ห้องสมุดล่ามโซ่หนังสือ : มาตราการรักษาความปลอดภัยหนังสือในยุคกลาง

ห้องสมุดล่ามโซ่หนังสือ

 

      ห้องสมุดในยุคกลาง (ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 )  ได้พัฒนาและเปิดให้ประชาชนได้เข้าใช้-เข้าชม จึงมีมาตราการรักษาความปลอดภัยหนังสือทุกเล่ม โดยการทำโซ่ล่ามเอาไว้ เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือถูกขโมยนั่นเองค่ะ บุคคลเดียวที่จะสามารถปลดล็อคโซ่หนังสือได้ก็คือ คนที่เป็นบรรณารักษ์เท่านั้น และเมื่อเวลาเราจะอ่านหนังสือสักเล่มก็ต้องนั่งอ่านอยู่ตรงนั้นเพราะหนังสือถูกล่ามโซ่เอาไว้


      ถึงแม้จะหายห่วงเรื่องการลักขโมยหนังสือ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือเวลาที่เราต้องการหาหนังสืออ่านสักเล่มจะต้องใช้เวลาหานานพอสมควร เพราะการเก็บหนังสือนั้นจะหันสันปกเข้าทางด้านใน ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นชื่อหนังสือได้ และยิ่งสมัยก่อนยังไม่มีระบบตัวเลขแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน ยิ่งหาลำบากเข้าไปกันใหญ่

 

     แต่หลังจากที่เครื่องพิมพ์นั้นถูกสร้างและพัฒนาขึ้น ราคาของหนังสือก็ตกลงมาก หนังสือแต่ละเล่มถูกนำมาตีพิมพ์ซ้ำได้ง่าย เมื่อผ่านไปหลายทศวรรษเข้าการล่ามโซ่หนังสือก็ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป เพราะหนังสือส่วนใหญ่ในห้องสมุดถูกนำมาตีพิมพ์เผยแพร่แทบจะทั้งหมดแล้ว จนมาสิ้นสุดในศตวรรษที่ 19 แต่ห้องสมุดในยุโรปบางที่ก็ยังคงล่ามโซ่หนังสือเพื่อคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ ว่าครั้งหนึ่งหนังสือเหล่านี้มีความสำคัญมากแค่ไหน และก็ยังคงความสำคัญไว้เช่นเดิม

 

 

ห้องสมุดล่ามโซ่

Biblioteca Malatestiana

 

Church of Wimborne Minister

ห้องสมุดนี้สร้างขึ้นในปี 1686 เป็นห้องสมุดสาธารณะที่เปิดให้เข้าใช้เป็นที่แรกในประเทศอังกฤษ มีหนังสือที่เขียนด้วยภาษาละตินกรีกและฮีบรูที่เก่าแก่ที่สุด และหนังสือบางเล่มก็ถูกเขียนลงบนกระดาษที่ทำมาจากหนังแกะอีกด้วย

 

 

Royal Grammar School Chained Library

 

The Chained Library of Zutphen

 

The Francis Trigge Chained Library

 

The Hereford Cathedral Library

ห้องสมุด มหาวิหารเฮริฟอร์ด แห่งนี้ถือว่าเป็นห้องสมุดที่ล่ามโซ่หนังสือที่ใหญ่ที่สุด

 

 

cr. en.wikipedia.org/wiki/Chained_library , teen.mthai.com 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ