นามปากกา :

รางวัลที่ได้รับ :

เกียรติยศที่ได้รับ

  • เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ. 2459
  • ได้บรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเมื่อ พ.ศ.2460

ประวัติส่วนตัว :

      เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2419 ที่บ้านหลังศาลหัวเม็ด ตำบลสะพานหัน กรุงเทพฯ นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นบุตรคนที่ 18 ในจำนวนพี่น้อง 32 คน ของพระยาไชยสุรินทร์ (เจียม เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงเกษตรและพระคลังในสมัยรัชการที่ 5 แต่เป็นบุตรคนโตของมารดาชื่อยู่ เมื่ออายุได้ 8 ปี บิดาถึงแก่กรรม ฐานะครอบครัวตกต่ำลง มารดาจึงหารายได้ทางเย็บปักถึกร้อย

      เมื่ออายุ 12 ปี ได้เรียนหนังสือด้วยวิธีต่อหนังสือที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข สอบได้ประโยคหนึ่ง ในปี พ.ศ.2431 แล้วเรียนที่โรงเรียนพระดำหนักสวนกุหลาบสอบไล่ได้ประโยคสอง ต่อมาสอบไล่ได้ชั้น 5 ภาษาอังกฤษตามหลักสูตรหลวง ปีพ.ศ.2432 เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ปีพ.ศ. 2435 จนได้รับประกาศนียบัตรครูสอบไล่ได้ที่ 1 ของผู้สำเร็จวิชาครูรุ่นแรก ได้รับพระราชทานรางวัลเมื่อ พ.ศ.2437 ทางกระทรวงธรรมการได้คัดเลือกส่งไปศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศอังกฤษ จนได้รับรางวัลประกาศนียบัตรวิชาครูของอังกฤษ จากโรงเรียนฝึกหัดครูเบอโรโรค ที่ตำบลไวสลเวิฟ ใกล้กับกรุงลอนดอน เมื่อพ.ศ.2441

      เข้ารับราชการเมื่อปีพ.ศ.2435 ในกระทรวงธรรมการเป็นนักเรียนสอบในโรงเรียนตัวอย่าง จนได้เป็นครูผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อพ.ศ.2437 เมื่อกลับมาจากประเทศอังกฤษก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการเมื่อพ.ศ. 2459 โดยได้บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเมื่อพ.ศ.2460 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและเป็นประธานสภาผู้แทนราษฏรคนแรกของประเทศไทย รวมทั้งได้เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

      งานประพันธ์ครั้งแรกเมื่ออยู่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เขียนด้วยลายมือ คือหนังสือ “สัปดาหะการ” เมื่อเป็นนักเรียนฝึกหัดอาจารย์ ได้ออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ “วิทยาจารย์” โดยเป็นทั้งบรรณาธิการและทำทุกอย่างด้วยตัวเอง จัดตั้งสามัคยาจารย์สมาคมหนังสือ “วิทยาจารย์” ได้โอนเป็นของสามัคยายาจารย์สมาคมและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน จากที่กลับมาจากประเทศอังกฤษได้ร่วงกับน.ม.ส.แม่วัน และเพื่อนๆ ออกหนังสือรายเดือนชื่อ “ลักวิทยา” เมื่อพ.ศ.2448 เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนฉบับแรกที่เน้นสารบันเทิง โดยนำวิทยาการจากต่างประเทศมาเผยแพร่ ทำได้เพียง 2 ปีเศษ ต้องเลิกเพราะผู้จัดทำไม่สามารถปลีกเวลามาดูแลได้ แต่ต่อมาก็มีหนังสือพิมพ์ “ทวีปัญญา” มีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเล้าเจ้าอยู๋หัวทรงริเริ่มและเป็นบรรณาธิการ ชาวคณะ “ลักวิทยา” แม้จะอยู่ได้ไม่นานนักแต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้เขียนเรื่องประโลมโลก ส่วนบทประพันธ์ได้เขียวไว้ด้วยเหมือนกันโดยใช้นามปากกา “เขียวหวาน” ผลงานใน “ลักวิทยา” และ “ทวีปัญญา” มีความสำคัญต่อวรรณกรรมไทยปัจจุบัน เช่น เรื่องสั้น “คุณย่าเพิ้ง” ได้รับยกย่องว่าเป็นเร่องสั้นไทยยุคบุกเบิกที่ดีที่สุด ในขณะที่รับราชการและเมื่พันราชการออกมาแล้วก็ยังได้เขียนบทประพันธ์ต่างๆ ไว้มากมาย นามปากกาที่รู้จักกันทั่งไปคือ “ครูเทพ” รวมทั้งยังเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกร้อยกรองไทยปัจจุบันคนสำคัญ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์พ.ศ.2486 ด้วยโรคหัวใจวาย รวมอายุได้ 67 ปี