สัตว์โลกล้านปี ใน บุกบาดาล ผลงานของ จูลส์ เวิร์น : A Journey to the Centre of the Earth

สัตว์โลกล้านปี ใน บุกบาดาล ผลงานของ จูลส์ เวิร์น

 

A Journey to the Centre of the Earth

 

          บุกบาดาล (A Journey to the Centre of the Earth)  หนึ่งในบทประพันธ์ของ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne) เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1864 (ก่อนเรื่อง ใต้ทะเล 20,000 โยชน์ เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1870 และ 80 วันรอบโลก เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1873)

          บุกบาดาล เรื่องราวของพิภพใต้โลกที่ถูกถามว่ามีอยู่จริงหรือ? มนุษย์เราจะสามารถลงไปสู่ยังกลางใจโลก โดยที่ยังมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่?  ศาสตราจารย์ชาวเยอรมันชื่อ Otto Lidenbrock ที่เชื่อว่ากับหลานชาย Axel จึงออกเดินทางค้นหาคำตอบนี้ และการผจญภัยอันน่าตื่นเต้นได้ถูกนำเข้ามาผสมผสานกัน จนทำให้นวนิยายเล่มนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักอ่านที่สนใจสิ่งที่อาจเป็นไปได้เกี่ยวกับเรื่องของวิทยาศาสตร์  โดยในเรื่องเขาทั้งสอง ต้องพบเจอกับภัยธรรมชาติแล้ว ยังได้ไปพบสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ หลายตระกูล ปรากฎในหนังสือตามต้นฉบับเดิม และในภาพยนตร์ อย่างเช่น

 

Dimetrodon

 

Dimetrodon

    ไดโนเสาร์ใบเรือ เป็นไดโนเสาร์ที่กินเนื้อ ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 3 เมตร ชอบล่าสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร ลักษณะที่เด่นชัดเจน คือบริเวณกลางหลังมีครีบคล้ายใบเรือสำเภา สันนิฐานว่าใช้ระบายความร้อนของร่างกาย

 

Plesiosaurus

 

Plesiosaurus

    เพลสิโอซอร์ ปรากฏตัวตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (ประมาณ 230 ล้านปีก่อน) มีคอยาว แต่หัวเล็ก ในปากมีฟันแหลมคม สามารถว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว และสามารถลอยตัวผ่านน้ำได้ ฟันมีลักษณะรูปกรวยมีความแหลมคมแข็งแรงมากพอที่จะฆ่าสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหารได้ และด้วยความยาวลำตัวที่มากถึง 15 เมตรเป็นอย่างน้อย จึงทำให้เพลสิโอซอร์ได้ชื่อว่าเป็นอสุรกายแห่งท้องทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วยความที่เป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร

    ทั้งนี้ เพลสิโอซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น อีลาสโมซอรัส (Elasmosaurus platyurus), เพลสิโอซอรัส  (Plesiosaurus dolichodeirus)  หรือฟุตาบะซอรัส(Futabasaurus suzukii) พบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกจนถึงขั้วโลกใต้ในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเพลสิโอซอร์ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา, หมึก กินเป็นอาหาร แต่ก็มีบางทฤษฎีที่เชื่อว่าเพลสิโอซอร์ไม่สามารถยกส่วนหัวหรือคอขึ้นพ้นผิวน้ำได้ และจากการศึกษาล่าสุดของนักบรรพชีวินวิทยากลุ่มหนึ่ง โดยการใช้แบบจำลองส่วนหัวและฟันของเพลสิโอซอร์พบว่า การสบกันของฟันอาจเป็นไปได้ว่าใช้ชีวิตด้วยการกรองกินเหมือนกับวาฬบาลีนหรือวาฬไม่มีฟัน ซึ่งไม่เคยพบพฤติกรรมเช่นนี้ในสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลชนิดอื่น ๆ มาก่อน โดยอาจเป็นวิวัฒนาการเบนเข้า เนื่องจากทั้งวาฬและเพลสิโอซอร์นั้นมิได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลยแต่ประการใด แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป

 

A Journey to the Centre of the Earth

 

ช้าง "ไดโนเธอเรี่ยม" (Deinotherium)

    มีชีวิตในช่วงอายุ สมัยไมโอซีนช่วงกลาง - ช่วงปลาย (16 – 5 ล้านปีก่อน) ลักษณะทั่วไป ไดโนแธร์เป็นกลุ่มของสัตว์มีงวงที่คล้ายช้างปัจจุบันและสูญพันธุ์ไปแล้ว ไม่มีงาจากขากรรไกรบนแต่มีงาจากขากรรไกรล่าง และโค้งงอหักชี้ลงล่างคล้ายจอบ ปัจจุบันจำแนกช้างงาจอบออกเป็น 2 สกุล คือ Deinotherium กับ rodeinotherium ที่มีขนาดเล็กกว่า แต่มีอายุเก่ากว่า ถิ่นที่อยู่ อาจจะอาศัยอยู่ในป่า และจากรูปแบบการสึกของงาจอบที่ ปรากฏให้เห็น เชื่อว่าช้างโปรไดโนธีเรียมและไดโนธีเรียม ใช้งาในการขุดหารากไม้หรือปอกเปลือกไม้

    การกระจาย พบซากดึกดำบรรพ์ในทวีปยุโรป เอเชียและแอฟริกา ในประเทศไทยพบซากฟันกรามและขากรรไกรเป็นแห่งแรกที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา และต่อมาพบที่บ่อ ทราย ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยพบเฉพาะสกุลโปรได.โนธีเรียม ในบริเวณอื่นของโลก ส่วนมากพบในสกุลไดโนธีเรียม เช่น ทวีปแอฟริกาพบในเขตแอฟริกาตะวันออก คือ ชนิด D. Hobleyi Andrews (Lower Miocene) ในยุโรป พบ 2 ชนิด คือ D. bavericum Meyer (Upper Miocene) และชนิดใหญ่สุดที่สูงถึง 3.8 เมตรที่ระดับไหล่ คือ ชนิด D. giganteum Kaup (Lower Pliocene)

 

A Journey to the Centre of the Earth

 

Pterichthyodes
    เป็นปลาที่มีเกราะแข็งหุ้มขนาดเล็ก มีลำตัวที่ยาว ส่วนหัวเล็ก มีตาอยู่ด้านบนของส่วนหัว มีเกล็ดเหลื่อมกัน

 

 

A Journey to the Centre of the Earth

Lophiodon

    เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลักษณะคล้ายสมเสร็จ

 

A Journey to the Centre of the Earth

 

Anoplotherium

    มีลักษณะเท้าเป็นกีบ เหมือนม้า ลา คาดว่าอยู่ในช่วง  33.9  - 56 ล้านปีก่อน พบซากกระดูก ใกล้ๆ กับปารีส ฝรั่งเศส คาดว่ามีน้ำหนักตัวประมาณ 80 กิโลกรัม มีกระดูกส่วนหางยาวและ คาดว่ามีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพื่อช่วยในการเคลื่อนตัว และป้องกันตัวจากสัตว์ชนิดอื่น

 

A Journey to the Centre of the Earth

 

Mastodon

     จากซากฟอสซิลได้แสดงให้มันเห็นว่ามันใช้ชีวิตอย่างไร นักวิจัยคาดว่า Mastodon ได้ต่อสู้กันเองทุกๆ ปีในขณะที่เป็นตัวเต็มวัย โดยดูจากร่องรอยบนฟอสซิลงาของมันนั่นเอง ในยุคสมัยและในป่าที่มันอยู่ เจ้า American Mastodon ไม่ได้เป็นแค่สัตว์กินพืชที่รักสงบเท่านั้น Danial C.Fisher นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่าพวกมันเป็นสัตว์ที่ก้าวร้าวมาก Mastodon ที่มีงายาวโค้ง และจะใช้งานี้เพื่อการแข่งขันกับตัวผู้ตัวอื่นเพื่อแย่งตัวเมีย


    Mastodon มีถิ่นที่อยู่อาศัยในอเมริกาเหนือเมื่อราว 4 ล้าน ถึง 10,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อปี 1999 นักโบราณคดีจาก Hyde Park นิวยอร์ก ได้ขุดเจองาที่ยาวและโค้งของ Mastodon อายุประมาณ 11,480 ปี

 

A Journey to the Centre of the Earth

Megatherium สลอธยักษ์

    Megatherium  หรือในชื่อสามัญว่า กราวด์สลอธยักษ์ (Giant ground sloth) ในสมัยปลายยุคน้ำแข็งมีกราวด์สลอธหลายชนิดที่อาศํยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่แถบเบริงเจีย ไปจนถึงบริเวณอเมริกากลางและอเมริกาใต้  แต่ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือชนิดที่เรียกว่า เมกะเธเรียม สลอธยักษ์ชนิดนี้ มีความยาวกว่า 20 ฟุต เวลายืนบนสองขาหลังอาจสูงถึง 13 ฟุต และหนักมากกว่าสี่ตัน ผิดกับญาติของมัน สลอธต้นไม้ที่มีขนาดเพียงเท่ากับชะนีตัวเขื่อง ๆ เท่านั้น ถิ่นอาศัยของมันคือบริเวณที่เป็นมลรัฐฟลอริดาเรื่อยลงไปจนถึงอเมริกาใต้ 

    สลอธยักษ์เป็นสัตว์กินพืช หากินตามลำพัง โดยมักจะยืนบนขาหลังและใช้หางขนาดใหญ่ทรงตัว ซึ่งด้วยวิธีนี้ทำให้มันสามารถกินใบไม้บนที่สูง ๆ ได้ มันมีกรงเล็บขนาดใหญ่ที่ขาหน้าทั้งสองข้างขนาดยาวราวเจ็ดนิ้ว ใช้ประโยชน์ในการเหนี่ยวยอดไม้ลงมากิน และยังใช้เป็นอาวุธได้อีกด้วย ลักษณะพิเศษที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของสัตว์ยักษ์ชนิดนี้ ก็คือ มันมีกระดูกชิ้นเล็ก ๆ เรียงรายใต้ผิวหนัง เชื่อกันว่ากระดูกพวกนี้น่าจะทำหน้าที่เป็นเกราะให้กับมัน

 

A Journey to the Centre of the Earth

 

Ichthyosaurus

    อิกทิโอซอรัส เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลในวงศ์อิกทิโอซอร์ ชื่อของมันหมายถึง กิ้งก่าปลาอิกทิโอซอรัส ถูกตั้งชื่อโดย De la Beche และ Conybeare ในปี ค.ศ.1821 มันอยู่ในทะเลร่วมกับสัตว์ทะเลอื่น ๆ เช่น โรเมลลีโอซอรัส ที่เป็นผู้ล่าในตระกูลไพลโอซอร์ อิกทิโอซอรัสอาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก ที่ทวีปยุโรป เช่นเบลเยียม อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์อิกทิโอซอรัสมีความยาวประมาณ 2 เมตร ล่าปลาและปลาหมึกเป็นอาหารอิกทิโอซอร์ชนิดสุดท้ายอยู่ในยุคครีเทเชียส ชื่อ สเต็นนอปทีรีเจียส ที่มีการค้นพบเซลล์สีในตัวของมันทำให้รู้ว่ามันมีสีน้ำตาลแดง นอกจากนี้ยังมีอิกทิโอซอร์อีกหลายชนิดในยุคจูแรสซิก เช่น เท็มโนดอนโตซอรัสซึ่งมีดวงตาขนาดใหญ่

 

บุกบาดาล

Glyptodon

    Glyptodon เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่มีเกราะขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในยุค Pleistocene ได้สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 10,000 ปีที่ผ่านมา เคยอาศัยอยู่ในทางอเมริกาเหนือ มีกระดองคล้ายกับเต่า แต่ไม่สามารถขยับหัวเข้าออกได้ ลักษณะกระดองจะเป็นกระดูกเรียงต่อกันกว่า 1,000 ชิ้น ตัวของมันมีความยาวถึง 3.3 เมตร น้ำหนัก 2 ตัน เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร

 

 

อ้างอิงจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Journey_to_the_Center_of_the_Earth

Writer

Sirirat Soonsakul

นักอยากเขียน ผู้รักการสะสมท้องฟ้าสีวนิลลา และใช้หมูกระทะเยียวยาจิตใจ