ธรรมชาติที่ถูกล่วงละเมิด   : บทวิจารณ์โดย นัธทวัฒน์ สมสุรวาณิชย์  

ธรรมชาติที่ถูกล่วงละเมิด  

     ธรรมชาติทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่น่าหลงใหล ตราตรึง และ ชวนให้น่าค้นหา หรือแม้กระทั่ง ชวนให้ลุ่มหลง  เหตุใดที่สิ่งนี้ที่เรียกว่า “ธรรมชาติ” จึงเป็นสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายใฝ่หาและมุ่งมั่นที่จะเข้าไปสัมผัสสักครั้งในชีวิต ก็ด้วย เหตุที่ว่ามันเป็นของที่ “ไม่ยั่งยืน” หรือ กล่าวได้ว่า มันสามารถสูญสลายลงไปได้ นั่นเอง อาทิการละลายของธารน้ำแข็งเก่าแก่ในกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือ (Scandinavian peninsula) ไปจนถึง การพังทลายบางส่วนของแนวประการัง (Great barrier reef) ใน ออสเตรเลีย (Australia) การผุพัง และ ล่มสายลงราวกับใบไม้ที่ร่วงโรงของ ธรรมชาติได้พรากทั้งความสวยงามไปจนถึงความหลากหลายของพันธุ์สิ่งมีชีวิตต่างๆไปอย่างน่าเศร้าใจ  

 

     “ข้าพเจ้าสัญจรไปเป็นอาคันตุกะของเหล่าสรรพสัตว์ และพันธุ์ไม้แห่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แมงมุมป่าตัวน้อยที่พักพิงอยู่ริม (อดีต) สนามกอล์ฟเขาใหญ่เป็นเจ้าของบ้านรายแรกที่ให้การต้อนรับข้าพเจ้า”  

 

      ธีรภาพ โลหิตกุล ได้กล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง “อาคันตุกะ” ถึงเรื่องราวของ ความงามของธรรมชาติและ พันธุ์สัตว์ต่างๆในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งดึงดูดให้ผู้คนจากหลากหลายที่ได้มาเยือนในฐานะ “อาคันตุกะ” ของ บ้านของบรรดาสัตว์ป่าและธรรมชาติหลังใหญ่แห่งนี้ ผู้วิจารณ์รู้สึกประทับใจและชื่นชมตัวผู้เขียนบทความ ดังกล่าวในด้านทักษะการใช้อุปมาโวหารในการบรรยายถึงสัตว์นานาชนิดในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เปรียบเสมือน กับ “เจ้าของบ้าน” ผู้วิจารณ์มองว่าการที่ ธีรภาพ โลหิตกุล เลือกอุปมาถึงบรรดาสัตว์นานาชนิดในฐานะ “เจ้าของ บ้าน” นั้นเปรียบเสมือนการสร้างคุณค่าใหม่ หรือ ค่านิยมใหม่ ให้แก่ผู้ที่ซึมซับผลงานดังกล่าวว่า ธรรมชาตินั้นล้วน เป็นของที่พึงคู่กับสัตว์ป่าในธรรมชาติ เพราะ หากมองย้อนไปในอดีตและหนทางแห่งประวัติศาสตร์จะพบว่า  “มนุษย์” นั้นอหังการ และ หลงในตนเองว่าเป็นเจ้าของ “ธรรมชาติ” จนก่อให้เกิดความสูญสียขึ้นมามากมายซึ่งมิ อาจทดแทน หรือ หาทางชดใช้กลับมาได้อีก มีตัวอย่างมากมายในอดีต อาทิ การสูญพันธุ์ของนกโดโด้ (Dodo) บน เกาะมอริเซียส (Mauritius) ภายในระยะเวลาอันสั้น หลังการถูกค้นพบโดยกะลาสีเรือชาวดัทช์ในปี ค.ศ.1598 และสูญพันธุ์ไปในช่วงปี ค.ศ.1680 ภายหลังถูกมนุษย์ล่าและถูกสัตว์ต่างถิ่นที่มนุษย์นำมาด้วยคุกคามอย่างหนัก  หรือ กรณีของ “เสือโคร่งชวา”( Javan tiger) ซึ่งถูกล่าอย่างหนักจนกระทั่งสูญพันธ์ไปในช่วงกลางปี ค.ศ.1970 ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปในประวัติศาสตร์ระยะสั้น และ มิสามารถทดแทนได้อีก สิ่งที่ผู้วิจารณ์ได้ยกมา ประกอบนั้นก็เพื่อจะแสดงให้เห็นถึงความ อหังการของมนุษย์สองขา ที่เข้าไปคุกคามในฐานะอาคันกุตะแห่ง ธรรมชาติจนก่อให้เกิดบาดแผลอย่างมหาศาล และ อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคตอันสั้นและยาวไกลและใน หลากหลายที่รวมถึง “อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” โดย ธีรภาพ โลหิตกุล ได้ยกประเด็นถึงการคืนสิทธิในการเป็นเจ้าของบ้านให้แก่เจ้าของบ้านตัวจริง (สัตว์ป่า) ผ่านการออกฎหมาย อาทิ การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในปี พ.ศ.2505 หรือ รัฐบาลสมัยนาย อานันท์ ปันยารชุน ได้ดำเนินการปิดสนามกอล์ฟภายในอุทยานแห่งชาติเขา ใหญ่เพื่อเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์และสัตว์ป่า แต่ก็มิอาจปิดกั้น หรือ แยกขาดมนุษย์ออกจากความลุ่มหลงในธรรมชาติ ได้เสียทีเดียว ดังจะเห็นได้จากบรรดานักท่องเที่ยวยังคงเดินทางเข้าไปสัมผัสบ้านหลังนี้กันอย่างมิขาดสายในฐานะ  “อาคันตุกะ” อาคันตุกะในฐานะ “แขก” ของบ้าน เมื่อใดก็ตามเมื่อแขกไปเยือน หรือ เยี่ยมเยียน ณ ที่แห่งใด ย่อมมีข้อปฎิบัติ หรือ ธรรมเนียมพึงปฏิบัติกัน แล้วแต่สถานที่ หรือ วัฒนธรรมนั้นๆ เช่นเดียวกับการไปเยือนอุทยาน แห่งชาติ การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติควรเป็นสิ่งที่ควรกระทำด้วยความเคร่งครัดอย่างยิ่ง แต่งานของธีรภาพ โลหิตกุล  กลับมิเป็นเช่นนั้น ภาพของธรรมชาติในเขาใหญ่ที่ธีรภาพสื่อออกมานั้นกลับเป็นความสวยงามที่ปะปนไปพร้อมกับ คาวเลือดของสัตว์และความตายของเจ้าของบ้าน อันเป็นผลมาจากทั้งความไม่รู้ และ ความประมาท ของบรรดาอาคันตุกะที่ก้าวเท้าเข้ามาเยือนบ้านสีเขียวหลังนี้ อาทิ กรณีของพ่อค้าในพื้นที่ซึ่งขับรถชนกวางจนกวางตัวนั้นถึงแก่ ความตายระหว่างใช้เส้นทางผ่านเขาใหญ่ระหว่างปากช่องกับปราจีนบุรี ในขณะที่ความผิดของเขามีบทลงโทษ สำหรับความประมาทเพียงแค่ การเสียค่าปรับ 1,000 บาท แลกไม่ได้เลยกับหนึ่งชีวิตที่ต้องดับลงไป หรือ ในอีกกรณี  คือ ความไม่รับรู้ของอาคันตุกะ ทั้งในกรณีของ ลิงกัง และ กระทิงป่าจุ๋มจิ๋ม ซึ่งประสบกับความตายบนความไม่รู้ ของอาคันตุกะซึ่งมอบอาหารและความเอื้อเฟื้อให้กับบรรดาสัตว์ อาทิ การให้อาหาร หรือ ความมักง่ายของการทิ้ง ขยะ ล้วนเป็นผลให้สัตว์ต่างๆพบจุดจบไม่ต่างกัน คือ โรคภัย และ ความตายที่มาเยือนพร้อมกับการมาของบรรดา อาคันตุกะ  

 

      ผู้วิจารณ์รู้สึกว่า ประวัติศาสตร์จุดจบของนกโดโด้ และ เสือโคร่งชวา คงจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวในห้วงเวลา แห่งอดีตอีกต่อไป หากแต่คงจะเป็นเพียงความโชคร้ายเสียมากกว่าที่สัตว์ทั้งสองชนิดนั้นได้พบจุดจบรวดเร็วกว่า สัตว์ป่าในที่อื่นๆ และ กลิ่นของศพและคาวเลือดของสัตว์ก็ยังจะคงดำเนินต่อไป และในไม่ช้าก็คงไปถึงจุดที่ ประวัติศาสตร์คงได้บันทึกถึงการจากไปอย่างไม่มีวันหวนคืนของสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ถ้าหากบรรดา อาคันตุกะทั้งหลายยังคงวิถีและพฤติกรรมเช่นเดิมของตนดังข้อความในงานเขียนของธีรภาพ โลหิตกุล

 

ธรรมชาติที่ถูกล่วงละเมิด
บทวิจารณ์โดย นัธทวัฒน์ สมสุรวาณิชย์  

โครงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 6  

 

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ