การเขียนนวนิยายด้วยกระบวนทัศน์แห่งการสร้างสรรค์ใหม่ทางวรรณศิลป์ : ณ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

การเขียนนวนิยายด้วยกระบวนทัศน์แห่งการสร้างสรรค์ใหม่ทางวรรณศิลป์


          เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2562  สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ได้ร่วมกันจัดอบรม เรื่อง “การเขียนนวนิยายด้วยกระบวนทัศน์แห่งการสร้างสรรค์ใหม่ทางวรรณศิลป์” ณ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ จำนวน 100,000 บาท เนื่องจากรางวัลชมนาดครั้งที่ 8 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล 
 



          การอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อการศึกษาเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ในการประกอบสร้างวรรณกรรม ประเภท นวนิยายให้เข้าใจถึง...แก่นสาร รสชาติ ทฤษฎีสร้างสรรค์ในรูปลักษณ์ต่างๆ สีสันของสุนทรียศาสตร์ ข้อแตกต่างในองค์รวมของความสมจริงกับมายาคติ รวมทั้งหลักการสำคัญในการเลือกสรรเรื่องราวเชิงลึกเพื่อสร้างเป็นวรรณกรรมที่หนักแน่น สมบูรณ์และ มีคุณค่าทางวรรณศิลป์

 

 

 


          โดยในการอบรม มีการบรรยายพิเศษโดยคุณกนกวลี พจนปกรณ์ กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “ชีวิตของนวนิยาย...การเขียนนวนิยายให้เป็นชีวิต” (องค์ประกอบสำคัญของการสร้างสรรค์จากการสืบค้นสู่การแปรความ)

 


          หัวข้อ การสร้างสรรค์การเขียนด้วยภาวะสัมผัส“นวนิยายแห่งใจ...ใจแห่งนวนิยาย”    โดย อ.สกุล บุณยทัต

          นวนิยาย กับ นักประพันธ์ นวนิยาย นับเป็นงานใหญ่ยิ่งของนัก ประพันธ์ เป็นงานที่จะเป็นอนุสาวรีย์ที่จะพาชื่อผู้แต่งพุ่งขึ้นสู่ชื่อเสียงใน พริบตาเดียว แต่มันเป็นงานที่ต้องอาศัยอุตสาหะวิริยภาพมิใช่น้อย เวลา ในการเขียนนวนิยายนี้อาจเป็นได้ระหว่างหนึ่งเดือนถึงสิบปี ต้องก้มหน้า ก้มตาเขียน เขียนไป เขียนแล้วแก้ ตกเติม เปลี่ยนแปลง จนกว่าจะเป็น “ฝีมือศิลปะ” ที่ชพอใจ นักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงเขียนนวนิยาย โดยใจรัก เพื่อฝีมือและเพื่อศิลป์ แต่เมื่อสําเร็จ เขาจะได้รับผลอันน่าชื่นใจ มีนักนวนิยายมีชื่อเสียงหลายท่านที่ได้รับการศึกษาเล็กน้อย ไม่เคยผ่าน มหาวิทยาลัย ไม่เคยรู้หลักการประพันธ์ เช่น ชาร์ล ดิกเก้นส์ (Charles Dickens) มิสซิส สโตว (Mrs. Stowe) ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง “กระท่อม น้อยของลุงทอม” การศึกษาของนักนวนิยายพวกนี้คือความจัดเจนในชีวิต ประกอบด้วยมีนิสัยทางเขียน ฉะนั้นจึงมีบางคนเห็นว่าการที่จะเป็นนักประพันธ์นั้น ไม่ต้องเล่าเรียน เมื่อมีนิสัยแล้วก็เป็นเอง เขียนเองได้ การกล่าวดังนี้ ถ้าฟังเผิน ๆ แล้วก็น่าจะถูกต้อง แต่ความจริงแล้วนักเขียนย่อมเป็นนักศึกษา พยายามค้นคว้าหลักในการเขียนโดยตนเองอยู่เสมอ คือ เขียนไป และรู้ไป 

         


         หัวข้อฝึกหัดการเขียนในสิ่งที่สัมผัสรู้ (รับรู้ ในรู้สึก) โดยคุณวีระพร นิติประภา นักเขียนนวนิยายรางวัลซีไรต์ 2 สมัย ที่เน้นการเขียนด้วยความเข้าใจมากกว่าวิธีการ

 

           
ฝึกหัดการเขียนในสิ่งที่สัมผัสรู้“เรื่องไกลตัว และการหยั่งเห็น” โดย คุณบุญญรัตน์ บุญญาทิษฐาน นักแปลอาวุโสผู้ได้รับรางวัล “สุรินทราชา”            

          คุณบุญญรัตน์แนะนำว่าเวลาเขียนเราต้องนึกถึงอารมณ์ของตัวละคร การมีความสุขที่สุด เราได้รับความทุกข์ที่สุด มาใช้ในการฝึกเขียน เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ต้องเอาอารมณ์ความรู้สึกจริงๆ ใส่ไปในจินตนาการ ว่าแต่ละตัวละครมีความรู้สึกอย่างไร  ถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้อ่านให้เข้าใจ จินตนาการได้ และคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นั้นจริงๆ โดยส่วนตัวแนะนำว่าถ้าเราจะเริ่มเขียนหนังสือ ควรเริ่มเขียนจากประสบการณ์จริงของเล่าเพราะเรารู้สึกได้ดีที่สุด 

         

 

           และการบรรยายสุดพิเศษ เรื่อง “การเขียนนวนิยายด้วย กระบวนทัศน์แห่งการสร้างสรรค์ใหม่ทางวรรณศิลป์” โดย ศาสตราจารย์คุณหญิง ดร.วินิตา ดิถียนต์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
 

 

           ปิดท้ายด้วย การฝึกปฏิบัติเขียนในสิ่งที่อยากเขียน (บทเริ่มต้นจากความคิด จิตใจ และอารมณ์วิถีอิสระสู่ของการสร้างสรรค์เฉพาะตัว)  และวิพากษ์ผลงานโดย คณาจารย์ ให้บรรดานักเขียนได้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และนำไปพัฒนางานเขียนต่อไป พร้อมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

 

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ