บทวิจารณ์เรื่องสั้น ความรักชาติของชาวเหมืองแร่ : ความเหลื่อมล้ำที่นําไปสู่การต่อสู้ระหว่างชนชั้น : บทวิจารณ์โดย ชมพูนุช สุขอุ่นพงษ์

บทวิจารณ์เรื่องสั้น ความรักชาติของชาวเหมืองแร่ : ความเหลื่อมล้ำที่นําไปสู่การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

             ความรักชาติของชาวเหมืองแร่ เป็นตอนหนึ่งในผลงานรวมเรื่องสั้นชุด “เหมืองแร่” ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ลงพิมพ์ในนิตยสารชาวกรุง เป็นหนังสือในชุดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่านประเภทบันเทิงคดี/เรื่องสั้น และถูกนํามาตีพิมพ์ซ้ำเป็นจํานวนมาก นําเสนอเรื่องราวการใช้ชีวิตในเหมืองแร่ของอาจินต์ ประสบการณ์ของผู้เขียนที่เติบตนออกมาจากการทําเหมืองแร่ในจังหวัดพังงาเมื่อครั้งยังค้นหาตนเอง สื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวของชีวิต วิถีชาวบ้าน ที่ถูกขีดเขียนขึ้นจากประสบการณ์ของนิสิตวิศวะเลือดสีชมพูที่เรียนไม่จบแล้วไปใช้ชีวิตอยู่ในเหมืองแร่ดีบุก หากแต่สิ่งที่สําคัญที่คุณอาจินต์ขุดกลับมาได้นั้น มิใช่แร่ดีบุกหากแต่เป็นทรัพยากรอันมีค่าของชีวิต จากตอนความรักชาติของชาวเหมืองแร่ เป็นการเล่าเรื่องของอาจินต์ซึ่งได้รับหน้าที่จากนายฝรั่ง ให้เป็นคนซุ่มดักจับคนที่ขโมยแร่ในเหมืองด้วยกัน เพื่อพิสูจน์คุณสมบัติของคนงานในการทําเหมืองแร่ นั่นคือ “ความซื่อสัตย์ ” เป็นการเล่าเรื่องความซื่อสัตย์ผ่านมุมมองของตัวละคร ที่มีความรู้สึกขัดแย้งระหว่างในจิตใจกับการกระทํา


           ผู้วิจารณ์ต้องการนําเสนอเรื่องสั้น ความรักชาติของชาวเหมืองแร่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในแง่ของแรงขับและแรงจูงใจโดยกําเนิดหลาอย่าง คือ จิตไร้สํานึก (unconscious) เพื่อให้เห็นความแตกต่างของบุคคลทางพัฒนาการ บุคลิกภาพและพฤติกรรม ตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันต์  ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่มีความเห็นว่ามูลเหตุจูงใจที่บังคับให้คนมีพฤติกรรมต่าง ๆ คือ ความปรารถนาในส่วนลึกของจิตของแต่ละคน เช่นเดียวกับพฤติกรรมการแสดงออกของอาจินต์ ตัวละครหลักของเรื่องที่แสดงให้กับก้องและนายฝรั่ง ซึ่งตรงกับฟรอยด์ที่เสนอความเห็นว่า มนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กําเนิด คือ สัญชาตญาณเพื่อการดํารงชีพ (Life Instinct) และสัญชาตญาณเพื่อความตาย (Death Instinct) มนุษย์เรามีพลังอยู่ตัวตั้งแต่เกิดเรียกว่า “ Libido” เป็นพลังที่ทําให้คนเราอยากมีชีวิต อยากสร้างสรรค์ และมีความรัก เหตุจูงใจเกือบทั้งสิ้นมีต้นกําเนิดมาจากความรู้สึก ซึ่งเป็นเหตุจูงใจที่ซ่อนอยู่ในจิตใต้สํานึก ซึ่งเป็นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่ต้องมีจิตใต้สํานึก ที่ควรได้รับความสนใจในสังคมทุกยุคทุกสมัย ประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้วิจารณ์นํามาทําบทวิจารณ์มีความน่าสนใจ ที่ผู้อ่านอยากทราบข้อเท็จจริง ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้ามาวิเคราะห์ โดยผู้วิจารณ์ได้ตั้งประเด็นที่นํามาวิจารณ์อยู่ 2 ประเด็น ดังนี้


        • สถานภาพและบทบาทระหว่างชนชั้น
        • ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกกับความถูกต้อง


          สถานภาพและบทบาทระหว่างชนชั้น ช่วงชั้นทางสังคมและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมนั้นเกิดจากมโนทัศน์ โอกาสในชีวิต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความแตกต่างของมนุษย์ ทั้งโชคชะตาที่กําหนดโดยธรรมชาติ โดยวัฒนธรรม หรือโดยสถานการณ์ทางสังคม ล้วนนํามาซึ่งความแตกต่างทางสังคม ช่วงชั้นทางสังคม และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับในการใช้หลักจิตวิทยามาอธิบาย (Symbolic action) คนทุกคนที่อยู่ในสังคมนั้นย่อมมีความสํานึกอยูjตลอดเวลาในเรื่องชนชั้น ความไม่เสมอภาคในแต่ละช่วงชั้นในสังคมย่อมแสดงอํานาจ เอกสิทธิทําให้โอกาสชีวิตของปัจเจกชนต่างกัน ผู้ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลางมักมีความวิตกกังวลสูง ชอบเสี่ยง และมุ่งความสําเร็จในชีวิตเป็นค่านิยมสําคัญ เช่นเดียวกับสถานภาพของอาจินต์ และก้อง จากข้อความดังนี้ “การคลุกคลีกับเหงื่อไคลและโคลนตม การสมาคมในกลุ่มกรรมกรเป็นชีวิตแบบใหม่ ” แสดงให้เห็นถึงการรู้สํานึกสถานภาพตนเองในเหมืองแร่ของอาจินต์ จากข้อความ “คุณถือกฎหมายมีภาษาฝรั่งปน ผมถือกฎหมายคลุกกับข้าวสุก” จะเห็นว่า แม้สิ่งที่ก้องพูดออกมาจะเป็นละครที่ถูกจัดฉากขึ้นที่ถูกนายฝรั่งบอกความจริงในตอนท้ายเรื่อง แต่มันคือความเป็นจริงของชีวิตที่ก้องรู้สํานึกจึงพูดเพื่อให้อาจินต็เข้าใจในฐานะของคนที่อยู่ในสถานภาพเดียวกัน ว่ากฏหมายของฝรั่งเปรียบเหมือนกฎหมายสากลที่เอาผิดตนได้ก็จริง แต่ตนเองยึดถือกฎหมายของชนชั้นแรงงานเปรียบเหมือนกฎหมายชาวบ้าน ที่ยึดถือกันเองเฉพาะกลุ่มเป็นนัยยะที่แสดงถึงการกลัวไม่มีข้าวประทังปากท้องมากกว่าเกรงกลัวกฏหมาย จากข้อความ “พี่ก้องน่ะใหญ่กว่าฉันแน่ แต่ว่านี่เป็นคําสั่งจากนายฝรั่ง นายฝรั่งกับพี่ก้องใครใหญ่กว่ากัน” แสดงให้เห็นว่า นายฝรั่ง คือ ผู้มีอํานาจที่สุดในระบบชนชั้น ผู้เป็นนายทุนหรือผู้ประกอบการ เพียงอาจินต์เอ่ยชื่อในนามนายฝรั่ง ก็ทําให้นายฝรั่งมีบทบาทที่สุดในเหมืองแร่และก้องควรให้ความยําเกรงในการกระทําผิด


            ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกกับความถูกต้อง ทฤษฎีจิตเพศของฟรอยด์ ที่ทําให้พบแรงจูงใจไร้จิตสํานึก (Unconscious Motives) ฟรอยด์จึงสรุปว่ากระบวนการพัฒนาการของมนุษย์เต็มไปด้วยความขัดแย้ง มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพซึ่งมีสัณชาตญาณทางเซ็กส์และสัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว เป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมมนุษย์ จะทําตามสัญชาตญาณที่กล่าวมา แต่ทว่าระบบชนชั้นกําหนดว่าสัญชาตญาณเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่ยอมรับและต้องควบคุมไว้นั่นคือการอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม ที่ชนชั้นแรงงานต้องจํายอมต่อนายทุน เช่นเดียวกับอาจินต์ต้องทําตามหน้าที่ได้รับมอบหมายจากนายฝรั่งให้ซุ่มจับคนขโมยในเหมืองเพราะความถูกต้องและความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ จากข้อความ “25 ปีแล้ว ควรจะรู้หลักการ รู้แก่นสารของมัน เขาทํากันถูกตามกระบวน แล้วนี่เห็นอย่างไรจึงมาลักของของเขา” แสดงให้เห็นว่าอาจินต์ยึดถือในความถูกต้องและความซื้อสัตย์ต่อหน้าที่ แม้ว่าก้องจะเป็นรุ่นพี่และเป็นหัวหน้าคนงานแต่อาจินต็ก็ไม่มีความเกรงกลัวต่อก้อง หรือถดถอยในการพูดเพื่อหยุดการลักลอบขนแร่ของก้องและคนงานคนอื่น แต่ทว่าหลังจากที่พูดคุยประนีประนอมเพื่อให้ก้องหยุด แต่ก้องก็ไม่หยุดด้วยเหตุผลที่ว่าเหมืองที่ขโมยก็เป็นทรัพยากรในประเทศ ตนจะไม่ยอมเสียผลประโยชน์ให้นายทุนต่างชาติอีก และทั้งหมดก็เพื่อปากท้องของชนชั้นแรงงานอย่างตนเองหากแร่หมดนายฝรั่งก็กลับประเทศของตนเองพร้อมกับทรัพย์สินมหาศาลที่ได้จากทรัพยากรในประเทศไทย ทําให้อาจินต์เกิดความขัดแย้งกับตัวเองว่าควรจะเลือกอะไรระหว่างความถูกต้องกับความรู้สึก จากข้อความ “ไม่เข้าใจจริง ๆ ขโมยแร่กับเรื่องชาติไม่เข้าใจ แต่ขโมยแร่กับศาสนาละก็ผิดแน่” แต่อาจินต์ก็ยอมเข้าใจก้อง      เพราะอยู่ในสถานภาพเดียวกันและรู้ซึ้งถึงการอยู่ภายใต้อํานาจของนายทุน พร้อมทั้งทิ้งท้ายว่า ตนจะลาออกและฟ้องนายฝรั่ง เป็นการตัดสินใจที่อาจินต์รู้สึกผิดหวัง เพราะไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อาจินต์จึงขอที่จะไม่เลือกอะไรเลย

 

          อาจินต์ คือ ผู้สร้างผลงานได้หลากหลายแง่มุมและสม่ำเสมอ ผลงานรวมเรื่องสั้นชุด “เหมืองแร่”ของเขาถ่ายทอดออกมาจากประสบการณ์อันล้ำค่า เขาได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติและถือเป็น “ครู” ของใครหลาย ๆ คนในฐานะนายช่างแห่งเหมืองแร่กระโสม นักเขียนชั้นครูและนักเล่าเรื่องราว ผู้วิจารณ์เชื่อว่าชีวิตนั้นบอบบางและแสนสั้น ผลงานและการกระทําต่างหากที่ฝากค่าแห่งชีวิตให้ผู้คนได้จดจํา เช่นเดียวกับค่าของผลงานที่อาจินต์ได้ฝากไว้นั้นเป็นดั่งสายแร่ ที่ทั้งสอน ชีวิตและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนจวบจนวาระสุดท้าย

 

บทวิจารณ์เรื่องสั้น ความรักชาติของชาวเหมืองแร่ : ความเหลื่อมล้ำที่นําไปสู่การต่อสู้ระหว่างชนชั้น

บทวิจารณ์โดย ชมพูนุช  สุขอุ่นพงษ์

โรงการ อ่าน เขียน เรียนรู้ สู่งานวิจารณ์ ปีที่ 7

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ