วงการหนังสือตั้งเวทีเสวนาเรียกร้องรัฐบาลผลักดันวาระการอ่านแห่งชาติแทนแจก แท็บเล็ตให้เด็กชั้น ป.1 หวั่นนายกฯ ละเลยนโยบายส่งเสริมการอ่านพัฒนาคนในชาติ เผยผลเสียเด็กอ่านผ่านจอคอมพิวเตอน์ทำสมาธิสั้น ทักษะอ่านเขียนลดลง "ครูหยุย" ขอหนังสือให้เด็กด้อยโอกาส
เมื่อวันที่ 20 กันยายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรื่อง "วาระการอ่านแห่งชาติหายไป แต่ได้ One Tablet กลับมา" โดยนายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการผลิตหนังสือเพื่อพัฒนาคนในชาติ และมุ่งทำกิจกรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านและการเรียนรู้สู่สังคมไทย บรรดานักวิชาการในวงการหนังสือมีความห่วงใยต่อนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล ชุดนี้ไม่มีแนวทางส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง และไม่ผลักดันวาระการอ่านแห่งชาติให้เกิดความต่อเนื่อง อีกทั้งเห็นว่าโครงการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1 จะมีผลเสียต่อวาระการอ่านแห่งชาติหยุดชะงัก จึงได้จัดเสวนาเพื่อนำข้อเสนอแนะส่งต่อไปยังรัฐบาลเป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิด ประโยชน์ต่อสังคม โดยในเร็ว ๆ นี้จะเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อยื่นข้อ เสนอต่อไป
นายวรพันธ์ กล่าวว่า มีผลศึกษาวิจัยที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้เด็กอ่านหนังสือผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์พบว่า จะมีผลเสียหลายด้าน เช่น ทำให้สมาธิสั้น ทักษะการอ่านและการเขียนลดลง และการพัฒนาสติปัญญาล่าช้า ดังนั้นโครงการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1 จึงไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านหรือสนใจการอ่านหนังสือมาก ขึ้น แต่จะยังเบียดบังเวลาการอ่านน้อยลง หันไปเล่นเกม เล่นแชท และเมนูอื่นในแท็บเล็ต ส่งผลลบต่อสุขภาพสายตา นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสาร ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เพียง 10% เท่านั้น ส่วนอีก 90% ใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมและแชทพูดคุยกับเพื่อน
"การ ที่อัตราการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนยังต่ำ เพราะมีสาเหตุหลักมาจากไม่ได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านจากครอบครัว สภาพแวดล้อมทางสังคมมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตมากเกินความจำ เป็น ทำให้เด็กขาดสมาธิ และภาครัฐไม่มีการรณรงค์ให้คนไทยเห็นถึงประโยชน์ของการอ่านเท่าที่ควร ขณะนี้ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลจะทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาเคยเชิญองค์กรต่างๆ เข้าประชุมแล้วก็เงียบหายไป ไม่จัดสรรงบประมาณหรือตั้งบุคลากรเข้ามากำกับดูแลแต่อย่างใด" นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ เผย
เขาบอกว่า โครงการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1 ไม่เกิดประโยชน์และสิ้นเปลืองงบประมาณ เด็กวัยนี้ควรจะได้รับหนังสือที่จับต้องได้มากกว่าแท็บเล็ต จึงอยากเสนอรัฐบาลว่าควรนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้ในการสร้างเสริมนิสัยรักการ อ่านโดยใช้หนังสือเป็นเครื่องมือ และมีโรงเรียนกับห้องสมุดเป็นกลไกขับเคลื่อน ส่วนการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้เด็กที่ยังขาดวุฒิภาวะและการควบคุมตนเอง จะมีแต่ทำให้สภาพแวดล้อมทางการศึกษาและสังคมย่ำแย่ลง เด็กอยู่กับตัวเองมากขึ้น ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนรอบข้าง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่กับลูก ครูกับนักเรียน
สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ยังได้ร่วมมือกับสวนดุสิตโพลจัดทำสำรวจความคิดเห็นจากครู ผู้ปกครอง นักเรียนชั้น ป.1 และประชาชนทั่วไป จำนวน 809 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 2 - 12 กันยายนที่ผ่านมา ในเรื่องความคิดเห็นต่อโครงการแจกแท็บเล็ตและการรับรู้เรื่องวาระการอ่าน แห่งชาติ โดยสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 95.72 ต้องการให้รัฐบาลผลักดันเรื่องวาระการอ่านแห่งชาติต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ แล้ว เพราะได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับการอ่านมีน้อย ร้อยละ 80.22 เชื่อว่าแม้แท็บเล็ตจะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่อาจก่อให้เกิดด้านลบ คือ สนใจการเรียนน้อยลง อีกทั้งยังกังวลเรื่องการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เพราะครูและผู้ปกครองไม่สามารถดูแลหรือให้คำแนะนำได้การใช้ประโยชน์ได้ตลอด เวลา และที่สำคัญคือ ร้อยละ 18.6 เห็นว่าเป็นการสูญเสียงบประมาณโดยไม่เกิดประโยชน์ และมีราคาแพง
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า โครงการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้น ป.1 ไม่มีประโยชน์ เพราะแจกให้เด็กเล็กเกินไป อาจจะนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือมีคนอื่นแย่งไปใช้งาน และทำให้เด็กขาดการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานคือ หนังสือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กมีความรู้และเสริมสร้างจินตนาการ ถ้าหากเด็กใช้เวลาอยู่กับเทคโนโลยีก็จะยิ่งทำให้เด็กอยู่ในโลกคนเดียว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว รวมทั้งยังอาจส่งผลต่อระดับทักษะทางปัญญาและอารมณ์ด้อยลงไปอีกด้วย
"รัฐบาล มุ่งแจกให้เด็กนักเรียน แต่อยากถามว่ารัฐบาลคิดถึงกลุ่มเด็กด้อยโอกาสหรือไม่ เด็กเร่ร่อนนอนตามข้างถนน เด็กกำพร้าพ่อแม่ยังไม่ได้รับโอกาสขั้นพื้นฐานทางการศึกษา แม้แต่หนังสือสักเล่มเดียวก็ไม่ได้รับ ภาครัฐไม่สนใจที่จะนำเด็กเหล่านี้มาเข้าโรงเรียน ที่ผ่านมาผมได้นำเด็กกลุ่มนี้เข้าโรงเรียนปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 คน แต่ในช่วง 3 ปีหลังกลับพบว่า ร้อยละ 30 มีไอคิวต่ำ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจ" เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกล่าว
ขอบคุณที่มา http://education.kapook.com/view31652.html