แอกเนส ชาน (Agnes Chan) นักร้องและนักกีตาร์ชาวฮ่องกง มีชื่อเสียงในช่วงทศวรรษ 1970 โดยการร้องเพลงและเล่นกีตาร์สไตล์โฟล์ก โดยเฉพาะเพลงของโจนี มิตเชล และมีชื่อเสียงโด่งทั้งในฮ่องกง ญี่ปุ่น และหลายประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย
แอกเนส ชาน สมรสกับผู้จัดการส่วนตัวชาวญี่ปุ่น และเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดจนจบปริญญาเอกด้านการศึกษา ปัจจุบันเธอเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น และได้รับเลือกเป็นทูตขององค์การยูนิเซฟ
แอกเนส ชานในวัยเด็ก เธอเป็นเด็กเรียนที่ชอบทำกิจกรรมตอนเกรด 11 ผลการเรียนอยู่ระดับดีเยี่ยมและเนื่องจากเป็นโรงเรียนคริสต์ เธอก็เข้าร่วม และเป็นผู้นำ Young Christians Student (YCS) บำเพ็ญประโยชน์และเยี่ยม เด็กกำพร้า คนชรา คนเจ็บป่วยในโรงพยาบาลศึกษาแล้วจึงทำให้เธออยู่ใน YCS เพียง 4 ปีแต่เธอก็มีใจกุศล ช่วยเหลือสังคมตลอดมา จนถึงปัจจุบัน จุดยืน ไม่เคยเปลี่ยน
ถ้าเธอเป็นหนังสือ คุณก็ไม่อาจสามารถตัดสินเธอได้จากปก หญิงสาวที่น่ารักและใจดี ปัจจุบันเธออายุ 62 ปี เธอไม่ได้เป็นเพียงแค่นักร้องเพลงป๊อปที่มีปริญญาเอก แต่เธอรักและกระตือรือร้น ในการเป็นนักพูดที่มีแรงบันดาลใจ นอกจากเป็นทูตขององค์การยูนิเซฟ แล้วเธอยังเป็นคุณแม่ลูก 3 ซึ่งลูกของเธอทุกคน สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย Stanford University ได้ทุกคน
แม้เธอจะต้องทำหน้าที่หลายบทบาท สวมหมวกหลายใบในเวลาเดียวกัน แต่เธอก็ยังมีเวลาเขียนหนังสือถึง 91 เล่ม ในภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนโดยมีหลายเล่มที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาเกาหลีเวียดนาม และภาษาไทยเร็ว ๆ นี้ เธอได้เขียนหนังสือ 50 วิธี เลี้ยงดูลูก ทำให้ลูกชายทั้ง 3 คนสามารถสอบเข้า Stanford ได้ ติดอันดับหนังสือขายดีของญี่ปุ่นมานานกว่า 2 ปี ตั้งแต่เปิดตัว
นอกจากเธอจะรับบทบาทเป็นนักเขียนแล้ว เธอยังเป็นนักอ่านตัวยงอีกด้วย เมื่อถามถึงหนังสือเล่มโปรดหรือนักเขียนคนโปรดของเธอ เธอบอกว่า เธอชอบอ่านหนังสือ อ่านได้ทุกอย่าง แต่ที่ชอบอ่านบ่อยๆ มักจะเป็นนวนิยาย สืบสวนสอบสวน แนวระทึกขวัญ รวมไปถึงนิยายรักคลาสสิก
นักเขียนที่ชื่นชอบคือ Hemingway , J.D. Salinger แต่จะมีผลงาน 2-3 เล่ม ของเขาทั้งคู่ ที่แอกเนสชื่นชอบ และมักอ่านซ้ำๆ อีกคนคือ Lee Child นิยายแนวอาชญากกรรม ซึ่งเขาเขียนได้ดีมาก เขียนแบบคนมีความรู้ในเรื่องนั้นจริงๆ เช่น เรื่องอาวุธ
แอกเนส กล่าวว่าเธออยากเขียนให้ได้เหมือนกับ Lee Child และ Hemingway เพราะเขาใช้ประโยคสั้นๆ กระชับ สามารถเข้าใจง่าย และทิ้งไว้ชวนให้คนอ่านคิด และจินตนาการตาม สิ่งที่เขาเขียน ซึ่งตัวแอกเนสคิดว่าเป็นรูปแบบการเขียนที่ใช้วิชาขั้นสูงมากๆ
ผลงานของ Lee Child ที่โด่งดัง คือนิยายแนวอาชญากรรม “จิมแกร็นท์ (Jim Grant)” นิยายชุดนี้มีตัวเอกที่ชื่อ “แจ็ค รีชเชอร์(Jack Reacher)” ซึ่งจิมได้สร้างตัวละครหลักนี้จากจินตนาการของเขาเอง โดยการผสมผสานระหว่างดาราฮอลีวู๊ด สามคนคือ คลินต์ อีสต์วูด, เมล กิบสัน และบรูซ วิลลิส จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ แจ็ค รีชเชอร์ จะมีแฟนคลับในอเมริกาและทวีปต่างๆ โดยเฉพาะสาวน้อยสาวใหญ่เป็นจำนวนมาก จนทำให้ความแรงของ แจ็ค รีชเชอร์ ในนิยายชุดนี้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์แล้ว เรื่องราวของแจ๊ค รีชเชอร์ใช้อเมริกาเป็นฉากหลังของเรื่องเสียส่วนใหญ่ การดำเนินเรื่องและรายละเอียดต่างๆนั้น ทำให้เราจินตนาการถึงสไตล์ของ แจ็ค รีชเชอร์ ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะรายละเอียดในการต่อสู้แบบดุเด็ดเผ็ดมัน การเลือกใช้อาวุธ, การวางแผนและยุทธวิธีทางการทหาร ได้สร้างให้ แจ็ค รีชเชอร์ น่าติดตามอยู่เสมอในทุกๆเล่มของนิยายชุดนี้ จิมบรรยายให้เรารู้สึกถึงเลือดเนื้อได้จริงๆ รวมถึงหลอกให้ผู้อ่านตายใจและหักมุมนิดหน่อยแต่ไม่มาก(เดาได้บ้าง) เรื่องราวที่ดำเนินเรื่องแบบไม่เกินจริง เป็นเหตุเป็นผล จิมได้นำประเด็นทางการเมือง การเงิน สังคม รวมถึงเศรษฐกิจ ของอเมริกามาเป็นตัวเดินเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นทางการทหารที่มักเกี่ยวข้องไปเสียทุกเรื่องในนิยาย(นี่แหล่ะคือจุดเด่นของนิยายชุดนี้) ที่สำคัญเค้าอธิบายเรื่องของอาวุธ ซึ่งมีตั้งแต่ปืนพก ระเบิด จนถึงจรวดมิสไซล์ได้อย่างน่าสนใจ เป็นประโยชน์ เข้าใจได้ไม่ยาก และทันกับยุคสมัย
เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (พ.ศ. 2442-2504) นักประพันธ์นวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวอเมริกันผู้ใช้ลีลาภาษาที่สั้นกระชับ เกิดที่ โอค ปาร์ก รัฐอิลลินอยส์ เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวกับหนังสือพิมพ์ เดอะแคนซัสซิตีสตาร์ เข้าเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประจำรถพยาบาลทหารจนได้รับบาดเจ็บเมื่อปี พ.ศ. 2461 ทำให้เฮมมิงเวย์ได้รับเหรียญกล้าหาญ งานสำคัญชิ้นแรกของเฮมิงเวย์ได้แก่งานรวบรวมเรื่องสั้นในชื่อ "ในสมัยของเรา" (In Our Time พ.ศ. 2468) งานที่ทำให้เฮมิงเวย์ประสบผลสำเร็จโดยแท้จริงได้แก่เรื่อง แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง (The Sun Also Rises พ.ศ. 2469) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์จากการเข้า "กลุ่มวัยที่ถูกทอดทิ้ง" (lost generation) ของบรรดาหนุ่มต่างด้าวที่ใช้ชีวิตผจญภัยในฝรั่งเศสและสเปน ความหลงใหลไฝ่ฝันในวีรกรรมของลูกผู้ชายเกี่ยวกับการทำสงคราม การล่าสัตว์ การตกปลาและการสู้วัวกระทิงทำให้งานต่างๆ ของเฮมมิงเวย์รวมทั้ง รักระหว่างรบ (A Farewell to Arms พ.ศ. 2472) และ ความตายในช่วงบ่าย (Death in the Afternoon พ.ศ. 2475) , ศึกสเปน (For Whom the Bell Tolls พ.ศ. 2483) และ เฒ่าทะเล (The Old Man and the Sea) เขียนจบเมื่อปี พ.ศ. 2495 และ ทำให้เขาได้รับรางวัลรางวัลพูลิตเซอร์ในปีต่อมา และในปี พ.ศ. 2497 เฮมิงเวย์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในฐานะผู้สื่อข่าวในสงครามโลกครั้งที่ 2
J.D. Salinger (เจ. ดี. แซลินเจอร์) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2462 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวชาวยิว ในวัยเด็ก เขาย้ายโรงเรียนบ่อยมาก จนสุดท้ายมาเรียนที่ Columbia University School of General Studies และเริ่มเขียนนิยายที่นั่น แซลินเจอร์เคยคบหากับอูนา โอนีล แต่ก็เลิกกัน เมื่อเธอตัดสินใจแต่งงานกับชาร์ลี แชปลิน ในปี พ.ศ. 2494 เขาก็ตีพิมพ์นิยายเล่มแรก The Catcher in the Rye ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของเด็กหนุ่มวัย 16 ปีที่มีปัญหากับสิ่งต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ได้รับการตอบรับดีมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกโจมตีจากสถาบันต่าง ๆ เช่นกัน รวมถึงถูกโยงเข้ากับการลอบสังหารจอห์น เลนนอน และความพยายามลอบสังหารโรนัลด์ เรแกน ต่อมาเขาย้ายไปอยู่เมืองคอร์นิช ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ และแต่งงานกับแคลร์ ดักลัส ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน แต่ภายหลังก็หย่ากัน ก่อนจะแต่งงานใหม่อย่างลับ ๆ กับคอลลีน โอนีล แซลินเจอร์อาศัยอยู่ที่คอร์นิชจนกระทั่งเสียชีวิตโดยโรคชรา เมื่อ พ.ศ. 2553 รวมอายุได้ 91 ปี