัติกับลูก ๆ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่สูตรสำเร็จแต่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละครอบครัวได้
ในการตัดสินใจ และการแสดงความคิดเห็นของลูกในบทหนึ่งแอกเนส ชาน เขียนไว้ว่า
เรื่อง พลังการฟัง พลังการแสดงความคิดเห็น
ฉันมักเจอสถานการณ์ที่ผู้ใหญ่กำลังพูดคุยกันโดยมีเด็กอยู่ในวงสนทนา แต่กลับพูดคุยกันโดยไม่สนใจเด็กเลย
แนวโน้มทางสังคมของญี่ปุ่นคือ “เวลาผู้ให ญ่พูดคุยกันอยู่ เด็กห้ามแทรก” แต่สำหรับฉัน ถ้าลูกอยู่ด้วยล่ะก็ ฉันจะกระตือรือร้นดึงเขาเข้ามาในบทสนทนาของผู้ใหญ่ค่ะ เพราะว่านี่คือการเสริมสร้าง “การรับฟัง” ให้ลูก
ถ้าเด็กคิดว่าบทสนทนาของคนรอบข้างไม่เกี่ยวกับตัวเอง เขาจะ “ปิด” หูของตัวเองค่ะ และถ้าทำจนเป็นกิจวัตรเสียแล้ว เขาจะ “ปิด” หูของเขาทั้งสองระหว่างเรียนและบทสนทนาที่สำคัญ
ฉันคิดมาตลอดว่าอยากเลี้ยวลูกให้เป็น “คนที่สนอกสนใจรับฟังเรื่องราวของคนอื่น และมีส่วนร่วมกับบทสนทนาได้”
ตั้งแต่พวกเขายังเด็ก ถ้าเวลานั้นลูกอยู่ด้วย ฉันจะดึงให้เข้าร่วมบทสนทนาเสมอ ถ้าเป็นเรื่องยากๆ ก็พยายามอธิบายอย่างง่ายๆ ในแบบที่เด็กเข้าใจได้ให้เขาฟัง
ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ครอบครัวนั่งดูข่างอยู่ด้วยกัน ฉันจะถามขึ้นมาว่า “ลูกคิดยังไงกับเรื่องเมื่อกี้นะ?” พอถามอย่างนั้น ลูกๆ จะตั้งใจดูข่าว เปิดหู และตั้งใจฟัง เมื่อเราคิดว่าตัวเอง “ถูกถามความคิดเห็น” เขาจะตั้งใจทำคววามเข้าใจกับเนื้อหาอย่างเต็มที่ ระหว่างนั้นหากมีข่าวผู้ลี้ภัย ฉันจะพูดว่า “ทุกคนลำบากมากเลยนะ เราต้องแบ่งอาหารให้พวกเขาบ้างเนอะ” เวลามีภาพสงครามออกมาก็พูดว่า “โหดร้ายจัง พอเถอะ”
แม้จะนั่งกินข้าวอยู่บนโต๊ะอาหารเดียวกัน แต่ถ้าคุณพ่อนั่งอ่านหนังสือพิมพ คุณแม่ดูโทรทัศน์ ลูกจดจ่ออยู่กับการ์ตูนหรือเกม มันจะไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ถ้าบางทีคุณพ่อพูดขึ้นมาว่า “ที่ทำงานมันลำบากอย่างนี้นะ” หรือคุณแม่บอกว่า “แม่กำลังกังวลเรื่องนี้อยู่นะ” ถ้ามีเรื่องสนุกๆ ก็หัวเราไปด้วยกัน หรือถ้ามีเรื่องเศร้าใจหรือทุกข์ใจก็พูดคุยกัน เศร้าและกังวลใจไปด้วยกัน อย่าทำเหมือนลูกเด็กเกินไป แต่ให้เขาเข้าร่วมบทสนทนาของผู้ใหญ่ในฐานะคนคนหนึ่ง
เวลานั่งคุยกันอยู่ในงานพบปะเพื่อนๆ คุณแม่ด้วยกัน ถ้าลูกเดินเข้ามา ฉันจะไม่บอกว่า “ไปเล่นทางโน้นก่อน” ฉันจะลองถามเขาว่า “เรากำลังคุยเรื่องนี้กันอยู่ ลูกคิดว่ายังไงจ๊ะ?” ลูกๆ ออกออกความคิดเห็นที่เป็นตัวตนของเขาให้เราได้หัวเราะกันหลายครั้งเลยล่ะค่ะ
พอลูกๆ เข้าเรียนชั้นประถมปลาย พวกเขาสนทนาอภิปรายทัดเทียมกับผู้ใหญ่ได้แทบทุกเรื่อง หลายครั้งที่พวกเขาแสดงความคิดเห็นน่าสในอย่างอิสระในแบบเด็ก ๆ จนบางทีฉันจะจดจ่ออยู่กับการโต้เถียงนั้นโดยไม่รู้ตัว
เด็กที่รู้จัก “การรับฟัง” เป็นเด็กที่สมองดีค่ะ และการฝึกให้เขาเป็นเช่นนั้นได้ เราต้องไม่คุยกันเฉพาะผู้ใหญ่ แต่เปิดโอกาสให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการสนทนาด้วย
ตอนนี้เมื่อลูกๆ กลับมา ครอบครัวของพวกเราจะนั่งถกกันทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา บางครั้งถกกันถึงเช้าก็มีค่ะ หัวข้อที่ ลูกๆ พูดถึงมีความเข้มข้นและน่าสนใจมากเสียจนมีเวลาเท่าไหร่ก็เหมือนไม่พอ ฉันตะหนักแล้วว่านี่คือผลที่งอกงามจากการฝึกฝนตั้งแต่เด็ก
พลังการตัดสินใจ ตั้งคำถาม เข้าใจสถานการณ์ และเลือกให้เด็กได้ใช้ความคิดด้วยตัวเขาเอง
ตั้งแต่ลูกยังเด็กฉันมักยิงคำถามใส่พวกเขาอยู่เสมอค่ะ
ตัวอย่างเช่น เวลาซื้อไอศกรีมฉันจะถามลูกว่า “เอารสไหนดีน้า? แม่ลังเลจังเลย” ถ้าเขาตอบว่าไม่รู้ ฉันจะถามต่อไปอีก
“คราวก่อนกินรสช็อกโกแลต ก่อนหน้านั้นก็สตรอว์เบอร์รี่ วันนี้จะเอารสอะไรดีน๊า?” พอถามขนาดนั้นแล้ว ส่วนใหญ่พวกเขาจะเริ่มออกความเห็นค่ะ
พอเขาตอบว่า “ถ้างั้นเอารสส้มก็ดีนะฮะ” ฉันจะถามต่อไปอีกว่า “ทำไมล่ะ?” คำตอบของเขาอาจเป็นคำตอบแบบเด็ก ๆ อย่าง “เพราะสีไม่มีเหมือน” หรือ “เพราะไม่เคยกิน”
เราต้องคอยรองรับความคิดเห็นของลูกและชื่นชมความคิดของเขาอย่างเต็มที่ “เป็นความคิดที่ดีมากเลย แม่ก็ไม่เคยกินรสส้มเหมือนกัน”
ถ้าเด็กตะหนักว่าความคิดเห็นของตัวเองได้ช่วยเหลือและเป็นประโยชน์กับคนอื่น เขาจำจำว่า “การใช้สมองคิดและแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นเรื่องดี”
พลังของการคิดได้ด้วยตัวเองจะไม่เติบโต หากเด็กคิดว่าต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดผู้ใหญ่เท่านั้น ที่สำคัญคือรับฟังเด็กแม้จะเป็นเรื่องน่ารำคาญ มอบวัตถุดิบความคิดและฝึกให้เขาคิดด้วยตนเอง ถ้าได้ฝึกตั้งแต่เด็ก ไม่นาความสามารถในการคิดจะติดตัวพวกเขา ทำให้พวกเขามีความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็น
กระบวนการฝึกให้คิดด้วยตัวเอง ทำความเข้าใจสถานการณ์ เลือกและมีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์นั้น จำเป็นต่อการฝึกฝนให้เด็กเติบโตมามีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องค่ะ
ตอนลูกชายคนโตจะเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย เขาเลือกเข้าโรงเรียนด้วยตนเอง เหตุผลเพราะว่าโรงเรียนที่เขาเลือกคือ โรงเรียนนี้มีเรียนขี่ม้าและตั้งแคมป์ จะได้เรียนรู้ชีวิต
ซึ่งฉันก็เคารพการตัดสินใจของลูก และนั่นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ลูกชายคนโตตั้งใจมีความสุขในการเรียนและสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ในที่สุด