มีใครบางคนบอกไว้ว่า... คนทำหนังสือต้องไปงานหนังสือระดับโลกอย่าง Frankfurt Book Fair ให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่สำหรับฉัน ไม่ว่าจะไปที่ไหน ประเทศอะไร "ร้านหนังสือ" นี่ละ คือแหล่งเรียนรู้วงการหนังสือบ้านเขาที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่ง
จากประเทศไทยใช้เวลาบินข้ามน้ำข้ามทะเลผ่านทะเลทรายของผืนดินทวีปแอฟริกาใต้ ไปโผล่ที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต ใช้เวลาทั้งสิ้น 13 ชั่วโมง (ทำไมต้องพยายามขนาดน้านนน)
สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต
ข้อมูลของนครแฟรงก์เฟิร์ตบอกว่า เป็นเมืองการค้าและธุรกิจที่สำคัญของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตะวันตกเกือบใต้ มีทีมฟุตบอลของเมืองชื่อ ไอน์ทรัค แฟรงก์เฟิร์ต ใกล้เคียงเป็นเมืองไฮเดลเบิร์ก (อ่านถูกมั้ย ไม่รู้!!) และสตุทท์การ์ท (มีทีมฟุตบอลชื่อ วีเอฟเบ ชตุทท์การ์ท) และเมืองถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งฝากด้วยแม่น้ำไมน์ (Main)
การเดินทางเข้าเมืองไม่ยาก เพราะระบบรถไฟใต้ดินเป็นใยแมงมุมพุ่งไปทั่วเมือง หรือใครแลดูดีมีกะตังค์ ก็เชิญจับแทกซี่ยี่ห้อเบนซ์ไปเลย คร่าวๆ ประมาณ 33 ยูโรถึงกลางเมือง (คูณด้วย 40 จะเป็นเงินบาท) เร็วทันใจวัยรุ่นโคตร เพราะเยอรมันเป็นประเทศที่โนลิมิต เหยียบได้เหยียบเอาเลยคร่า!!!
สถานที่จัดงาน ชื่อ Frankfurt Messe อารมณ์คล้ายไบเทคบางนา มีตึกทรงเหมือนดินสอเป็นสัญลักษณ์ เวลานั่งรถไฟมาสังเกตเห็นตึกนี้เมื่อไร เป็นอันลงได้ (ชื่อสถานี Messe) การเดินทางง่ายๆ ไม่ว่าจะพักที่ไหน ให้ไปเปลี่ยนสายรถได้ที่ฮับใหญ่ของเมือง Frankfurt Hauptbahnhof (HBF) แล้วต่อสาย S3, S4, S5 หรือ S6 ลงสถานี Messe เลย
รถไฟใต้ดินของแฟรงก์เฟิร์ตจะแบ่งเป็นสาย U bahn และ S Bahn แต่ละ U และ S แยกย่อยไปอีก เช่น U1 U2 U3 ... หรือ S1 S2 S3 ...โดยเจ้า U และ S ก็จะแยกกันวิ่งคนละชานชลา(คล้ายๆ ที่โตเกียว สายกินซ่าก็วิ่งไป สายยามาโตเนะ ก็วิ่งไป ไม่ยุ่งกัน) แต่ในหนึ่งชานชลาของ U และ S จะมีรถสาย S1 S2 S3 ... ที่ว่าวิ่งสลับกันมา ดังนั้นต้องดูให้ดีๆ ว่าสายที่กำลังมาถึงคือสายที่เท่าไร
ตึกทรงดินสอ
ภายในประกอบด้วยฟอรั่มมากมาย ประมาณ 8 อาคาร แต่ละอาคารก็จะมีชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ก็ว่ากันไป แต่เอาเข้าจริงๆ ก็จัดงานไม่ถึง 8 อาคารหรอกนะ
แผ่นพับผังงานจากทางเข้างานฯ
อย่างอาคารอันเป็นที่สิงของคนไทยก็คือ Hall 5 (มีสองชั้น) คืออาคารที่มีพาวิลเลี่ยนของประเทศไทยด้วย เป็นพวกอินเตอร์เนชั่นแนล แต่ไหงหันไปรอบๆ มีแต่เพื่อนบ้านเรา แถมด้วยพวกอาหรับๆ ตะวันออกกลางอีกต่างหาก - -. โซนนี้จึงได้แต่เป็นทางผ่านไปบูทประเทศไทย
สำนักพิมพ์แปลนฟอร์คิดส์
เลยหนีไปเดินดูอาคารข้างๆ Hall 6 ก็เป็นโซนของสำนักพิมพ์ต่างชาติ เน้นไปที่นวัตกรรมการพิมพ์ และหนังสือศิลปะเล็กๆ น้อยๆ อาทิเช่นภาพข้างล่าง
อาคารที่น่าสนใจสุด ก็ต้องเป็นอาคารสำนักพิมพ์ต่างชาติ ซึ่งเน้นไปที่หนังสือภาษาอังกฤษ(Hall 8) อาคารนี้อยู่ไกลหน่อย เรียกว่าชายขอบจะดีกว่า เป็นอาคารที่รวบรวมสำนักพิมพ์ดังๆ ระดับบิ๊กไว้ เช่น Wiley, SIMON&SCHUSTER, PENGUIN, McGrawHill, Random House เป็นต้น ใครนัดคุยกับสำนักพิมพ์พวกนี้ สิ่งที่ควรพึงระวังก็คือเผื่อเวลาในการเดินเท้าไปที่อาคารนี้ด้วย ประมาณ 1/2 ชั่วโมง กำลังหอบน้อยๆ ทางที่ดี 1 ชั่วโมงเลยจะชิลล์ๆ
มี meeting ก็ต้องมาลงทะเบียนกันก่อนะจ๊ะ ว่าฉันมาแล้ว
อย่างที่รู้ ชาติตะวันตก สบายๆ เลยยืนคุยกันเลยนี่ละ
เซ็ตของขวัญของซีรีส์ Keep Calm
บูทของประเทศเกาหลีใต้
ส่วนใหญ่แล้วงานแฟร์ต่างประเทศ เขาจะเน้นไปที่การติดต่อซื้อขายลิขสิทธิ์กันมากกว่าที่จะเป็นการขายปลีกแบบงานสัปดาห์หนังสือของบ้านเรา โดยงานมีทั้งหมด 5 วัน สามวันแรกจะคราคร่ำไปด้วยตัวแทนจากสำนักพิมพ์ต่างๆ ล้านแปด จากทั่วทุกมุมโลก ทำการนัดหมายล่วงหน้าเป็นเดือนว่า ฉันอยากจะคุยกะแกนะ หนึ่งเพื่อเป็นการ keep connection สอง เพื่อเป็นการอัพเดตว่ามีงานใหม่ๆ น่าสนใจอะไรบ้าง ส่วนอีกสองวันที่เหลือ จะมีนัดคุยกันเก็บตกบ้างเล็กๆ น้อยๆ ที่เหลือก็จะมีการขายหนังสือ สามารถซื้อขายกันได้ตามสะดวก
Hall 3 เป็นหนังสือภาษาเยอรมันล้วนๆ ได้แต่ดูความสวยงามของหนังสือ และเมี่ยงมองไอเดียการตกแต่งบูทของเขาไป
^^ นวนิยายเล่มใหม่ของคุณป้าเจ ฉบับภาษาเยอรมัน
บูทสำนักพิมพ์ประเภทงานเย็บปักถักร้อย อารมณ์ kate kidston มากๆ
ส่วนอาคารที่เหลือ ก็จะเป็นอาคารของ Guest ประจำปีนี้ ซึ่งประเทศนิวซีแลนด์ได้ไป Hall 1 ส่วน Hall 4 เป็นอาคารจิปาถะ มีส่วนสำนักงาน และแผนกช่วยเหลือต่างๆ, เครื่องเขียน, หนังสือลดราคา, หนังสือทำอาหาร, แผนที่ ของเล็กๆน้อยๆ, หนังสืออาร์ตดีไซน์บางส่วน
ชั้นวางหนังสือนี้ น่ารักมากๆ เป็นการเอาสัญลักษณ์ของสำนักพิมพ์ตัวเองมาทำชั้นวางหนังสือ
พึงระวัง
- อาหารการกินและเครื่องดื่มในงานแพงฉิบหาย ว่าปกติเงินยูโรแพงแล้ว มาเจอน้ำเปล่าขวดเล็กในงาน หงายเงิบเลยจ้ะ ขวดละ 3 ยูโร!
- ระยะเวลาในการเดินงานแบบสบายๆ สัก 2-3 วันจะดีมาก ไม่งั้นมีหวังเล็บขบนะเออ
นิสัยการอ่านของชาวเยอรมัน
1. ตามข้อมูลของ Germany Publisher and Bookseller Association โดยการเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามชาวเยอรมันหนึ่งหมื่นคน ที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป พบว่า ร้อยละ 57 ของชาวเยอรมัน ซื้อหนังสืออย่างน้อย 1 เล่มต่อปี (และในร้อยละ 57 นี้ พบว่าร้อยละ 37 ซื้อหนังสือประมาณ 1-7 เล่ม ต่อปี ร้อยละ 10 ซื้อปีละ 11 เล่ม และร้อยละ 9 ซื้อปีละ 14 เล่ม) และร้อยละ 47 ไม่เคยซื้อหนังสือเลย
2. 9 ใน 10 คน อ่านหนังสืออย่างน้อย 1 เล่มในช่วงปีที่ผ่านมา ดูๆ ไป ไม่น่าจะต่างจากประเทศไทยเท่าไร...เนอะ ;P
ที่มา : http://jesuismayyo.exteen.com/20121030/61-frankfurt-book-fair-2012