เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน ดาบสองคม ของอาชีพหมอ : แพทย์-คนไข้ ความขัดแย้งที่ยังรอการสมานฉันท์

เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน ดาบสองคม ของอาชีพหมอ

 

      ซีรี่ย์ไทยที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง รักฉุดใจของนายฉุกเฉิน ที่นอกจากจะสื่อถึงความรัก 15 ปี ของนางเอกและพระเอกแล้ว เนื้อเรื่องยังเจาะลึกถึงอาชีพแพทย์ ซึ่งละครไทยมีน้อยเรื่องนัก ที่จะใส่ใจถึงบทบาทอาชีพแพทย์แบบเจาะลึก มีการปรึกษาทีมแพทย์อย่างจริงจัง และมีการใส่คำศัพท์ทางการแพทย์ตลอดทั้งเรื่อง

    ในเนื้อเรื่องจะมี หมอฉลาม หนึ่งในตัวละครหลัก เป็นแพทย์ฝึกหัด ที่รักษาพลาดทำให้คนไข้เสียชีวิต จนถูกนางเอกต่อว่า ทำให้หมอฉลามรู้สึกผิดจนไม่กล้ารักษาคนไข้คนอื่นๆ  เพราะในช่วงเวลาวิกฤตนั้น เขาได้ทำเต็มที่และสุดความสามารถแล้ว

 

 

    ดูละครเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน เขียนโดย คุณหมอเซียง หรือ พญ.สุดานี บูรณเบญจเสถียร ที่บอกเราเรื่องราวของเธอที่ถูกญาติของคนไข้ฟ้องร้อง ว่าเธอทำให้คนไข้ที่กำลังจะคลอดลูกเสียชีวิต ระหว่างคลอดเกิดน้ำคร่ำหลุดในกระแสเลือด และปกติภาวะน้ำคร่ำหลุดในกระแสเลือด เป็นภาวะที่อันตราย ที่ไม่เลือกว่าจะเกิดกับใคร บอกไม่ได้จะเกิดกับใคร ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่อัตรา 1 ต่อ 80,000 คน และจะเกิดเมื่อผ่านกระบวนการการคลอดและน้ำคร่ำหลุด ไม่ว่าจะผ่าคลอด คลอดปกติ หรือขูดมดลูกก็สามารถเป็นได้หมด สรุปคือถ้าเป็นผู้หญิงที่ตั้งท้องก็เป็นได้ทุกคน

 

เขาตราหน้าว่าหมอฆ่าคน

 

     เรื่องราวใหญ่โตไปทั้งอำเภอ นอกจากถูกฟ้องร้องแล้วคุณยังถูกด่าว่า “หมอฆาตกร”  คดีนี้มีอายุถึง 4 ปี ชีวิตของคุณหมอเกิดผลกระทบรอบด้านทั้งการงานและครอบครัว

 

     ในเรื่องสิทธิผู้ป่วยกับการคุ้มครองทางกฎหมาย คุณหมดกล่าวว่า “ความจริงกฎหมายก็เป็นสิ่งที่ดีทำให้หมอกับคนไข้สามารถคุยและชี้แจงต่อกันได้ แต่ช่องโหว่มันมีอีกเพราะการรักษาคนไม่เหมือนกัน มันไม่มีคำว่า 100% ใน medicine (การแพทย์) นะ กว่าจะแปลงภาษาหมอให้เป็นภาษาธรรมดาก็ยากมาก แล้วถ้าเกิดเรื่องสุดวิสัยขึ้นมา หมอก็ไม่รู้จะแปลความที่ไม่ 100% นี้ให้ประชาชนเข้าใจได้ยังไง สำหรับหมอคนอื่น มีทั้งโกรธกับเรื่องแบบนี้ และการมีอัตตาของหมอแต่ละคนด้วยก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกับคนไข้ได้

 

     ส่วนคนไข้ก็จะมีความรู้สึกโกรธและมีความคาดหวังต่อกรณีแบบนี้ ณ ตอนนี้การทำงานของหมอไม่ได้สู้กับโรคภัยไข้เจ็บหรอก เราสู้กับความคาดหวังของแพทย์เองกับความคาดหวังกับประชาชน แล้วก็ต้องสู้กับความกลัวของแพทย์เองและความกลัวของประชาชน ไม่ไว้ใจกันและกัน”

 

     ในหนังสือเล่มนี้ที่คุณหมอเขียนขึ้น ระหว่างการต่อสู้คดี 3 ปี เธอเขียนไดอารี่ชีวิต เขียนเพื่อยืนยันความสัตย์ตรงในวิชาชีพที่เธอบอกว่า ทำสุดกำลังแล้ว ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และผู้เป็นแพทย์ย่อมมีความสุขจากการละสุขของตนเพื่อคนอื่นเสมอ

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ