10 เล่มเปลี่ยนโลก : หนังสือเพียงไม่กี่เล่มจะสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ บนโลกของเราได้จริงหรือ

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

โอดิสซี (The Odyssey) / โฮเมอร์ (Homer)

มหากาพย์อิเลียดและโอดิสซี ได้ร่วมกันสรรสร้างการแสดงออกซึ่งจิตใจแบบตะวันตกออกมาในรูปวรรณกรรมเป็นครั้งแรก...จะเข้าใจง่ายกว่า ถ้ากล่าวว่าอิเลียดคือโศกนาฏกรรรม และโอดิสซี คือนวนิยาย..โอดิสซีมีพล็อตเรื่องอันถักร้อยไว้อย่างประณีต มาจุดสนใจในแง่จิตวิทยาและความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของตัวละครได้กลายมาเป็นบรรพบุรุษของนวนิยายทั้งปวงที่หลั่งไหลตามมาไม่ขาดสาย...คำโปรยปกหลัง..

The Odyssey เรื่องราวการเดินทางกลับบ้านของ โอดิสซุส ที่ยาวนานหลังจากเข้าร่วมรบสงครามกรุงทรอย ที่ต้องผจญกับเคราะห์กรรมและเหตุการณ์นานับประการ

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

Uncle Tom’s Cabin (Harriet Beecher Stowe, 1852)

วรรณกรรมที่สะท้อนชีวิตและระบบทาสในอเมริกา เรื่องราวของ "ลุงทอม" ทาสผิวดำผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งอาศัยอยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุขในกระท่อมน้อยหลังบ้านของนาย แต่แล้ววันหนึ่งชีวิตของลุงทอมก็ต้องเปลี่ยนไป เมื่อลุงทอมถูกขายให้กับนายใหม่ที่โหดร้าย เฆี่ยนตีทาสอย่างลุงทอมราวกับเขาไม่ใช่คน ลุงทอมต้องอาศัยความดี ความเชื่อมั่นและศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า เพื่อเอาชนะบททดสอบนี้! แต่ลุงทอมจะผ่านมันไปได้อย่างไร? ร่วมติดตามเป็นกำลังใจและและเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกันได้ในเล่ม

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

Frankenstein (Mary Shelley, 1818)

วรรณกรรมสยองขวัญคลาสสิกที่ได้รับความนิยมมากว่าศตวรรษ

ประกายความคิดเรื่อง แฟรงเกนสไตน์ ผุดวาบขึ้นในคืนฝันร้ายของแมรี ในฤดูร้อนปี 1816 ขณะกำลังพักอยู่กับสามีและลอร์ดไบรอน กวียุคโรแมนติคผู้อื้อฉาว บนชายฝั่งทะเลสาบเจนีวา โดยก่อนหน้านี้ ลอร์ดไบรอนได้ชักชวนพวกเขาแต่ง เรื่องผี มาประชันกัน หลังจากนั้นสามีของเธอก็ยุให้เธอขยายเรื่องราวต่อให้สมบูรณ์ และแล้ว แฟรงเกนสไตน์ ก็อุบัติขั้นเป็นครั้งแรกในบรรณพิภพในปี 1818

แม่รี่ เชลลีย์ เขียนนวนิยายเรื่องนี้ขณะที่มีอายุเพียง 20 ปี เมื่อสองร้อยปีที่แล้ว ความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มากนัก แต่เธอสามารถเขียนเรื่องเกี่ยวกับการสร้างมนุษย์ขึ้นมาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  จึงต้องถือว่าเธอมีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ล้ำยุคมากทีเดียว  วิกเตอร์ แฟรงเกน สไตน์ นักศึกษาแพทย์หนุ่ม ได้ทำการค้นคว้าจนพบวิธีสร้างมนุษย์พันธุ์ใหม่  โดยได้นำชิ้นส่วนต่างๆ ของมนุษย์มาประกอบเข้าด้วยกัน และชุบชีวิตขึ้นมาจนทำสำเร็จ  แต่สุดท้ายแฟรงเกนกลับหวาดกลัวผลงานของตัวเอง ซึ่งโหดเหี้ยม มีพละกำลังเกินมนุษย์ และไม่สามารถควบคุมได้  เดิมทีเจ้าสิ่งมีชีวิตที่เขาสร้างขึ้นมามิไม่ได้เลวร้ายมาตั้งแต่เริ่มแรก  แต่เพราะความโดดเดี่ยว ถูกรังเกียจ และถูกทำร้ายจากน้ำมือของมนุษย์ จึงทำให้เขาเป็นไปดังนั้น ซึ่งแมรี่ เชลลี่ย์ ได้บรรยายได้อย่างลึกซึ้งมาก  รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครต่างๆ และกลวิธีการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจ  จนต้องยอมรับว่าเธอเป็นนักเขียนที่มีความสามารถเกินวัย  และทำให้แฟรงเกนสไตน์เป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียง และคงความเป็นอมตะมาจนถึงปัจจุบัน   นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็น ‘ตำนานสยองขวัญ’ ที่เกิดจากความผิดพลาดของ ‘วิกเตอร์ แฟรงเกนสไตน์’ 

นายแพทย์หนุ่มซึ่งไม่สามารถแก้ไขอะไรได้จนวาระสุดท้ายชีวิตของเขาเอง

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

Nineteen Eighty-Four (George Orwell, 1949)

หนังสือ "หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ = 1984" เล่มนี้ นำเสนอให้เห็นถึงสิ่งที่สังคมจะต้องยอมแลก เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ความเชื่อที่เสมอภาคกัน" ผ่าน "กระบวนการโฆษณาชวนเชื่อ" ที่ถูกวางโครงเรื่องและรูปแบบเอาไว้อย่างแยบยลโดย "ผู้ชี้นำ" ของแต่ละยุคแต่ละสมัย...ซึ่งก็จะเป็นเพียง "ความเสมอภาค" ในระดับของ "ความเชื่อ" และ "การรับรู้" ไม่ใช่โดยภววิสัยที่เป็นจริง

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

Things Fall Apart (Chinua Achebe, 1958)

When Things Fall Apart ที่ถูกเขียนขึ้นโดยท่าน เพม่า โชดรัน(Pema Chodran)เพม่า โชดรัน น่าจะเป็นธรรมาจารย์สตรีที่มีผู้คนรู้จักมากที่สุดคนหนึ่งในโลกศาสนธรรมตะวันตก เธอเป็นคนที่พยายามโยงแนวคิดด้านพุทธธรรมอันสงบรำงับเข้ากับชีวิตอันวุ่นวายของชาวตะวันตก ด้วยการผนวกรวมเช่นนี้ เธอได้ทำให้ผู้คนที่ไม่คุ้นชินกับพุทธศาสนาเห็นว่าความทุกข์อันเกิดจากการไขว่คว้าดิ้นรนที่บังเกิดขึ้นเสมอในสังคมบริโภคนิยมแบบสุดโต่งจะถูกหยิบยกมาใช้งานได้เยี่ยงไร การไม่สมหวังในคำสรรเสริญ การพลัดหลงจากคำเยิรยอ การพลัดพรากจากตำแหน่งการงาน ความปวดร้าวจากชีวิตคู่อันไม่สมหวัง(อันเป็นปัญหาใหญ่ยิ่งในสังคมตะวันตก)สอนอะไรเราบ้างเกี่ยวกับความคาดหวังของอัตตา สิ่งเหล่านี้ คำสอนเหล่านี้ ตัวอย่างเหล่านี้ ถูกน้อมนำไปใคร่ครวญและปฏิบัติอย่างจริงแท้ในหลายที่หลายทางและยังถูกประยุกต์ให้เข้ากับความเชื่อของแต่ละกลุ่มบุคคลด้วย อาจเป็นเพราะว่า เพม่า พูดถึงพุทธธรรมในฐานะของ-ทางเปิด-หรือหนทางที่เกื้อหนุนให้เราเข้าใจตนเอง หาใช่ คำสอนอันตายตัวดังที่เคยมีมาในเหล่าธรรมมาจารย์ทางพุทธศาสนาในอดีตไม่

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

One Thousand and One Nights (various authors, 8th-18th Centuries)

"นางซาห์ราซัด" เป็นบุตรสาวคนโตมหาอำมาตย์เอก ข้าราชบริพารใน "กษัตริย์ซาห์เรียร์" เฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบเป็นเลิศ การตัดสินใจถวายตัวต่อพระเจ้าซาห์เรียร์เป็นการกระทำที่กล้าหาญอย่างยิ่ง เพราะหากนางล้มเหลวในการโน้มน้าวพระหทัยกษัตริย์ซาห์เรียร์ให้ยุติการประหารชีวิตสตรีทุกคนที่พระองค์ร่วมหลับนอนด้วยเพียงชั่วข้ามคืน ย่อมหมายถึงว่า นางซาห์ราซัดนั่นเองจะหมดสิทธิ์ในการมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ทว่าทุกๆ ค่ำคืนนางกลับเอาตัวรอดมาได้ด้วยการเล่านิทานถวายพระองค์ ซาห์ราซัด มีชั้นเชิงแพรวพราวในการเล่านิทาน กระทั่งสะกดให้องค์กษัตริย์ซาห์เรียร์ลืมความเคียดแค้นไปชั่วขณะ เพราะทรงมัวแต่เพลิดเพลินในนิทานของนาง และเมื่อนางหยุดเล่าเรื่องในตอนสำคัญยามฟ้าสาง พระองค์ก็จะทรงขอร้องให้นางเล่านิทานต่อไป

"มหัศจรรย์แห่งพันหนึ่งราตรี" มาถึงเล่มที่ 5 แล้ว คือ "เรืองรองในอนธการ" เล่มนี้ ผู้อ่านจะได้รับความสนุกสนานไปกับการผจญภัยในตอนจบของสองพี่น้องหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ คือ "เจ้าชายอัมจัด" และ "เจ้าชายอะซาด" รวมถึงกษัตริย์คามาร์ อัล-ซามา พระบิดา และนิทานเรื่องใหม่ๆ ของนางซาห์ราซัดที่สนุกสนานและน่าอัศจรรย์ใจยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรับรองว่าทุกท่านจะได้รับความเพลิดเพลินเช่นเดียวกับกษัตริย์ซาห์เรียร์อย่างแน่นอน!

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

Don Quixote (Miguel de Cervantes, 1605-1615)

   เฒ่าสติเฟื่องนามว่า "ดอน กีโฆเต" หลงเพ้อว่า ตนคืออัศวินผู้กล้าหาญ รอนแรมผจญภัยไปกับข้ารับใช้คู่ใจ "ซานโซ ปันชา" เพื่อผดุงคุณธรรม อุดมการณ์แรงกล้าของเขาจะสำเร็จหรือไม่ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้าย!

 

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

Hamlet (William Shakespeare, 1603)

ถ่ายทอดถึงความจริง การเสแสร้ง คลุ้มคลั่ง ความรันทดอันเหลือทน ความเดือดดาลจนถึงจุดแตก ผนวกกับเนื้อหาที่พาดพิงเรื่องการแก้แค้น ความสัมพันธ์ชู้สาวในครอบครัว การทรยศและการยอมจำนนต่อความต่ำช้า ช่วยเรียงร้อยให้โศกนาฏกรรมในเรื่องแฮมเล็ตเป็นนวนิยายที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมภาษาอังกฤษมากที่สุดในยุคต่อๆมา

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

One Hundred Years of Solitude (Gabriel García Márquez, 1967)

ด้วยเนื้อหาที่ฉายภาพที่ดูราวกับมีชีวิต ที่มีทั้งความเศร้าสร้อย ดึงดูดและโดดเด่น ผ่านตัวละครต่างๆไม่ว่าชายและหญิง ผนวกด้วยอารมณ์ซาบซึ้งเห็นใจ ความสัตย์และความอัศจรรย์แห่งจิตวิญญาณ ทำให้เป็นนวนิยายที่เอกอุในทุกๆด้าน และสะท้อนถึงวรรณกรรมเชื้อชาติลาตินอเมริกันในยุดศตวรรษที่ 20 ได้อย่างไร้ที่ติ

 

10 เล่มเปลี่ยนโลก

 

The Iliad (Homer, 8th Century BC)

มหากาพย์ อิเลียด เป็นมหากาพย์โบราณของกรีก เป็นที่เข้าใจว่า โฮเมอร์-กวีจักษุบอด ได้รจนาไว้เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว บรรดานักโบราณคดี-นักค้นคว้า ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า แม้ว่าโฮเมอร์จะเป็นผู้เริ่มรจนาเรื่องนี้ก็จริง แต่ “มหากาพย์ อิเลียด” เรื่องนี้ได้มีนักขับลำนำ และกวีอีกมากหลาย ได้คิดแต่งเสริมความต้นเรื่องเดิมจนยืดยาวกันต่อๆมา ยุโรปสมัยโบราณ / ยุคสมัยของโฮเมอร์ การขับลำนำเป็น “มหรสพ” อย่างหนึ่งของผู้คนยุคสมัยนั้น กวี-นักขับลำนำได้นำ “มหากาพย์ อิเลียด” ของโฮเมอร์ไปเที่ยวขับให้ประชาชนฟัง เพื่อแลกกับเงินทอง และอาหาร โดยท่องเที่ยวไปตามเมือง, รัฐต่างๆ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายมาก เมื่อมีการเขียนหนังสือเกิดขึ้น ก็มีคนเขียนรวบรวมบทขับลำนำเหล่านั้น เอามารวมเป็นเรื่องติดต่อกัน จนที่สุดมีด้วยกัน 24 บรรพ (เล่ม/ม้วน)

มหากาพย์ ของโฮเมอร์ มีอยู่ 2 ภาค ภาคแรกชื่อ Iliad อันเป็นเรื่องราวสงครามที่กรุงทรอย ภาคที่สองชื่อ Odyssey เป็นเรื่องราวที่ต้องผจญภัยของ กษัตริย์โอดิสซี ยอดขุนพลแห่งกรีก ระหว่างเดินทางกลับเมืองหลังสงครามกรุงทรอย มหากาพย์ทั้ง 2 เรื่องนี้เปรียบดังขุมทรัพย์ทางวรรณคดีและโบราณคดีของโลก เป็น “บรรพบุรุษแห่งวรรณกรรมตะวันตก, หนึ่งในสุดยอดวรรณกรรมคลาสสิค”

 

 

อ้างอิงจาก : http://www.bbc.com/culture/story

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ