นามปากกา :

รางวัลที่ได้รับ :

  • ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี 2528
  • ได้รับรางวัลศรีบูรพา เป็นคนแรก พ.ศ. 2531

ประวัติส่วนตัว :

เสนีย์ เสาวพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2461 ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนที่น้องทั้งหมด 6 คน ของนายหงษ์และนางแพ บำรุงพงศ์ ซึ่งมีอาชีพนทำนา โดยบิดาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน เดิมมีชื่อว่า “บุญส่ง” เปลี่ยนชื่อตอนที่อายุได้ 20 ปีเศษ เป็นชื่อ “ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์” ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายยกรัฐมนตรี ที่ออกระเบียบวัฒนธรรมในการตั้งชื่อบุคคลให้ชัดเจนว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย จะมีผลที่จะไม่ได้รับเงินเดือนหรือต้องลาออกถ้าเป็นข้าราชการ

เริ่มเขียนเรื่องสั้นไปลงพิมพ์ทั้งในวารสารของโรงเรียน และนิตยสารทั่วไป เช่น ศรีกรุงวันอาทิตย์ และกรุงเทพวารศัพท์ ตอนมัธยมปีที่ 8 ได้ทำงานหนังสือพิมพ์ที่ “ศรีกรุง” แผนกข่าวต่างประเทศแล้วย้ายไปอยู่หนังสือพิมพ์ “สยามราษฏร์”

พ.ศ.2485 ได้ทำงานราชการ จากงานเสมียนแผนกพานิชนโยบายต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐการ ปีต่อมาได้สอบได้ทุนฮัมโบลท์ไปศึกษาต่อที่เยอรมนี เกิดสงครามทางยุโรปตะวันตกทำให้ต้องกลับประเทศไทย และย้อนไปยึดอาชีพงานหนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่งที่ “สุวรรณภูมิ” เนื่องจากชาว “สุวรรณภูมิ” ใช้นามปากกาสกุล “พรหม จรรยา” จึงเริ่มใช้นาม “สุจริต พรหมจรรยา” หลังจากใช้ชื่อเดิม “บุญส่ง บำรุงพงศ์” เขียนเรื่องสั้น ส่วนนามปากกา ”เสนีย์ เสาวพงศ์” ได้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเขียนเรื่องสั้น “อาคาเชียปลายฤดูร้อน” ในหนังสือพิมพ์ “สุวรรณภูมิ” ประสบความสำเร็จกว้างขวางจนหนังสือพิมพ์ “ตงง้วน” รายสัปดาห์ มีการไปแปลเป็นภาษาจีน

พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ข่าวต่างประเทศถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจึงเลิกทำหนังสือพิมพ์

พ.ศ. 2485 เข้ารับราชการในวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ กระทรวงการต่างประเทศจนเกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งเอกอัคราชทูตที่ประเทศพม่า

พ.ศ. 2488 ได้มีโอกาสร่วมงานเสรีไทยโดยทำหน้าที่ดูแลทหารอังกฤษ และเสรีไทยสายอังกฤษที่ประจำการอยู่ธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2489 เคยอยู่ในคณะบรรณาธิการนิตยสาร “ลานนาไทย” รายสัปดาห์ ที่ดำเนินนโยบาลส่งเสริมสันติภาพ และยังคงมีผลงานเขียนเผยแพร่สม่ำเสมอ

พ.ศ. 2484 – 2490 นิยมใช้ฉากต่างประเทศ (exotic) นวนิยายเรื่องแรกเป็นที่นิยมมาก และทำให้มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วคือ “ชัยชนะของคนแพ้” (เดิมใช้ชื่อ “ผู้หญิงตาสีฟ้า”) ลงในสุวรณภูมิ ในช่วง พ.ศ.2486

พ.ศ. 2487 ได้มีการพิมพ์รวมเล่มทำให้ชื่อเสียงของ “เสนีย์ เสาวพงศ์” โด่งดังอย่างรวดเร็วและมีผลงานนวนิยายต่อมาอีกหลายเรื่อง “ไม่มีข่าวจากโตเกียว” (รวมเล่มพ.ศ.2488) “ฟ้าแมนจู” (รวมเล่มพ.ศ. 2488) “ชีวิตบนความตาย” (รวมเล่มพ.ศ. 2489)

พ.ศ. 2490 ได้เป็นนักการทูตในต่างแดน โดยไปเป็นนายเวรประจำสถานทูตไทยในกรุงมอสโคว์ รัสเซีย อยู่ที่นั้นกว่า 30 ปีและในเวลานั้นก็ได้วนเวียนอยู่ที่ต่างประเทศในหลายตำแหน่ง เช่น เลขานุการสถานเอกอัครราชทูตอาร์เจนตินา(พ.ศ.2498 – 2503) อินเดีย (พ.ศ.2505 – 2508) ออสเตรีย (พ.ศ. 2511 – 2515 ) ที่ปรีกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ (พ.ศ. 2516 – 2518) เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็ม ที่เอธิโอเปีย (พ.ศ. 2518 ) และเอกอัครราชทูตประเทศพม่าเป็นตำแหน่งสุดท้าย ตั้งแต่พ.ศ. 2519 จนเกษียณอายุราชการเมื่อพ.ศ. 2521

พ.ศ. 2494 หลังจากเข้ารับราชการแล้ว มีผลงานแปลคือ วาระสุดท้ายของเซวัสโตโปล ลงพิมพ์ในนิตยสารปิยะมิตร และสารคดีเรื่อง “เจ็ดแผ่นดิน” ลงในนิตยสารสยามสมัยรายสัปดาห์ รวมทั้งมีเรื่องสั้นอีกจำนวนหนึ่ง

พ.ศ. 2495 หลังจากนั้นจึงเกิดนวนิยายเรื่องสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันเรื่อยมาจนปัจจุบันคือ “ความรักของวัลยา” ลงพิมพ์ในนิตยสารสยามสมัย

พ.ศ. 2496 เรื่อง “ปีศาจ” ได้ลงพิมพ์ในนิตยสารสยามสมัย แต่นวนิยายที่ได้รับการยอมรับและยกย่องว่าเป็น “หมุดหมาย” ที่สำคัญในเส้นทางวรรณกรรมไทยคือ ความรักของวัลยา และปีศาจ

พ.ศ. 2504 นวนิยานเรื่อง “ไฟเย็น” ในนิตยสารสยามสมัย และ “บัวบานในอะเมซอน” ในนิตยสารปิยะมิตร

พ.ศ. 2522 ได้ทำงานที่ประเทศไทย ในตำแหน่งประธานที่ปรึกษาบริษัทมติชน จำกัด และงานหนังสือในเครือข่าย

พ.ศ. 2524 มีผลงานประพันธ์นวนิยาย “คนดีศรีอยุธยา” ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์

พ.ศ. 2526 เรื่อง “ใต้ดาวมฤตยู” ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ สมรสกับเครือพันธ์ ปทุมรส เมื่อพ.ศ. 2496 มีบุตรและธิดารวม 4 คน ศักดิชัย ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นามปากกา
เสนีย์ เสาวพงศ์ , โบ้ บางบ่อ , สุจริต พรหมจรรยา , กรัสมัย โปรชาติ , คมศานติ วัลยา , ศิลปวัลลภ หนานสีมา